ฟิทช์เรตติ้งชี้ 2 ยักษ์ใหญ่เศรษฐกิจของโลกชะลอตัวพร้อมกัน ผลกระทบกระจายวงกว้างทั่วโลก หั่นเป้าเศรษฐกิจโลกปี 68 โตไม่ถึง 2% ตกต่ำมากสุดใน 16 ปี ลดเป้าเศรษฐกิจสหรัฐและจีนลง 0.5% จีนโตไม่ถึง 4% ถึง 2 ปีติดกัน เซ่นพิษสึนามิภาษีสู่สงครามภาษีและการค้าโลก

ฟิทช์เรตติ้งชี้ 2 ยักษ์ใหญ่เศรษฐกิจของโลกชะลอตัวพร้อมกัน ผลกระทบกระจายวงกว้างทั่วโลก หั่นเป้าเศรษฐกิจโลกปี 68 โตไม่ถึง 2% ตกต่ำมากสุดใน 16 ปี ลดเป้าเศรษฐกิจ สหรัฐ และจีนลง 0.5% จีน โตไม่ถึง 4% ถึง 2 ปีติดกัน เซ่นพิษสึนามิภาษีสู่สงครามภาษีและการค้าโลก

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือการลงทุน หรือเรตติ้ง ชื่อดังระดับโลกจากประเทศสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและเศรษฐกิจประเทศจีนซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับหนึ่งและสองของโลกตามลำดับที่มีสัญญาณชะลอตัวลงชัดเจนพร้อมกันจะส่งผลให้เกิดผลกระทบทั้งในวงกว้างไปทั่วโลก และส่งผลกระทบในแนวลึกกับโครงสร้างเศรษฐกิจด้วย จึงเป็นที่มาของการปรับลดตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศและในภูมิภาคเศรษฐกิจอื่นๆในครั้งนี้

ฟิทช์ เรทติ้งส์ได้ปรับลดอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจ หรือจีดีพีโลกในปี 2025 ลงมา 0.4% ซึ่งคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะขยายตัวหลุดระดับ 2% ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอ่อนแอและตกต่ำมากที่สุดในรอบ 2009 หรือนับตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจสถาบันการเงินโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 16 ปีผ่านมา โดยไม่นับรวมช่วงที่เกิดวิกฤตตกาลโรคระบาดโควิด-19 ในปี 2019

นอกจากนี้ ยังได้ปรับลด การขยายตัวของเศรษฐกิจ หรือจีดีพีสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีขนาดใหญ่อันดับ 1 ของโลกและเศรษฐกิจจีนซึ่งขนาดใหญ่อันดับ 2 ของโลกให้ลดลง 0.5% ทั้ง 2 ประเทศจากที่เคยคาดการณ์ตัวเลขเดิมเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา

สำหรับเศรษฐกิจจีนนั้นคาดการณ์ว่าในปี 2025 จะขยายตัวไม่ถึงระดับ 4% รวมถึงในปี 2026 คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจีนจะขยายตัวไม่ถึง 4% เช่นเดียวกัน ในขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาคาดการณ์ว่าจะชะลอตัวทำให้จีดีพีเติบโตเพียงแค่ 1.2% ในปี 2025 นี้ สอดคล้องกับเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยูโรโซนคาดว่าขยายตัวต่ำกว่าระดับ 1%

สาเหตุในการทบทวนอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศยักษ์ใหญ่ชั้นนำทางเศรษฐกิจ มีสาเหตุมาจากมาตรการภาษีสินค้านำเข้าของสหรัฐอเมริกาปรากฏว่านำไปสู่สถานการณ์ที่เร็วร้ายมากกว่าที่ประเมินไว้ ถึงแม้ว่าประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาจะประกาศชะลอการบังคับใช้การเก็บอัตราภาษีต่างตอบแทน หรือ Reciprocal Tariffs ไม่เต็มเพดานของแต่ละประเทศโดยลดลงมาอยู่ที่ระดับ 10% เป็นการชั่วคราวนาน 90 วันก็ตาม แต่ประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับ 2ของโลก เช่น จีนได้ทำการตอบโต้มาตรการดังกล่าวของสหรัฐอเมริกา ทำให้อัตราภาษีเก็บกับสินค้านำเข้าของทั้งสองประเทศยักษ์ใหญ่เกินกว่าระดับ 100% ขึ้นไป

ในปัจจุบัน จะพบว่าอัตราเก็บภาษีสินค้านำเข้าแท้จริงโดยเฉลี่ย หรือ Effective Tariff Rate (ETR) ของสหรัฐอเมริกาเพิ่มสูงขึ้นถึง 23% ทำสถิติอัตราภาษีดังกล่าวที่สูงที่สุดในรอบ 115 ปีหรือนับตั้งแต่ปี 1909 เป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าอัตราภาษีดังกล่าวที่เพิ่มขึ้นถึง 23% นั้นสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้เมื่อเดือนมีนาคมว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 18% เท่านั้น นอกจากนี้คาดการณ์ว่าอัตราภาษีดังกล่าวที่สหรัฐเก็บกับจีนจะมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเกิน 100% ไปอีกเป็นระยะเวลาพอสมควร และถ้าหากเกิดกรณีของการเจรจาและสามารถลดความขัดแย้งของทั้ง 2 ประเทศลงได้ อัตราภาษีดังกล่าวจะลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงที่ 60% ในปี 2026

สำหรับเศรษฐกิจจีนซึ่งมีการขยายตัวอย่างน่าทึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมาแต่ในช่วงหลังจากสถานการณ์วิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ผ่อนคลายลงช่วง 5 ปีที่ผ่านมา เศรษฐกิจจีนชะลอตัวซึ่งเป็นผลจากวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ในจีน การค้าสุทธิระหว่างประเทศของจีนคิดเป็นเพียง 1 ใน 3 ของขนาดเศรษฐกิจทั้งประเทศจีน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงจากมาตรการภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกา ท่ามกลางปัญหาภาวะเงินฝืดที่เกิดขึ้นต่อเนื่องในจีน

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (Fitch Ratings) เปิดเผยต่อไปว่าได้ปรับขึ้นตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกามาอยู่ที่ระดับ 4% นั่นหมายถึงมีผลกระทบต่อภาวะอัตราการจ้างงานแรงงานชาวอเมริกันซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของคนชาวอเมริกันหยุดนิ่งจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นตามคาดคาดการณ์ นอกจากนี้ความไม่แน่นอนในสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้น กำลังส่งผลกระทบต่อแนวโน้มในการลงทุนของภาคเอกชน ราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะตกต่ำลง ส่งผลกระทบต่อความมั่งคั่งของครัวเรือนของชาวอเมริกันลดน้อยลง และการส่งออกสหรัฐจะถูกตอบโต้จากประเทศคู่ค้า

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles