มาตรการช้อป Easy E-Receipt กระตุ้นยอดขายไม่แรงอย่างคิด ปลุกยอดขายขึ้นเบาบางแค่ 5%

มาตรการช้อป Easy E-Receipt กระตุ้นยอดขายไม่แรงอย่างคิด ปลุกยอดขายขึ้นเบาบางแค่ 5%

รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการค้าปลีก (Retailer Sentiment Index: RS) ซึ่งร่วมจัดทำระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ประจำเดือนมกราคม 2567 พบว่าปรับลดลงในทุกองค์ประกอบจากที่เร่ใช้จ่ายไปแล้วในช่วงปลายปี ประกอบกับกำลังซื้อของครัวเรือนฐานรากที่ยังฟื้นตัวไม่ทันค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นและการะหนี้สินที่ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่ผลของมาตรการ Easy E-Receipt ช่วยกระตุ้นยอดขายได้จำกัด ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้ามีทิศทางลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 3 ปีก่อน

ดัชนี RSI เดือนมกราคมปรับลดลงมาอยู่ที่ 49.2 จาก 57.9 ในเดือนก่อน จากการปรับลดลงในทุกองค์ประกอบ โดยเฉพาะดัชนีย่อยด้านยอดขายสาขาเดิม (SSSG) และความที่ของผู้ใช้บริการ (Frequency) ที่ปรับลดลงมากและมาอยู่ต่ำกว่าระดับ 50 ส่วนหนึ่งจากการจับจ่ายใช้สอยที่ชะลอลงหลังจากเร่งขึ้นในช่วงปลายปี ประกอบกับกลุ่มครัวเรือนฐานรากยังระมัดระวังการใช้จ่าย เนื่องจากรายได้ฟื้นตัวไม่ทันค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และภาระหนี้สินที่ยังอยู่ในระดับสูงขณะที่มาตรการ Easy E-Receipt ช่วยกระตุ้นยอดขายได้จำกัด เนื่องจากเป็นมาตรการกระตุ้นเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง และร้านค้าที่ร่วมโครงการ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นในอีก 3 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มลดลงตั้งแตไตรมาสที่ 3 ปี 2566 มาอยู่ใกล้เคียงระดับ 50

หากจำแนกตามประเภทร้านค้าพบว่าความเชื่อมั่นในปัจจุบันปรับลดลงในเกือบทุกประเภทร้านค้ายกเว้นในกลุ่มร้านอาหารที่ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน สำหรับความเชื่อมั่นรายภูมิภาคมีทิศทางปรับลดลงในทุกภูมิภาค

การส่งผ่านต้นทุนของผู้ประกอบการนั้น พบว่า 60% ของธุรกิจมีแนวโน้มจะปรับขึ้นราคาในอีก 3 เดือนข้างหน้า โดยส่วนใหญ่จะปรับเพิ่มไม่เกิน 5% จากต้นทุนที่สูงขึ้นเป็นสำคัญ อย่างโรก็ดี การส่งผ่านต้นทนมีแนวโน้มลดลง สะท้อนจากจำนวนผู้ประกอบการที่ไม่ปรับราคาสินค้าในอีก 3 เดือนข้างหน้ามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจในเดือนก.ย. 2566

ประเมินผลของมาตรการผู้ประกอบการส่วนใหญ่ประเมินว่ามาตรการ Easy E-Receipt ช่วยให้ยอดขายเพิ่มประมาณ 5% อย่างไรก็ดี พบว่ามีผู้ประกอบการบางส่วนที่เห็นว่าตรการในครั้งนี้อาจมีผลน้อยกว่ามาตรการกระตุ้นในปีก่อน

เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงที่ไม่มาตรการภาครัฐสนับสนุน พบว่ามี 4% ยอดขายลดลงไม่เกิน 5% มี 43% มองว่ายอดขายใกล้เคียงกัน มี 43% มองว่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5% และมี 10% มองว่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 6-10%

ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการช้อปดีมีคืนในปี 2566 พบว่า มี 7% มองว่ายอดขายลดลงระหว่าง 11-15% มี 13% มองว่ายอดขายลดลงระหว่าง 6-10% มี 7% มองว่ายอดขายลดลงไม่เกิน 5% มี 30% มองว่ายอดขายใกล้เคียงกัน มี 33% มองว่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 5% มี 7% มองว่าเพิ่มขึ้น 6-10% และมี 3% มองว่าเพิ่มขึ้นไม่เกิน 11-15%

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles