ยุคโดนัลด์ ทรัมป์กลับมา เงินบาทเปราะบาง-อ่อนไหวผันผวนที่สุดในตลาดประเทศเกิดใหม่ แถมเงินบาทผันผวนมากสุดเมื่อสหรัฐกับจีนตอบโต้การค้าต่อกัน

ยุคโดนัลด์ ทรัมป์กลับมา เงินบาท เปราะบาง-อ่อนไหวผันผวนที่สุดในตลาดประเทศเกิดใหม่ แถมเงินบาทผันผวนมากสุดเมื่อสหรัฐกับจีนตอบโต้การค้าต่อกัน

บลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ ซึ่งเป็นสำนักวิจัยในเครือสำนักข่าวบลูมเบิร์ดชื่อดังระดับโลก เปิดเผยว่า จากการเก็บรวมรวมข้อมูลและวิเคราะห์สกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ทั่วโลกที่มีความอ่อนไหวมากที่สุดกับการกลับมาของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนที่ 47 พบว่า เงินบาทของประเทศไทยเป็นสกุลเงินที่มีความอ่อนไหว และเปราะบางมากที่สุดในสกุลเงินประเทศเกิดใหม่ นอกจากนี้ เงินบาทประเทศไทยยังมีความอ่อนไหวอย่างมากกับค่าเงินหยวนของจีนอีกด้วย ที่สำคัญ เงินบาทไทยยังมีหนึ่งในสกุลเงินแถบเอเชียที่มีมูลค่ามากเกินค่าแท้จริงบนพื้นฐานของการเปรียบเทียบกับธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศอีกด้วย

บลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ เปิดเผยว่า ย้อนกลับไปในปี 2018 ซึ่งอยู่ในช่วงนายโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเทอมแรก หรือคนที่ 45 ที่ประกาศใช้นโยบายการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ พบว่า การเคลื่อนไหวของสกุลเงินในประเทศเกิดใหม่ทั่วโลก โดยเฉพาะค่าเงินบาทในช่วงเวลานั้นมีการเปลี่ยนแปลงค่าเงินที่ผันผวนชัดเจน

ในขณะที่ สกุลเงินเปโซประเทศฟิลิปปินส์ และค่าเงินรูปีประเทศอินเดีย ทั้ง 2 สกุลเงินมีสัญญาณชี้ให้เห็นถึงความยืดหยุ่นสูงมากกว่าค่าเงินบาทของประเทศไทยในการรองรับความผันผวนของค่าเงินที่จะเป็นผลมาจากนโยบายเศรษฐกิจการค้าโดยเฉพาะการขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากทั้งฟิลิปปินส์และอินเดียของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 47 ในช่วง 4 ปีที่จะเริ่มต้นในปี 2025-2028 ทั้งสกุลเงินเปโซประเทศฟิลิปปินส์ และค่าเงินรูปีประเทศอินเดียกลายเป็น 2 สกุล ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าได้รับผลกระทบน้อยที่สุดในสกุลเงินประเทศเกิดใหม่เมื่อเดือนตุลาคมผ่านมาที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐปรับแข็งค่าสูงขึ้นอย่างผันผวน เนื่องจากในช่วงเวลานั้น นักลงทุนมองความเสี่ยงสูงจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ ทำให้เข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐอย่างมากมาย

นักกลยุทธ์ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารโอซีบีซี ในสิงคโปร์ เปิดเผยว่า ห้วงเวลา และระดับอัตราการจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าของสหรัฐอเมริกาจะมีผลกระทบและสำคัญมาก ที่สำคัญ คือ ทั้ง 2 ปัจจัยนี้กลายเป็นความแน่นอนสูงในเวลานี้

ธนาคารเพื่อการชำระธุรกรรมระหว่างประเทศ หรือ BIS เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทในปัจจุบันมีมูลค่า 1.5% สูงกว่าค่าเฉลี่ยเงินบาทในช่วงระยะเวลา 10 ปีผ่านมา โดยเป็นการเปรียบเทียบเงินบาทกับสกุลเงินประเทศคู่ค้าอื่นๆ ซึ่งค่าเงินบาทที่สูงเช่นนี้ส่งผลให้ความสามารถในการแข่งขันด้อยลงชัดเจน นโยบายการค้าแบบเปิดอาจกลายเป็นสิ่งที่ส่งผลย้อนกลับในทางลบจะเกิดขึ้นหากนายโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศการจำกัดการนำเข้าสินค้า ปัจจุบันปริมาณการค้าของประเทศไทยคิดเป็น 129% ของมูลค่าเศรษฐกิจไทย หรือจีดีพี ซึ่งไทยกลายเป็นหนึ่งในประเทศในภูมิภาคนี้ที่พึ่งและมีสัดส่วนการค้าแบบเปิดมากที่สุด เนื่องจาก ประเทศคู่ค้ามากอันดับต้น ๆ ของไทย ได้แก่ สหรัฐอเมริกา และจีน มีสัดส่วนการส่งออกสินค้ารวมกันถึง 1 ใน 3 ของการส่งออกสินค้าในภาพรวมทั้งหมดของประเทศไทย

ธนาคาร BIS เปรียบเทียบสกุลเงินในตลาดเกิดใหม่ พบว่า อันดับ 1.เงินเปโซ ฟิลิปปินส์ มีค่าสูงเกินมูลค่าแท้จริงมากที่สุดถึง 3.5% อันดับ 2. เงินบาท ไทย มีค่าสูงเกินมูลค่าแท้จริงมาก 1.4% อันดับ 3.รูปี อินเดีย มีเพียง 0.2% 4.ริงกิต มาเลเซีย มีค่าต่ำกว่ามูลค่าแท้จริง -0.1% 5.รูเปี๊ยะ อินโดนีเซีย ต่ำกว่า -0.3% 6.วอน เกาหลีใต้ ต่ำกว่า -6.1% และ 7.หยวน จีน ต่ำกว่า -7.7%

ด้านฟิลลิป หยิน นักกลยุทธ์ ตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ธนาคารซิตี้ กรุ๊ป เปิดเผยว่า 2 สกุลเงินสำคัญ ได้แก่ เงินบาทประเทศไทย และเงินดอลลาร์ไต้หวัน กลายเป็นสกุลเงินของเอเชียที่เปิดรับความเสี่ยงมากจากนโยบายการเก็บภาษีนำเข้าสินค้าในทุกประเภทอุตสาหกรรม

บลูมเบิร์ก อินเทลลิเจนซ์ เปิดเผยว่า เงินบาทประเทศไทย เงินวอนประเทศเกาหลีใต้ และเงินหยวนประเทศจีน มีความสัมพันธ์อย่างมากกับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐไม่ว่าทิศทางใดก็ตาม ทำให้เกิดแรงกดดันต่อค่าเงินทั้ง 3 สกุลให้ร่วงอ่อนค่าผันผวนมาก ในขณะที่ค่าเงินเปโซ ฟิลิปปินส์ มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงค่าเงินดอลลาร์สหรัฐน้อยที่สุด ตามด้วยเงินรูปีประเทศอินเดีย และเงินรูเปี๊ยะประเทศอินโดนีเซีย ข้อมูลดังกล่าวสะท้อนจากค่าดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐเฉลี่ย 30 วันในช่วงที่ผ่านมาถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2024

ในขณะที่ เมื่อย้อนกลับไปดูในปี 2018 ซึ่งเป็นเทอมแรกของนายโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเงินบาทประเทศไทยกับค่าเงินหยวนประเทศจีนในช่วงเวลานั้นมีความเปราะบางมากที่สุดในสกุลเงินประเทศเกิดใหม่ เมื่อไหร่ก็ตามที่สหรัฐอเมริกาและจีนใช้นโยบายการค้าและการเก็บภาษีสินค้านำเข้าตอบโต้กันอย่างทันควันในช่วงนั้น เงินบาทประเทศไทยจะมีความอ่อนไหวและเปราะบางมากที่สุดในทุกสกุลเงินในประเทศเกิดใหม่ รองลงมาได้แก่ เงินริงกิตประเทศมาเลเซีย เงินรูเปี๊ยะประเทศอินโดนีเซีย เงินรูปีประเทศอินเดีย เงินวอนเกาหลีใต้ และเงินเปโซประเทศฟิลิปปินส์ ตามลำดับ ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นในเทอมที่ 2 ของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐคนที่ 47 ที่ประกาศนโยบายการค้ากับจีนในทิศทางกีดกัน และตอบโต้ด้วยการเก็บขึ้นอัตราภาษีนำเข้าจากจีนสูงถึง 60% และจีนหนีไม่พ้นที่จะต้องตอบโต้ในลักษณะเดียวกัน

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles