นายคริสโตเฟอร์ พิสซาริเดส ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน สกูล ออฟ อิโคโนมิคส์ หรือ LSE และนักเศรษฐศาสตร์รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2553 จากผลงานมีชื่อว่าทฤษฎีความขัดแย้งที่ศึกษาจากปัจจัยต่างๆ หรือ Search Friction กล่าวว่า มนุษย์สายแรงงานเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอที โดยเฉพาะมีความชำนาญด้านปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ กลับมีความเสี่ยงที่จะทำให้ตำแหน่งงานของคนที่ทำงานสายนี้มีแนวโน้มที่จะล้าสมัยในอนาคตที่จะมาถึง โดยเฉพาะบรรดาผู้ปกครองที่พยายามสนับสนุนและส่งเสริมให้ลูกเรียนในสาขาที่เรียกว่ากลุ่มสาขาสเต็ม หรือ STEM เป็นตัวย่อมาจาก Science แปลว่าวิทยาศาสตร์ Technology แปลว่าเทคโนโลยี Engineering แปลว่าวิศวกรรมศาสตร์ และ Mathematics แปลว่าคณิตศาสตร์
นั่นหมายถึง แรงงานที่จบสายดังกล่าวมีความเชี่ยวชาญสูงมากถึงขั้นกำลังสร้างโปรแกรมเอไอที่พัฒนาไปจนส่งผลกระทบต่อโอกาสตกงานของแรงงานในกลุ่มนี้นั่นเอง
ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยลอนดอน สกูล ออฟ อิโคโนมิคส์ หรือ LSE กล่าวต่อไปว่า แรงงานที่จบสายเอไออาจมีบริษัท หรือองค์กรที่ไม่สามารถจะเปิดรับสมัครงานได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากตำแหน่งงานเดิม หรือใหม่อาจมีไม่หลากหลาย และจำนวนรับสมัครงานอาจไม่มากพอจะทำให้เด็กที่จบการศึกษาในสาขาสเต็ม (STEM) มีงานทำได้ทั้งหมด
จากในปี 2023 ที่ผ่านไป สถาบันการศึกษาในสหราชอาณาจักรเปิดรับสมัครเข้าเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ และวิศวกรรมซอฟท์แวร์เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสมัครเรียนสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ในมหาวิทยาลัยในปี 2023 เพิ่มเกือบ 10% ในสหราชอาณาจักร สาเหตุจากความสนใจด้านเอไอ ทำให้จำนวนสมัครเข้าเรียนด้านวิศวกรรมซอฟท์แวร์เพิ่มขึ้น 16% และสมัครเรียนวิทยาศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์เพิ่ม 11% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2566
อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเอไอจะสามารถทำแทนได้ทุกอย่าง โดยเฉพาะทักษะด้านการติดต่อสื่อสาร และความสามารถในการเห็นอกเห็นใจมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งต้องถูกใช้ในอุตสาหกรรมบริการด้านท่องเที่ยว โรงแรม และด้านสุขภาพ นั่นหมายถึงไม่มีแนวโน้มชัดเจนว่าเอไอจะเข้ามาทำงาน หรือทดแทนได้ ดังนั้น ในอนาคตคนที่มีมุมมองในเชิงดูถูก หรือดูแคลนสายอาชีพที่ต้องใช้ความสามารถด้านความรู้สึก หรืออารมณ์ อาจกลายเป็นมุมมองที่ผิดพลาดเมื่อคิดไปว่าเอไอสามารถทำแทนได้
อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยพิว รีเสิร์ช Pew Research Center) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่สำคัญและมีชื่อเสียงระดับประเทศของสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าการเรียนจบการศึกษาในสาขาสะเต็ม (STEM) ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลมาตั้งแต่ปี 2553 กลับพอว่ามีอัตราเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตำแหน่งในสายงานด้านเทคโนโลยี เนื่องจากตำแหน่งสำคัญบางแห่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่สายอาชีพที่ได้รับผลตอบแทนสูงที่สุดในประเทศสหรัฐอเมริกา