สถาบันการเงินระหว่างประเทศ หรือไอไอเอฟ Institute of International Finance ซึ่งหน่วยงานสำคัญที่อยู่ในธนาคารโลก เปิดเผยว่าปัจจุบันภาวะหนี้ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 315 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 11,655 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ทั่วโลกในขณะนี้ เผชิญกับภาวะหนี้เพิ่มขึ้นสะสมเร็วที่สุด เพิ่มขึ้นสะสมมากที่สุด และเพิ่มขึ้นครอบคลุมหรือกระจายในทุกทั่วภูมิภาคของโลกมากสุด นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในรอบ 85 ปีผ่านมา
นอกจากนี้มูลค่าหนี้ครัวเรือนทั่วโลก ซึ่งประกอบด้วยหนี้หนี้กู้ซื้อบ้าน หนี้บัตรเครดิต และหนี้เพื่อการศึกษา และอื่นๆ รวมกันมีมูลค่ากว่า 59.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 2,187 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 18.76% ของภาวะหนี้ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 315 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 11,655 ล้านล้านบาท
ขณะที่มูลค่าหนี้ภาคเอกชนทั่วโลก ซึ่งก่อหนี้ด้วยการออกหุ้นกู้มีมูลค่ารวม 164.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 6,087 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 52% ของภาวะหนี้ทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 315 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 11,655 ล้านล้านบาท
นอกจากนี้ภาวะหนี้สะสมที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกในปัจจุบันยังเป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 2 ติดต่อกัน โดยมีสาเหตุมาจากภาวะการก่อหนี้ของประเทศในกลุ่มตลาดประเทศเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets ซึ่งพบว่ามูลค่าการก่อหนี้ในกลุ่มประเทศดังกล่าวนั้นเพิ่มสูงขึ้นถึง 105 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3,885 ล้านล้านบาท ทำสถิติระดับมูลค่าหนี้สูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ หรือไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนนี้เลย นอกจากนี้ มูลค่าหนี้ดังกล่าวยังเพิ่มสูงขึ้นกว่าในช่วง 10 ปีผ่านมา ถึงมากกว่า 55 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 2,035 ล้านล้านบาท
ไอไอเอฟ เปิดเผยต่อไปว่า จำนวน 2 ใน 2 หรือประมาณ 66% ของมูลค่าหนี้ทั่วโลกดังกล่าวเกิดขึ้นจาก ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่โตได้แก่ สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือสัดส่วนหนี้ต่อมูลค่าเศรษฐกิจ หรือต่อจีดีพีของประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่โตนั้น ซึ่งเป็นตัวสะท้อนถึงความสามารถในการจ่ายชำระหนี้ของแต่ละประเทศ พบว่า ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่โตมีสัดส่วนดังกล่าวลดลง ซึ่งตรงกันข้ามกับประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ที่มีสัดส่วนมูลค่าหนี้ต่อจีดีพีพุ่งทะยานสูงถึง 257% ทำให้เมื่อพิจารณาสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีในภาพรวมทั่วโลกนั้นกลับเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปีผ่านมา โดยประเทศจีน อินเดีย และเม็กซิโก เป็น 3 ประเทศในตลาดเกิดใหม่ หรือ Emerging Markets ที่มีผลทำให้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีโลกเพิ่มสูงขึ้น
ไอไอเอฟ เปิดเผยว่า ปัจจัยสำคัญ และน่ากังวล ซึ่งส่งผลต่อแนวโน้มของการก่อหนี้เพิ่มสูงขึ้นของโลก มาจากภาวะอัตราเงินเฟ้อที่ผันผวน การค้าระหว่างประเทศทั่วโลกที่มีความขัดแย้งในด้านการกีดกันทางการค้าอย่างรุนแรง และปัญหาความขัดแย้งด้านการเมืองระหว่างประเทศรุนแรงในภูมิภาคของโลก ทั้งสามปัจจัยนี้ล้วนส่งผลให้เกิดภาวะต้นทุนทางด้านการเงินที่พุ่งสูงอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้ ยังเกิดภาวะการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลในภาพรวมของโลกพุ่งสูงเหนือกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาด โควิด-19 อีกด้วย