หนี้สาธารณะทั่วโลกจ่อแตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์ครั้งแรกในปี 2024 นี้ ไอเอ็มเอฟคาดหนี้สาธารณะโลกเร่งตัวแตะ 115% ของจีดีพีโลกในอีก 3 ปีหน้า

หนี้สาธารณะ ทั่วโลกจ่อแตะ 100 ล้านล้านดอลลาร์ครั้งแรกในปี 2024 นี้ ไอเอ็มเอฟคาดหนี้สาธารณะโลกเร่งตัวแตะ 115% ของจีดีพีโลกในอีก 3 ปีหน้า

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ IMF เปิดเผยว่า มูลค่าหนี้สาธารณะทั่วโลกในปี 2024 นี้จะพุ่งขึ้นหลัก 100 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3,400 ล้านล้านบาทนับเป็นครั้งแรกและมากที่สุดครั้งประวัติศาสตร์ของโลก นอกจากนี้ภาวะหนี้สาธารณะทั่วโลกจะเร่งตัวเพิ่มสูงมากกว่าที่คาดไว้ในอีกสามปีข้างหน้าจะมีหนี้สาธารณะทั่วโลกเพิ่มขึ้นถึง 115% เมื่อเทียบกับขนาดเศรษฐกิจโลก หรือจีดีพีโลก ซึ่งจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอีกกว่า 20% จากภาระหนี้สาธารณะในปัจจุบันของทั่วโลก

ไอเอ็มเอฟ เปิดเผยต่อไปว่าภายในสิ้นปี 2024 นี้มูลค่าหนี้สาธารณะทั่วโลกจะขึ้นไปแตะที่ระดับ 94% ของจีดีพีโลก และจะเพิ่มขึ้นแต่ระดับ 100% ภายในปี 2030 หรืออีก 6 ปีข้างหน้าจากนี้ไป ที่น่าสนใจคือ สัดส่วนหนี้สาธารณะโลกภายในปี 2030 ที่ถูกคาดการณ์ว่าจะแตะระดับ 100% นั้นยังสูงกว่าในช่วงวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ที่ทั่วโลกมีหนี้สาธารณะพุ่งขึ้นแตะระดับ 99% ของจีดีพีโลกอีกด้วย

สาเหตุมาจากนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศที่มีขนาดใหญ่ระดับต้นๆ ของโลก ยังคงถูกใช้เป็นนโยบายหลัก ได้แก่ รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 1 ของโลกนั้น จะมีการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยใช้นโยบายด้านการคลังเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับปัจจุบัน นอกจากนี้ นโยบายของรัฐบาลในประเทศต่างๆ ทั่วโลกที่มุ่งเน้นไปสู่การขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกสีเขียว หรือความพยายามในการลดสภาวะโลกร้อนส่งผลให้มีการใช้จ่ายของภาครัฐบาลเพิ่มสูงมากขึ้น นโยบายในการเตรียมความพร้อมที่ประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสุดขั้วในแง่ทั้งเงินงบประมาณวัดสวัสดิการต่างๆ นโยบายการสร้างความมั่นคงทางทหารในแต่ละภูมิภาคทั่วโลกซึ่งเกิดขึ้นจากความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์และการเมืองระหว่างประเทศ และความท้าทายหลากหลายด้านในการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละประเทศทั่วทุกมุมโลก

ไอเอ็มเอฟ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลของประเทศขนาดใหญ่รวมถึงทุกประเทศทั่วโลกได้ทบทวนนโยบายด้านการคลังด้วยการควบคุมภาระการใช้จ่ายและวินัยทางการค้าให้มากที่สุด ขณะนี้ภายใต้สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจในปัจจุบันโดยเฉพาะในประเทศขนาดใหญ่มีความยืดหยุ่นและแข็งแกร่งสูง รวมถึงมีภาวะของการจ้างงานที่แข็งแกร่งด้วยนั้น ได้กลายเป็นห่วงเวลาและโอกาสที่ดีในการจะควบคุมการใช้จ่ายของนโยบายภาครัฐ อย่างไรก็ตาม จากการวิเคราะห์ของไอเอ็มเอฟ พบว่าโดยเฉลี่ยทุก 1% ของจีดีพี ในช่วงระยะเวลาอีก 6 ปี ซึ่งอยู่ระหว่างปี 2023 จนถึงปี 2029 นั้น ความพยายามต่างๆ ตามที่ IMF ร้องขอนั้นจะไม่มีพลังมากเพียงพอที่จะลด หรือจะให้ความเสถียรของภาระหนี้สาธารณะ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles