นายเทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวว่า การประชุมของคณะกรรมาธิการฉุกเฉินมีมติให้ประกาศว่า โรคเคลด (Clade) หรือชื่อเดิมคือโรคฝีดาษลิง(Mpox) เข้าสู่ภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินทั่วโลก หรือพีเอชอีไอซี (Public Health Emergency for International Concern) สาเหตุจากภาวะการระบาดของโรคเคลดแพร่เป็นวงกว้างในประเทศสาธารณรัฐแห่งคองโก และยังส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและระบาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันและใช้รักษาโรคเคลด
ในขณะนี้องค์การอนามัยโลกยืนยันว่าโรคระบาดเครเป็นการติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด ตามปกติแล้วจะมีภาวะอาการปานกลางแต่การติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิต ลักษณะอาการเบื้องต้นของผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเป็นไข้และเกิดตุ่มมีหนองตามผิวหนังร่างกายรวมถึงบริเวณอวัยวะเพศสืบพันธุ์ ในปัจจุบันรูปเคลด ในทวีปแอฟริกาเป็นสายพันธุ์เคลดวัน (Clade I) แต่ในขณะเดียวกันตรวจพบมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เคลดวันบี (Clade Ib) ส่งผลให้มีการติดเชื้อแพร่ระบาดง่ายยิ่งขึ้นผ่านการสัมผัสใกล้ชิดรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกัน
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวว่า แหล่งที่พบการติดเชื้อและแพร่ระบาดในทวีปแอฟริกาเกิดขึ้นในภาคตะวันออกของประเทศสาธารณรัฐแห่งคองโก จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง ได้แก่ บูรันดี เคนยา ราวันดา และอูกานคา ที่สำคัญคือทั้ง 4 ประเทศดังกล่าวนั้น ไม่มีข้อมูลหรือประวัติของการตรวจพบโรคเคลดก่อนหน้านี้เลย
การประกาศให้โรคเคลดเข้าสู่ภาวะองค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวว่าการประกาศสาธารณสุขฉุกเฉินทั่วโลก หรือพีเอชอีไอซีในครั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 2 ภายในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา สถานะดังกล่าว นับเป็นการเตือนระดับสูงสุดในแง่การตื่นตัว และกำหนดเป้าหมายในการเร่งรีบงานวิจัย การระดมทุน กำหนดมาตรการสาธารณสุขระหว่างประเทศร่วมกัน และความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อควบคุมภาวะการระบาดของโรคเคลด
องค์การอนามัยโลกเตรียมงบประมาณจำนวน 1.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 54 ล้านบาท เพื่อจัดตั้งเป็นกองทุนภายใต้สภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินทั่วโลก หรือพีเอชอีไอซีสำหรับโรคเคลด และเปิดโอกาสให้มีการระดมเงินทุนมาสมทบในกองทุนดังกล่าว ทั้งนี้เม็ดเงินตั้งต้นสำหรับกองทุนนี้จะต้องอยู่ที่ประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 540 ล้านบาท
ในต้นสัปดาห์นี้ สาธารณสุขแห่งทวีปแอฟริกา ประกาศให้โรคเคลดเป็นภาวะฉุกเฉินสำหรับทวีปแอฟริกา ในปัจจุบันตรวจพบผู้เข้าข่ายสงสัยจะติดเชื้อมากกว่า 17,000 คน ในขณะที่ผู้ติดเชื้อดังกล่าวและเสียชีวิตมีจำนวนสะสมมากกว่า 500 คนนับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นเด็กในประเทศสาธารณรัฐคองโก
สำหรับในไทย ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2566 กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า ผู้ป่วยโรคเคลด หรือฝีดาษวานรจากสถาบันบำราศนราดูร เสียชีวิตรายแรกในไทยที่จังหวัดชลบุรี โดยพบว่า ผู้เสียชีวิตเป็นเพศชาย อายุ 34 ปี มีประวัติเป็นไข้ ปวดศีรษะ คัน มีผื่นและตุ่มขึ้นบริเวณผิวหนังตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ต่อมาในวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 แพทย์สงสัยเป็นโรคฝีดาษวานร จึงส่งตัวอย่างตรวจยืนยันผลพบสารพันธุกรรมของไวรัสฝีดาษวานร และขณะเดียวกัน ยังตรวจพบการติดเชื้อเอชไอวีและเชื้อซิฟิลิส ต่อมาผู้ป่วยมีอาการเจ็บคอ ตรวจพบภาวะติดเชื้อรา ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อฉวยโอกาสของเอชไอวี
ส่วนบริเวณผิวหนังมีผื่นแผลจากโรคฝีดาษวานรกระจายทั่วตัว ได้รับการรักษาจนครบ 4 สัปดาห์ แพทย์อนุญาตให้กลับบ้านได้ ต่อมาวันที่ 9 สิงหาคม ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หายใจลำบาก ญาติจึงนำผู้ป่วยมารับการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูร ตรวจพบว่ามีผื่นจากโรคฝีดาษวานรกระจายทั่วตัว และมีการตายของเนื้อเยื่อที่จมูกและคอเป็นบริเวณกว้าง มีการติดเชื้อแทรกซ้อนที่แขนและขา มีภาวะปอดอักเสบ และอาการสมองอักเสบ ผลตรวจเม็ดเลือดขาว CD4 เท่ากับ 16 เซลล์ต่อ มล. แสดงถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องรุนแรง แพทย์ได้ให้ยาต้านไวรัสฝีดาษวานรและยาปฏิชีวนะร่วมด้วย ต่อมาผู้ป่วยอาการทรุดลงและเสียชีวิตในคืนวันที่ 11 สิงหาคม 2566
กรมควบคุมโรค กล่าวว่า โรคฝีดาษวานร หรือโรคเคลดเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ของประเทศไทย ข้อมูลเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2566 มีผู้ป่วยรวม 189 รายในไทย เป็นสัญชาติไทย 161 ราย ชาวต่างชาติ 28 ราย ซึ่งในช่วงเวลานั้นนับเป็นระยะแรกที่พบผู้ป่วยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ก่อนแพร่ไปจังหวัดอื่น ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย และมีติดเชื้อเอชไอวีร่วมด้วย จำนวน 82 ราย (43%)
วันที่ 13 สิงหาคม 2565 องค์การอนามัยโลก (WHO) ออกประกาศถึงการเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์ไวรัส Monkeypox หรือ “ฝีดาษลิง” โดยชื่อของโรคยังอยู่ในการระดมความเห็น ส่วนชื่อไวรัสให้เปลี่ยนเป็น “เคลด” (Clade) โดย WHO ได้ระบุเหตุผลสองประการ
1.ป้องกันการเลือกปฏิบัติ หรือปกป้องผลกระทบต่อกลุ่มวัฒนธรรม สังคม และสวัสดิภาพสัตว์ 2.เหตุผลด้านการจัดเรียงลำดับพันธุกรรมและอนุกรมวิธานไวรัส
ดังที่กล่าวว่าแต่เดิมมีการตั้งชื่อไวรัสตามถิ่นที่แพร่ระบาด ดังนั้นเชื้อไวรัสฝีดาษจากลิงยุคแรกจึงได้ชื่อว่า “คองโก เบซิน” เนื่องจากพบการแพร่ในลุ่มน้ำคองโก หรือ “เวสต์ แอฟริกัน” เนื่องจากแพร่ระบาดฝั่งตะวันของแอฟริกา
ดังนั้นชื่อใหม่ของไวรัสฝีดาษลิง (Monkeypox) ที่ระบาดใหม่ในครั้งนี้จะใช้ชื่อว่า “เคลด” และให้ใช้เลขและอักษรโรมันกำกับตามหลัง เพื่อระบุสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์ใหม่ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการทำอนุกรมวิธานไวรัสเคลด จึงมีสองสาย ได้แก่ เคลดวัน ใช้เรียกแทนไวรัสฝีดาษลิงกลายพันธุ์ กลุ่มที่เคยเรียกชื่อว่า คองโก เบซิน ส่วนเคลด 2 ใช้เรียกแทนไวรัสฝีดาษลิงกลายพันธุ์ กลุ่มที่เคยเรียกว่าเวสต์ แอฟริกัน