เงินกว่า 400 ล้านล้านไหลลงทุนตลาดหุ้น 70% ตลาดหุ้นทั่วโลกปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์

เงินกว่า 400 ล้านล้านไหล ลงทุน ตลาดหุ้น 70% ตลาดหุ้นทั่วโลกปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์

ภาวะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ หรือตลาดหุ้นทั่วโลกในปีนี้ พบว่า เม็ดเงินลงทุนปริมาณมากมายเข้าลงทุนในตลาดหุ้นยักษ์ใหญ่ที่อยู่ในแต่ละทวีปของโลกอย่างคึกคักต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐ ในอเมริกาเหนือ ไปถึงตลาดหุ้นลอนดอน อังกฤษ ในยุโรป มาถึงตลาดหุ้นโตเกียว ญี่ปุ่น ในเอเชีย ส่งผลให้ตลาดหุ้นขนาดใหญ่ 14 แห่ง หรือ 70% จากทั้ง 20 แห่ง มีดัชนีหุ้นที่พุ่งทะยานขึ้นใกล้จะทำลายสถิติเป็นประวัติการณ์เดิม หรือสร้างสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่เป็นที่เรียบร้อย

ตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา พบว่า นับตั้งแต่ตุลาคม 2023 มาถึงปัจจุบัน มีเงินไหลเข้าลงทุนมากกว่า 12 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 444 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ดัชนีหุ้น 1 ใน 3 ดัชนีหุ้นสำคัญ ได้แก่ ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 24 ครั้งในปี 2024 นี้ ในสัปดาห์นี้ทั้ง 3 ดัชนีหุ้นสำคัญในตลาดหุ้นนิวยอร์ก ได้แก่ ดาวโจนส์ เอสแอนด์พี 500 และนาสแดค ปิดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ โดยเฉพาะดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดเหนือ 40,000 จุดเป็นครั้งแรกและครั้งประวัติศาสตร์ สอดคล้องกับตลาดหุ้นในฝั่งยุโรป แคนาดา บราซิล อินเดีย ญี่ปุ่นและออสเตรเลีย ล้วนมีดัชนีหุ้นที่ปิดใกล้ทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์หรือได้ทำลายสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์เดิมไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ปัจจัยบวกที่ทำให้ตลาดหุ้นขนาดยักษ์ใหญ่เดินหน้าทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่อย่างต่อเนื่องเป็นผลจากแนวโน้มการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสำคัญของโลกที่จะเกิดขึ้นในช่วงช่วงครึ่งหลังปีนี้ เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่งและยืดหยุ่นสูงทำให้ไม่เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นขนาดใหญ่ทั่วโลกล้วนแข็งแกร่งมากขึ้น ท่ามกลางกองทุนชั้นนำต่างๆทั่วโลกที่มีเงินลงทุนรวมกันกว่า 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 222 ล้านล้านบาท ซึ่ง พร้อมที่จะเข้าลงทุนในตลาดหุ้นสำคัญบนปัจจัยบวกดังกล่าวข้างต้น

ช่วงระยะเวลา 311 วันติดต่อกันผ่านมา พบว่า ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ในสหรัฐอเมริกา แม้ว่าจะมีการเทขายลงอย่างหนักแต่ไม่เคยทรุดต่ำกว่า 2% ในช่วงเวลา 10 เดือนกว่าติดกัน ซึ่งทำสถิติยาวนานที่สุดใน 2 ปีติดกันหรือปี 2017 ถึง 2018 เป็นต้นมา ที่สำคัญอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของโลกโดยเฉพาะในธุรกิจเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอในสหรัฐนั้น ส่งผลให้กับบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำนำขนาดขนาดใหญ่เป็นที่ต้องการของนักลงทุนหุ้นทั่วทุกมุมโลก โดย 53% ของดัชนีที่ปรับทะยานเพิ่มสูงขึ้นเป็นผลมาจากราคาหุ้นของ 5 บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ประกอบด้วยเอ็นวีเดีย ไมโครซอฟท์ อเมซอน เมตา(เฟสบุ๊ก) และอัลฟาเบธ(กูเกิ้ล)

เข้ามาทางฝั่งทวีปเอเชียความคึกคักมีเกิดขึ้นในตลาดหุ้นญี่ปุ่นส่งผลให้ดัชนีหุ้น นิกเคอิ ตลาดหุ้นโตเกียว พุ่งทำสถิติปิดสูงสุดเป็นติการครั้งใหม่และให้ผลตอบแทนถึง 16% นับตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน ในขณะที่ตลอดทั้งปีผ่านไปให้ผลตอบแทนที่ 28% ปัจจัยบวกในตลาดหุ้นญี่ปุ่นมาจากธนาคารกลางญี่ปุ่นตัดสินใจปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นครั้งแรกในรอบ 17 ปีนับเป็นเป็นการสิ้นสุดยุคอัตราดอกเบี้ยติดลบของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้มาเป็นเวลานานค่าเงินเยนญี่ปุ่นเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่ร่วงอ่อนค่าทำสถิติในรอบกว่าสี่ปีเกิดขึ้นหลายครั้งรวมถึงผลประกอบการของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ได้อานิสงส์จากอัตราแลกเปลี่ยนเงินเยนญี่ปุ่นที่โลกอ่อนค่าต่อเนื่อง

สำหรับตลาดหุ้นประเทศไทยนั้น ปรากฏว่าดัชนีหุ้นไทยหรือ SET Index ยังคงเผชิญกับภาวะตกต่ำ และเซื่องซึม เมื่อเปรียบเทียบกับตลาดหุ้นหลายแห่งทั้งในประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน หรือแม้แต่ตลาดหุ้นทั่วโลก รวมถึงเปรียบเทียบกับดัชนีหุ้น SET Index ที่เคยขึ้นไปทำสถิติทั้งจุดปิดสูงสุด และสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ ทั้งนี้ ปิดตลาดหุ้นไทยเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคม 2567 ดัชนีหุ้น SET Index ที่ระดับ 1,382.68 จุด +4.96 จุด พบว่า ดัชนีหุ้นดังกล่าวให้ผลตอบแทนตกค่ำติดลบทุกช่วงเวลา ดังนี้ ในรอบ 3 เดือนลดลง -0.26% ในช่วง 6 เดือนลดลง -2.34% และตั้งแต่ต้นปีนี้ลดลง -2.34% ที่สำคัญ ดัชนีหุ้นดังกล่าวยังดำดิ่งมากถึง -439.98 จุด หรือดิ่งลงเหวถึง -24.14% เมื่อเปรียบเทียบกับสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1,822.66 จุด ส่งผลตลาดหุ้นไทยเข้าภาวะหมี หรือ Bear Market มาอย่างยาวนาน สาเหตุหลากหลาย ได้แก่ เรื่องอื้อฉาวด้านการสร้างปั่นราคาหุ้น การฉ้อโกงของผู้บริหารในบริษัทจำนวนมากในตลาดหุ้นไทย มาตรการในการแก้ไขปัญหากลไกการซื้อขายหุ้นที่อืดอาดและไม่ชัดเจนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน ภาวะตลาดหุ้นไอพีโอที่ไม่มีธุระกิจใหม่และเป็นอนาคตที่แตกต่างจากธุรกิจเดิมๆที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในตลาดหุ้นลดต่ำลง สภาวะเศรษฐกิจไทยที่ชะลอตัวต่ำต่อเนื่องหลังสิ้นสุดโรคโควิด-19 นักลงทุนต่างชาติไม่มีความเชื่อมั่นในการลงทุนในตลาดหุ้นไทย

โดยดัชนีหุ้นไทยทำสถิติ ปิดสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1822.66 จุด และทำสถิติดัชนีหุ้นสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 1830.68 จุด ซึ่งเกิดขึ้นในวันเดียวกันเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2561 หรือเมื่อ 7 ปีกว่าที่ผ่านมา ด้วยมูลค่าการซื้อขายสุทธิในวันดังกล่าวมีเกือบ 95,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ ความไม่มั่นใจของนักลงทุนจากต่างประเทศยังคงสะท้อนจากการขายหุ้นสุทธิในตลาดหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องมาหลายปีรวมถึงปีนี้ โดยพบว่านับตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงเมื่อวันศุกร์ที่ 17 พฤษภาคมที่ผ่านมานักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยสุทธิ 65,500 ล้านบาท ย้อนกลับไปในปี 2556 ถึงปี 2566 พบว่า ต่างชาติขายหุ้นไทยสุทธิสะสมมากถึง 9.8 แสนล้านบาท ซึ่งมีเพียง 2 ปีเท่านั้นที่มีสถานะเป็นซื้อสุทธิเกิดขึ้นในปี 2559 และปี 2565 นอกนั้นเป็นการขายสุทธิทั้งสิ้น โดยมีมูลค่าขายสุทธิสูงสุดที่ 2.88 แสนล้านบาทในปี 63 และมีการขายสุทธิต่อเนื่องติดต่อกันถึง 5 ปี (60 – 64) ด้วย

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles