ศูนย์วิจัย SCB EIC เปิดเผยว่า เทรนด์ Pet tourism หรือการท่องเที่ยวพร้อมสัตว์เลี้ยง เป็นรูปแบบการท่องเที่ยวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ผู้มีสัตว์เลี้ยง โดยเป็นผลมาจาก 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่
- กระแส Pet humanization จากที่ในปัจจุบันกลุ่มผู้มีสัตว์เลี้ยงหันมาเลี้ยงสัตว์เสมือนลูกหรือสมาชิกครอบครัว (Pet parent) มากยิ่งขึ้น ส่งผลให้เจ้าของยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อสัตว์เลี้ยงค่อนข้างสูง ทั้งด้านอาหาร ด้านสุขภาพ รวมถึงการพาสัตว์เลี้ยงออกไปท่องเที่ยวด้วยกัน
- จำนวนสัตว์เลี้ยงและผู้มีสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนสัตว์เลี้ยงทั้ง สุนัข แมว และสัตว์อื่นๆ เช่น นก ปลา เพิ่มขึ้นราว 2.5%CAGR และยังสอดคล้องกับจำนวนครัวเรือนที่มีสัตว์เลี้ยงที่เพิ่มขึ้นในอัตราใกล้เคียงกัน อีกทั้ง ในช่วงปี 2025F-2028F จำนวนสัตว์เลี้ยงยังมีแนวโน้ม เติบโตต่อเนื่องราว 2.6%CAGR
- จำวนธุรกิจที่พร้อมให้บริการด้าน Pet tourism เพิ่มมากขึ้น โดยปริมาณบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับสัตว์เลี้ยงเติบโต 17% เฉลี่ยแต่ละปี ในช่วงปี 2015-2023 ทั้งในกลุ่มขายปลีกอาหารสัตว์เลี้ยง กลุ่มบริการทางการแพทย์ และกลุ่ม Pet care อีกทั้งธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารจำนวนมากยังขยายบริการใหม่สำหรับกลุ่มผู้มีสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะด้วย และ 4.การสนับสนุนจากภาครัฐ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเทรนด์ Pet tourism จึงจัดทำโครงการ Amazing Happy Paws เพื่อประชาสัมพันธ์และโปรโมท Pet tourism ทั้งแก่ชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีสัตว์เลี้ยง ควบคู่ไปกับการสร้างฐานข้อมูลธุรกิจ Pet friendly เพื่อกลุ่ม Pet tourist โดยเฉพาะด้วย
SCB EIC อ้างอิงผลสำรวจจาก ม. มหิดล พบว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงสุนัขเฉลี่ยอยู่ที่ 24,00-29,000 บาทต่อตัวต่อปี** การเลี้ยงสัตว์เลี้ยงสะท้อนถึงกลุ่มผู้บริโภคที่ชอบเลี้ยงสัตว์เลี้ยง พบว่า 49% เป็น Pet Parent เลี้ยงเพื่อเป็นผู้ปกครองสัตว์เลี้ยง ถัดมา 33% Pet prestige เลี้ยงเพื่อบ่งบอกสถานะทางสังคม และอีก 18% Pet healing เลี้ยงเพื่อเยียวยาจิตใจ ขณะที่ รายได้ธุรกิจที่เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงในไทย เช่น ผลิตอาหาร, รักษา, ดูแล เป็นต้น พบว่า ระหว่างปี 2017-2019 เติบโต +3% ใน 3 ปีดังกล่าว โดยในปี 2017-2018 มีมูลค่า 40,700 ล้านบาทขึ้นเป็น 43,300 ล้านบาท แต่ในปี 2019 ชะลอตัวเหลือ 43,000 ล้านบาท เมื่อถึงปี 2020-2023 เติบโตเฉลี่ย +15% ใน 4 ปีดังกล่าว จากในปี 2020 มีมูลค่า 44,900 ล้านบาทขึ้นมาเป็น 75,000 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2022 อย่างไรก็ตามในปี 2023 ผ่านไป มูลค่าเติบโตเหลือเพียง 74,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ กลุ่มคนรักสัตว์ยินดีจ่ายเพิ่มขึ้น เช่น การซื้ออาหารสัตว์เกรดพรีเมียม กลุ่มอาหารพรีเมี่ยมเติบโต 13% ในช่วงปี 2017-2019 จาก 5,000 ล้านบาทมาเป็น 6,000 ล้านบาท ถัดจากนั้นในปี 2020-2024 เติบโต 17% จาก 7,000 ล้านบาทมาเป็น 13,000 ล้านบาท สอดรับกับกลุ่มอาหารไม่พรีเมียม เติบโต 10% ระหว่างปี 2017-2024 จาก 16,000 ล้านบาทมาเป็น 32,000 ล้านบาท
ที่น่าสนใจ แนวโน้มการใช้จ่ายของท่านเป็นอย่างไรในปีหน้าเมื่อเทียบกับปัจจุบัน พบว่า ค่าใช้จ่ายกับสัตว์เลี้ยงถือเป็นค่าใช้จ่ายจำเป็น ซึ่งเป็นผลสำรวจของ SCB EIC พบว่า ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงขึ้นเป็นอันดับ 2 ใน 6 อันดับค่าใช้จ่ายจำเป็น มีดังนี้
- ซ่อมบ้าน/เฟอร์นิเจอร์ 37%
- เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง 28%
- เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน 23%
- เที่ยวในประเทศ 17%
- สินค้าความงาม 15%
และ 6. เสื้อผ้า เครื่องประดับ 14%
SCB EIC ประเมิน 4 ธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตจากกลุ่ม Pet tourist ได้แก่
- ธุรกิจโรงแรมและที่พัก ซึ่งมีโอกาสจะได้รับรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าเข้าพักส าหรับสัตว์เลี้ยง อีกทั้งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมให้อัตราเข้าพักเฉลี่ยของทั้งโรงแรมเพิ่มขึ้นตามด้วยจากการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มใหม่อย่างผู้มีสัตว์เลี้ยง ทั้งนี้ธุรกิจโรงแรมจะต้องจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติมแก่สัตว์เลี้ยงด้วย
- ธุรกิจร้านอาหาร ซึ่งจะตอบโจทย์กลุ่มผู้นิยมพาสัตว์เลี้ยงไปรับประทานอาหารด้วย อีกทั้งยังสามารถเพิ่มรายได้จากการขายเมนูอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงเป็นพิเศษ ทั้งในรูปแบบอาหารคาว อาหารหวาน และเครื่องดื่ม
- ธุรกิจขนส่งและการบิน จากการที่ผู้มีสัตว์เลี้ยงเริ่มพาสัตว์เลี้ยงเดินทางไปท่องเที่ยวด้วยทั้งเส้นทางในประเทศและระหว่างประเทศ ทำให้สายการบินสามารถเรียกเก็บค่าบริการพิเศษเพิ่มเติมได้
- ธุรกิจ Pet healthcare & Wellness จาก Pet care และ Pet grooming เพื่อเตรียมพร้อมไปเที่ยว ทั้งการออกใบรับรองสุขภาพเพื่อใช้ในการเดินทาง และการให้บริการด้านเวลเนสแก่สัตว์เลี้ยง อย่างเช่น การทำสปา การฉีดวัคซีน และการพาไปออกกำลังกายหรือว่ายน้ำ