กงสุลไทยในยูเออีเตือนกฎหมายแรงงานยูเออีรุนแรง ปรับสูงถึง 10 ล้านบาท

สถานกงศุลไทย นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรต หรือยูเออี โพสต์ข้อความเกี่ยวกับรัฐบาลยูเออีแก้ไข กฎหมายแรงงาน โดยปรับนายจ้างที่จ้างคนงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน ตั้งแต่ 100,000 ดีแรห์ม ถึง 1 ล้านดีแรห์ม (ประมาณ 1-10 ล้านบาท) และสำหรับการละเมิดกฎหมายแรงงานกรณีอื่น ๆ  มีดังนี้

1)การจ้างคนงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน หรือการนำคนงานมาโดยไม่มีงาน การทำงานด้วยวีซ่าท่องเที่ยว (visit หรือ tourist visa) ถือว่าผิดกฎหมาย #ผู้ที่ถือวีซ่าท่องเที่ยวไม่สามารถเข้ามาหางานในยูเออี คนหางานจะได้รับอนุญาตให้เริ่มทำงานได้ ก็ต่อเมือได้รับหนังสือเสนองานอย่างเป็นทางการ (official offer letter) ที่ออกให้โดยกระทรวงทรัพยากรมนุษย์และส่งเสริมการจ้างงานสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์เท่านั้น

2) การปิดกิจการโดยไม่ชำระสิทธิของคนงาน 3)การมีส่วนร่วมในกิจกรรมฉ้อโกงแรงงาน รวมถึงการจ้างงานฉ้อโกงหรือปลอมแปลงการจ้างงาน 4)การจ้างงานผู้เยาว์โดยฝ่าฝืนกฎหมาย และ 5)การกระทำใด ๆ ที่เป็นการหลบเลี่ยงกฎหมาย หรือข้อบังคับที่ควบคุมตลาดแรงงาน รวมถึงการปลอมแปลงการจ้างงาน นอกจากนี้ พระราชกฤษฎีกาฉบับใหม่กำหนดให้ดำเนิน คดีอาญาสำหรับการจ้างงานปลอม รวมถึงการจ้างงานชาวยูเออีปลอมด้วย และโทษจะทวีคูณตามจำนวนคนงานที่ถูกจ้างงานแบบผิด กม.

ทั้งนี้ การแก้ไขพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลยูเออีในการพัฒนากฎหมายของประเทศ เพื่อให้แน่ใจว่าตลาดแรงงานมีประสิทธิภาพและมีความสามารถในการแข่งขัน สามารถกำกับดูแลความสัมพันธ์ในการจ้างงาน และกำหนดสิทธิและภาระผูกพันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน และเพื่อให้แน่ใจว่าลูกจ้างจะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย

สำหรับการไปทำงานในยูเออีโดยถูกกฎหมาย มี 5 วิธี ได้แก่ 1.บริษัทจัดหางานเอกชนจัดส่งไปทํางาน ซึ่งขณะนี้มีบริษัทจัดหางานเอกชนของไทยที่ได้รับอนุญาตจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ให้จัดส่งคนงานมาทำงานในสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เพียง 4 บริษัท เท่านั้น ในตำแหน่งเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พยาบาล ช่างในโรงงาน ฯลฯ และ ไม่มีบริษัทจัดหางานใดที่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งคนหางานมาทำงานงานนวดสปา งานเกษตร งานร้านอาหาร และอื่นๆ โดยสามารถสอบถามรายชื่อบริษัทจัดหางานไทยได้จากฝ่ายแรงงาน ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี

2. กรมการจัดหางานจัดส่งไปทํางาน 3.คนหางานติดต่อทําสัญญาจ้างกับนายจ้างโดยตรง ไม่ผ่านสายหรือนายหน้า 4.บริษัทนายจ้างในประเทศไทยส่งไปทํางาน และ 5.บริษัทนายจ้างในประเทศไทยส่งไปฝึกงาน

การถือวีซ่าท่องเที่ยวTouristVisa วีซ่านักเรียนStudentVisa มาลับลอบทำงานถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย จะต้องโทษหนักทั้งจำทั้งปรับ พร้อมถูกเนรเทศ และ จะไม่ได้รับการคุ้มครองใดจากหน่วยงานรัฐ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles