ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า สำหรับปี 2025 ตลาดซื้อขายสินค้าออนไลน์ หรืออีคอมเมิร์ซในกลุ่มที่เป็นตลาดผู้บริโภคขั้นสุดท้าย หรือ B2C ในประเทศไทย จะชะลอตัวลง โดยคาดว่าจะเติบโต 6.4% ซึ่งชะลอลงจากกำลังซื้อไม่ฟื้น มูลค่าตลาดดังกล่าว B2C E-Commerce ในประเทศ (หน่วย: แสนล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในแต่ละปีที่ผ่านมา) มีดังนี้ ปี 2020 มูลค่า 3.7 แสนล้าน +24.4% ปี 2021 มูลค่า 5.35 แสนล้าน +44.4% (ปีโรคโควิด-19 ระบาด) ปี 2022 มูลค่า 5.98 แสนล้าน +11.7% ปี 2023 มูลค่า 6.63 แสนล้าน +10.9% ปี 2024 มูลค่า 7.24 แสนล้าน +9.2% และคาดปี 2025 มูลค่า 7.70 แสนล้าน +6.4%
ในแง่การเติบโตนั้น ส่วนแบ่งตลาดออนไลน์ในกลุ่ม B2C E-Commerce ในด้านสัดส่วนเทียบมูลค่าค้าปลีกอุปโภคบริโภคภาพรวม พบว่า ในปี 2020 อยู่ที่ 8.3% ขยายตัวมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะเป็น 18% ในสิ้นปี 2025 นี้ สัดส่วนเทียบดังกล่าวเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค เช่น อาหารและเครื่องดื่ม, ของใช้ส่วนตัว, สินค้าแฟชั่น, ของใช้-ของตกแต่งบ้าน เป็นต้น
สำหรับ 5 สินค้ายอดนิยมบนออนไลน์เรียงตามลำดับ คือ แฟชั่น ความงาม ของใช้ส่วนตัว อาหาร และสินค้าสุขภาพ ในขณะที่ 3 ช่องทางซื้อ-ขายหลัก ได้แก่ 44% บน E-Market Place อันดับ 2. 36% บน Social Commerce และอันดับ 3. 20% บน Modern Trade/ Brand.com
ทั้งนี้ ประเด็นที่ต้องติดตามสำหรับธุรกิจ ได้แก่ 1.การแข่งขัน รุนแรงต่อเนื่องโดยเฉพาะผู้ผลิตจีนที่มาทำตลาดโดยตรง 2. ความคาดหวังของลูกค้าเพิ่มขึ้น เช่น คุณภาพสินค้า ราคา การจัดส่ง การบริการ 3. ต้นทุนสูงขึ้น เช่น ต้นทุนสินค้า
ค่าธรรมเนียมร้านค้า และ 4. ติดตามแนวคิดจัดเก็บภาษี VAT ร้านค้าออนไลน์ที่รายได้ต่ำกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี