กูรูมองสวนทางนักลงทุนรายย่อย ชี้ราคาทองไทยจ่อลดลงต่อสัปดาห์นี้ ตามติดตัวเลยเศรษฐกิจสหรัฐ โดยเฉพาะเงินดอลลาร์สหรัฐ ความตึงเครียดรุนแรงในยูเครน-รัสเซีย

ศูนย์วิจัยทองคำ เปิดเผยผลสำรวจ GRC Gold Survey เกี่ยวกับมุมมองต่อทิศทาง ราคาทอง คำในประเทศสัปดาห์นี้ ระหว่างวันที่ 2-6 ธันวาคม 2567 จากการสำรวจ GRC Gold Survey โดยศูนย์วิจัยทองคำ 14 ผู้เชี่ยวชาญในตลาดทองคำที่ได้มีส่วนร่วมตอบแบบสำรวจ ในจำนวนนี้มี 3 ราย หรือเทียบเป็น 21% คาดว่าราคาทองคำในสัปดาห์นี้ จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 5 ราย หรือเทียบเป็น 36% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 6 ราย หรือเทียบเป็น 43% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สำหรับนักลงทุนทองคำ ได้เข้าร่วมตอบแบบสำรวจ จำนวน 320 ราย ในจำนวนนี้มี 166 ราย หรือเทียบเป็น 52% คาดว่าราคาทองคำในประเทศของสัปดาห์นี้จะปรับเพิ่มขึ้น ส่วนจำนวน 119 ราย หรือเทียบเป็น 37% คาดว่าราคาทองคำจะลดลง และ จำนวน 35 ราย หรือเทียบเป็น 11% คาดว่าราคาทองคำจะใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา

สถานการณ์ราคาทองคำในสัปดาห์ผ่านไป พบว่าราคาทองคำแท่งในประเทศ 96.5% ตามประกาศ สมาคมค้าทองคำในสัปดาห์ที่ผ่านมาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 42,850 – 44,100 บาท ต่อบาททองคำ โดยราคาทองคำปิดอยู่ที่ระดับ 43,100 บาท ต่อบาททองคำ ลดลง 1,150 เมื่อเปรียบเทียบกับราคาปิดของสัปดาห์ก่อนหน้า (สัปดาห์ก่อนหน้าปิดที่ 44,250 บาท)

ด้านปัจจัยที่ต้องติดตามในสัปดาห์นี้ มีดังนี้

1. ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างจีนและไต้หวัน ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจากจีน

2. ที่อ้างสิทธิ์เหนือไต้หวัน และการกล่าวหาประธานาธิบดีของไต้หวันว่าเป็น “ผู้แบ่งแยกดินแดน” อาจกระตุ้นให้จีนใช้การเยือนภูมิภาคแปซิฟิกของประธานาธิบดีไต้หวัน ซึ่งรวมถึงการแวะพักที่สหรัฐฯ เป็นข้ออ้างในการซ้อมรบทางทหาร การพัฒนานี้สามารถเพิ่มแรงหนุนให้ราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย เนื่องจากนักลงทุนอาจมีความกังวลเกี่ยวกับเสถียรภาพในภูมิภาค

2. การเลื่อนการประชุมกลุ่มโอเปกพลัส จากวันที่ 1 ธันวาคม ไปเป็นวันที่ 5 ธันวาคม 2567 เนื่องจากสมาชิกหลายประเทศต้องเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มประเทศรอบอ่าวเปอร์เซียครั้งที่ 45 ที่คูเวตซิตี้ การตัดสินใจในที่ประชุมอาจส่งผลต่อราคาน้ำมัน ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางอ้อมกับราคาทองคำในฐานะสินทรัพย์ป้องกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อ

3. รายงานตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสหรัฐฯ ได้แก่ ดัชนี ISM ภาคการผลิต/ภาคบริการเดือน พฤศจิกายน 2567, ตัวเลขจ้างงานภาคเอกชน, ข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตร, ดัชนีความเชื่อมั่นและตัวเลขคาดการณ์เงินเฟ้อในมุมมองของผู้บริโภคเดือน ธันวาคม 2567 และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles