กระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลดำเนินการก่อสร้างรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลตามแผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (Mass Rapid Transit Master Plan in Bangkok Metropolitan Region : M–Map) จนแล้วเสร็จไปหลากหลายสายทาง ในปัจจุบัน กรมการขนส่งทางรางอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาเพื่อพัฒนาแบบจำลองการคาดการณ์ความต้องการเดินทางด้วยระบบรางและการพัฒนาโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M–Map 2)
กรมการขนส่งทางราง (ขร.) ดำเนินการศึกษาโครงการเสร็จแล้วเมื่อ ธ.ค. 2566 ต่อไปจะรายงานผลการศึกษาถึงกระทรวงคมนาคม เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลผลการศึกษาไปบูรณาการต่อไป
สำหรับผลการศึกษาในเบื้องต้นได้จัดลำดับความสำคัญแผนการพัฒนา M–Map 2 แบ่งเป็น 4 กลุ่ม 45 เส้นทาง ประกอบด้วย
1. เส้นทางที่มีความจำเป็น / มีความพร้อม (สามารถดำเนินการได้ทันที) จำนวน 4 เส้นทาง ดังนี้
1.1 รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงรังสิต – ธรรมศาสตร์ (Commuter)
1.2 รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา (Commuter)
1.3 รถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช (Commuter)
1.4 รถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย – บึงกุ่ม (Light Rail Transit/Monorail/Automated Guideway Transit)
สำหรับรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ปัจจุบัน การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแหก่งประเทศไทย (รฟม.) ศึกษารูปแบบการลงทุนแล้วเสร็จ ควรจะต้องตรวจสอบว่าการดำเนินโครงการจะมีผลกระทบต่อโครงการอื่นๆ เพื่อป้องกันปัญหาที่จะนำไปสู่การฟ้องร้องของเอกชนคู่สัญญาในอนาคตต่อไป
2. เส้นทางที่มีความจำเป็น แต่ต้องเตรียมความพร้อมก่อน โดยคาดว่าดำเนินการภายใน ปี พ.ศ. 2572 จำนวน 6 เส้นทาง ดังนี้
2.1 รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ –หัวลำโพง (Commuter) ปัจจุบัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างเสนอปรับตำแหน่งสถานี จึงต้องออกแบบและศึกษารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)อีกครั้ง เนื่องจากรูปแบบโครงการดำเนินการเป็นใต้ดิน เพราะหากดำเนินการ open trench จะเกิดปัญหาจราจรในช่วงก่อสร้าง โดยจะใช้หัวรถจักรไฟฟ้า ซึ่งทำเป็นใต้ดินได้ และไม่ต้องกังวลเรื่องน้ำท่วม ซึ่งรฟท. อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบและศึกษาความเหมาะสม
2.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงสนามกีฬาแห่งชาติ – ยศเส (Heavy Rail) เป็นรถไฟฟ้าที่ต้องดำเนินการพร้อมกับรถไฟชานเมืองสายสีแดงช่วงบางซื่อ – พญาไท – หัวลำโพง ซึ่งยังไม่มีการศึกษาแต่อย่างใด
2.3 รถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงบางหว้า – ตลิ่งชัน (Heavy Rail) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติรายงาน EIA
2.4 รถไฟฟ้าสายสีเทาวัชรพล – ทองหล่อ (Light Rail Transit/Monorail/ Automated Guideway Transit) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA
2.5 รถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงวงเวียนใหญ่ – บางบอน อยู่ระหว่างศึกษาออกแบบแนวเส้นทางใหม่ หลังจากเขตทางเดิมตามแนวที่ทำไว้ ไม่เพียงพอจนไม่อาจก่อสร้างได้ และ 2.6รถไฟฟ้าสายสีเงินช่วงบางนา – สนามบินสุวรรรณภูมิ อยู่ระหว่างรอ บมจ.ท่าอากาศยานไทย (ทอท.) พิจารณาตำแหน่งที่ตั้งอาคารผู้โดยสาร (Terminal) ด้านใต้ของสนามบิน และอยู่ระหว่างขออนุมัติรายงาน EIA
3. เส้นทางที่มีศักยภาพ เนื่องจากผ่านการศึกษาความคุ้มค่าในโครงการ M-Map 1 หรือเป็นเส้นทางใหม่ที่มีปริมาณผู้โดยสารถึงเกณฑ์ทีจะพัฒนาเป็นระบบรถไฟฟ้าได้ จำนวน 9 เส้นทาง ดังนี้
3.1 รถไฟฟ้าสายสีฟ้า สาธร – ดินแดง (Light Rail Transit/Monorail/Automated guideway transit)
3.2 รถไฟฟ้าสายสีเขียว คูคต – วงแหวนรอบนอก (Heavy Rail)
3.3 รถไฟฟ้าสายสีเทา วัชรพล – ลำลูกกา (Light Rail Transit/Monorail/Automated guideway transit)
3.4 รถไฟฟ้าสายสีเทา พระโขนง – ท่าพระ (Light Rail Transit/Monorail/Automated guideway transit)0
3.5 รถไฟชานเมืองสายสีแดง หัวลำโพง – วงเวียนใหญ่ (Commuter) ควรออกแบบเป็นอุโมงค์ เพื่อลดผลกระทบเวนคืนที่ดิน ซึ่งผ่านบริเวณที่ชุมชนหนาแน่น โดย รฟท. อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบและศึกษาความเหมาะสม
3.6 รถไฟชานเมืองสายสีแดง บางบอน – มหาชัย – ปากท่อ (Commuter) ออกแบบตามแนวเส้นทางใหม่ เนื่องจากเขตทางเดิมไม่เพียงพอไม่สามารถก่อสร้างได้ โดย รฟท. อยู่ระหว่างทบทวนการออกแบบและศึกษาความเหมาะสม
3.7 รถไฟฟ้าสายสีเขียว สมุทรปราการ – บางปู (Heavy Rail)
3.8 รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บางแค – พุทธมณฑล (Heavy Rail) อยู่ระหว่างการขออนุมัติ EIA 9. รถไฟฟ้าสายสีเขียว ตลิ่งชัน – รัตนาธิเบศร์ (Heavy Rail)
4. เส้นทางเชื่อมต่อ (Feeder) แผนงานจะพัฒนาเป็นระบบ Feeder เช่น Bimodal Tram ล้อยาง รถเมล์ไฟฟ้า จำนวน 26 เส้นทาง ดังนี้
4.1 ลาดพร้าว – รัชโยธิน – ท่าน้ำนนท์
4.2 ดอนเมือง – ศรีสมาน
4.3 ศาลายา – มหาชัย
4.4 ศรีนครินทร์ – บางบ่อ
4.5 คลอง 6 – องครักษ์
4.6 รัตนาธิเบศร์ – แยกปากเกร็ด
4.7 คลองสาน-ศิริราช
4.8 บางซื่อ – พระรามที่ 3
4.9 ราชพฤกษ์ – แคราย
4.10 พระโขนง – กิ่งแก้ว
4.11 บางซื่อ – ปทุมธานี
4.12 เมืองทอง – ปทุมธานี
4.13 บางแค – สำโรง
4.14 แพรกษา – ตำหรุ
4.15 ธรรมศาสตร์ – นวนคร
4.16 บางนา – ช่องนนทรี
4.17 สุวรรณภูมิ – บางบ่อ
4.18 บรมราชชนนี – ดินแดง – หลักสี่
4.19 ธัญบุรี – ธรรมศาสตร์
4.20 คลอง 3 – คูคต
4.21 มีนบุรี – สุวรรณภูมิ – แพรกษา-สุขุมวิท
4.22 เทพารักษ์ – สมุทรปราการ
4.23 บางใหญ่ – บางบัวทอง
4.24 บางปู – จักรีนฤบดินทร์
4.25 ครุใน – สมุทรปราการ
4.26 ปทุมธานี – ธัญบุรี