คนไทยว่างงานกว่า 430,000 คน เพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ฟื้นตัวจากโควิด กว่า 60% จบสังคมศาสตร์-บริหารธุรกิจ

คนไทย ว่างงาน กว่า 430,000 คน เพิ่มขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ฟื้นตัวจากโควิด กว่า 60% จบสังคมศาสตร์-บริหารธุรกิจ

เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ นายดนุชา พิชยนันท์ กล่าวว่า ไตรมาส 2 ปี 2567 นี้ ตลาดแรงงานของไทยชะลอตัวลงชัดเจน เนื่องจากการจ้างงานในประเทศไทยมีที่ 39.5 ล้านคน ลดลง 0.4% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันกัโดยบในปีผ่านมา สำหรับภาคเกษตรกรรม พบว่าการจ้างงานลดลงมาอยู่ที่ 11 ล้านคน ลดน้อยลง 5% อย่างไรก็ตาม การจ้างงานนอกภาคเกษตรในไทยอยู่ที่ 28.5 ล้านคน เพิ่มขึ้นที่ 1.5% ในทุกสาขา

สาเหตุจากแรงงานเคลื่อนย้ายจากภาคการเกษตรฯ เข้าสู่นอกภาคการเกษตรฯมากขึ้น ได้แก่ การผลิต การก่อสร้าง การค้าส่งกับค้าปลีก โรงแรมกับภัตตาคาร และขนส่งกับเก็บสินค้า ในส่วนค่าจ้างของภาคเอกชนยังทรงตัวเท่ากับปี 2566 ที่เฉลี่ย 14,032 บาทต่อคนต่อเดือน ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 2 ปี 2566 ที่ 0.5% ขณะที่ค่าจ้างเฉลี่ยในภาพรวมอยู่ที่ 15,329 บาทต่อคนต่อเดือน

ด้านอัตราว่างงานในไทยนั้น ปรากฏว่า อัตราดังกล่าวอยู่ที่ 1.07% หรือคิดเป็นผู้ว่างงานในไทยราว 430,000 คน ส่งผลเป็นการว่างงานเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอ หลังการฟื้นตัววิกฤตการณ์โรคโควิด-19

เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ กล่าวต่อไปว่า การว่างงานระดับอุดมศึกษามีค่อนข้างสูง เนื่องจากเข้าสู่ช่วงการจบการศึกษาของแรงงานใหม่ นอกจากนี้ พบว่าผู้ว่างงานระดับอุดมศึกษาราว 63% จบการศึกษาด้านสังคมศาสตร์ ธุรกิจ ขณะจบสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์คิดเป็นสัดส่วนราว 22% ของผู้จบใหม่ มองว่าเป็นกลุ่มที่ต้องมีการเร่งพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์เพิ่มขึ้นเพื่อให้ตอบสนองความต้องการตลาด

ทั้งนี้ ตลาดแรงงานที่ต้องติดตามต่อไป ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ แรงงานต้องมีการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับทักษะที่จำเป็นในอนาคต ปัจจัยทางเศรษฐกิจ ต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และการขาดสภาพคล่องของ SME อาจส่งผลกระทบให้เกิดการเลิกจ้างมากขึ้น และสถานการณ์น้ำท่วมส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตรและรายได้ของเกษตรกร

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles