ครม.คลอดมาตรการกระตุ้นเที่ยวไทย  เพิ่มวีซ่าฟรีเป็น 93 ประเทศ ขยายเวลาพำนัก เป็น 60 วัน

นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า จากการประชุม ครม.เศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 หนึ่งในมาตรการคือเร่งเดินหน้าบูมเรื่องการท่องเที่ยวอย่างเต็มที่ เพราะเป็นเครื่องจักรตัวเดียวที่ให้ผลตอบแทนอย่างรวดเร็ว ในปี 2566 รายได้จากการท่องเที่ยว 2.2 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นมาจากปี 2565 กว่า 7 แสนล้านบาท

ดังนั้น ในปีนี้รัฐบาลจะเร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้านบาท แต่ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ตั้งเป้าว่าจะต้องได้ 3.5 ล้านล้านบาท กระทรวงการต่างประเทศ จึงกำหนดมาตรการเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบโดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว

โดยวันนี้ (28 พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า รัฐบาลจะเร่งเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวไม่ต่ำกว่า 3 ล้านล้านบาท แต่ รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ตั้งเป้าว่าจะต้องได้ 3.5 ล้านล้านบาท กระทรวงการต่างประเทศ จึงกำหนดมาตรการเชิงรุกอย่างเต็มรูปแบบโดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกกับนักท่องเที่ยว แบ่งเป็นมาตรการระยะสั้น เริ่มบังคับใช้ 1 มิถุนายน 2567 เป็นต้นไป

1. การให้สิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา สามารถพำนัก ในประเทศไทยไม่เกิน 60 วัน เป็นมาตรการฝ่ายเดียวของไทย เพื่อการท่องเที่ยว การติดต่อธุรกิจ และการทำงานระยะสั้น จากเดิมมี 57 ประเทศที่สามารถเดินทางมาโดยวีซ่าฟรี ไม่ต้องขอวีซ่า และพำนักอยู่ได้ 60 วัน แต่มาตรการนี้ให้เพิ่มจาก 57 ประเทศ อีก 36 ประเทศ รวมเป็น 93 ประเทศ และที่เคยมีวีซ่าฟรีที่เคยอยู่ได้ 30 วัน เปลี่ยนให้เป็น 60 วัน ราชอาณาจักรภูฏาน สาธารณรัฐบัลแกเรีย สาธารณรัฐไซปรัสสาธารณรัฐพิจี จอร์เจีย สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐคำซัคสถาน สาธารณรัฐมอลตาสหรัฐเม็กซิโก รัฐเอกราชปาปัวนิวกินี โรมาเนีย สาธารณรัฐอุซเบกิสถาน และไต้หวัน สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเก๊า มองโกเสีย สหพันธรัฐรัสเซีย และราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแอลเบเนีย สาธารณรัฐโคลอมเบียสาธารณรัฐโครเอเชีย สาธารณรัฐคิวบา เครือรัฐดอมินิกวิ สาธารณรัฐโดมินิกัน สาธารณรัฐ เอกวาดอร์ สาธารณรัฐกัวเตมาลา จาเมกา ราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน สาธารณรัฐคอซอวอ ราชอาณาจักรโมร็อกโก สาธารณรัฐปานามา สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังอาสาธารณรัฐตรินิแดดและโตเบโก ราชอาณาจักรตองกา และ สาธารณรัฐโอเรียนทัลอรุกวัย

2. การให้สิทธิ Visa on Arrival (VOA) โดยปรับปรุงรายชื่อประเทศที่ได้รับสิทธิตรวจลงตรา ณ ช่องทางอนุญาตของด่านตรวจคนเข้าเมืองใหม่ จำนวน 31 ประเทศ/ดินแดน ได้แก่ อาร์เมเนีย ภูฏาน โบลิเวีย จีน คอสตาริกา ไซปรัส

3. เพิ่มการตรวจลงตราประเภทใหม่ Destination Thailand Visa (DTV) สำหรับคนต่างด้าวที่มีทักษะและทำงานทางไกลผ่านระบบดิจิทัล (remote worker หรือ digital nomad) ซึ่งประสงค์จะพำนักในประเทศไทยเพื่อทำงานและท่องเที่ยวไปพร้อมกัน (workcation) ได้แก่ กลุ่มที่มีทักษะสูง (foreign talent) และกลุ่มอาชีพอิสระ จากเดิมที่ขอวีซ่าเข้าประเทศ มีอายุวีซ่าครั้งละ 60 วัน พำนักได้ 30 วัน ของใหม่ขยายอายุวีซ่า 5 ปี พำนักได้ยาว 180 วัน และขยายได้อีก 180 วัน

4. ปรับปรุงสิทธิสำหรับนักศึกษาต่างชาติที่เข้ามาเรียนระดับ ปริญญาตรีขึ้นไป 4 หมื่นคน โดยขยายเวลาพำนักในประเทศไทยหลังสำเร็จการศึกษา 1 ปี เพื่อหางาน เดินทาง ท่องเที่ยว หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ในประเทศไทยได้ โดยไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศไทย เริ่มบังคับใช้ 1 มิถุนายน

มาตรการระยะกลาง เริ่มใช้เดือนกันยายน – เดือนธันวาคม 2567 แบ่งเป็น มี 3 มาตรการ

1. จัดกลุ่มและปรับลดรหัสกำกับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว จากเดิม17 รหัส เหลือ 7 รหัส โดยจะเริ่มดำเนินการ ภายในเดือนกันยายน 2567

2. ปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวทำนักระยะยาว (Long Stay) สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่ประสงค์ใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทย เช่น ปรับลดเงินประกันสุขภาพสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราว จากเดิมจำนวน 3 ล้านบาท แก้ไขเป็นผู้ป่วยใน 4 แสนบาท ผู้ป่วยนอก 4 หมื่นบาท

3. ขยายการเปิดให้บริการการตรวจลงตราอิเล็กทรอนิกส์ (e-Visa) ซึ่งเดิมมีให้บริการระบบ e-Visa ณ สถานเอกอัครราชทูต/สถานกงสุลใหญ่ 47 แห่ง เป็น 94 แห่ง ให้ครอบคลุมสถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่และสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทยทุกแห่งทั่วโลก ภายในเดือนธันวาคม ปี 2567

ขณะที่มาตรการระยะยาว เริ่มใช้เต็มรูปแบบในเดือนมิถุนายน 2568 ซึ่งเป็นการพัฒนาระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) สำหรับกลุ่มคนต่างด้าวที่ได้รับสิทธิยกเว้นการตรวจลงตรา เป็นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคัดกรองคนต่างด้าว โดยการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เพื่ออำนวยความสะดวกเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยว จะเป็นเหตุให้กระทรวงการต่างประเทศสูญเสียรายได้แผ่นดินปีละประมาณ 12,300 ล้านบาท ถือว่ายอดเงินไม่น้อย แต่หากเทียบกับผลตอบแทนที่จะแค่คาดว่าจะสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นเราเล็งไปที่ระดับ 8 แสนล้านบาท – 1 ล้านล้านบาท

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles