คลัง ชี้ท่องเที่ยวและส่งออกหนุนภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนพ.ค. เกาะติดกำลังซื้อและการลงทุนในประเทศ

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการ คลัง ประจำเดือนพ.. 2567 ได้รับปัจจัยบวกจากขยายตัวในภาคการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า และภาคการเกษตร อย่างไรดี การบริโภคสินค้าคงทนและการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่  โดยยังต้องติดตามสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ กำลังซื้อของผู้บริโภคต่อสินค้าคงทน และปริมาณการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอย่างใกล้ชิดต่อไป

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพ.. 2567 อยู่ที่ 1.54% ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ 0.39% ส่วนสัดส่วนหนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนเม.. 2567 อยู่ที่ 63.8% ต่อ GDP ซึ่งยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งไว้ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.. 2561 

โดยเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการบริโภคภาคเอกชน มีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า: โดยภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ ในเดือนพ.. 2567 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 8.4% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 1.2% 

ส่วนปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่ง ในเดือนพ.. 2567 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -28.1% และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -0.4% ยอดรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ ในเดือนพ.. 2567 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน -8.3% แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 0.5% 

รายได้เกษตรกรที่แท้จริง ในเดือนพ.. 2567 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 11.0% อย่างไรก็ดี ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ในเดือนพ.. 2567 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 60.5 จากระดับ 62.1 ในเดือนก่อน เนื่องจากผู้บริโภคมีความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ประกอบกับราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น 

เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน มีสัญญาณชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า: โดยการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากสะท้อนจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -8.4% และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -1.7% ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ในเดือนพ.. 2567 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -20.2% และลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -0.1% 

สำหรับการลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้าง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ ในเดือนพ.. 2567 ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ -10.8% และลดลงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ -0.7% 

ขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในเดือนพ.. 2567 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 1.3% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 3.8%

มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อน: โดยมูลค่าการส่งออกสินค้ารวมในรูปเงินสกุลดอลลาร์ ในเดือนพ.. 2567 อยู่ที่ 26,219.5 ล้านดอลลาร์ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 7.2% และหากพิจารณาเฉพาะมูลค่าการส่งออกสินค้าที่ไม่รวมน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่อง ทองคำ และยุทธปัจจัย พบว่า ขยายตัวที่ 6.5% เนื่องจากการขยายตัวของสินค้าในหมวดเครื่องโทรศัพท์ 110.7% อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 44.4 % และหมวดเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 12.4% 

นอกจากนี้ สินค้าในหมวดผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้งขยายตัว 128.0% ยางพารา 46.6% อาหารสัตว์เลี้ยง 39.2% และนมและผลิตภัณฑ์นม 16.7% 

อย่างไรก็ดี การส่งออกน้ำตาลทราย ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง และแผงวงจรไฟฟ้าชะลอตัว 

ทั้งนี้ เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกสินค้า โดยจำแนกเป็นรายตลาดคู่ค้าหลักของไทย พบว่า ปรับตัวดีขึ้นในตลาดจีนขยายตัว 31.2% อินเดีย 23.1% อินโดจีน-4 9.6%และสหรัฐฯ 9.1% อย่างไรก็ดี ตลาดตะวันออกกลาง และญี่ปุ่น หดตัวลง -8.1% และ -1.0% ตามลำดับ 

เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทาน โดยเฉพาะบริการด้านการท่องเที่ยวและภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน: โดยภาคบริการด้านการท่องเที่ยว ในเดือนพ.. 2567 มีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยรวม จำนวน 2.63 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวต่อเนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 30.8% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 4.2% 

โดยส่วนใหญ่เป็นนักท่องเที่ยวจากจีน มาเลเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ และ สปป. ลาว ตามลำดับ เช่นเดียวกับการท่องเที่ยวภายในประเทศที่มีผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย ในเดือนพ.. 2567 จำนวน 22.5 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 14.1% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 10.0%

ขณะที่ภาคการเกษตร สะท้อนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรกรรม ในเดือนพ.. 2567 เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ 7.4% และเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังขจัดผลทางฤดูกาลที่ 1.3% จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในหมวดไม้ผล หมวดปศุสัตว์ และปาล์มน้ำมัน อย่างไรก็ดี ผลผลิตข้าวเปลือก ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพด ชะลอตัว 

สำหรับภาคอุตสาหกรรม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ในเดือนพ.. 2567 ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 88.5 จากระดับ 90.3 ในเดือนก่อนหน้า โดยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของอุปสงค์ภายในประเทศ ปัญหาภัยแล้ง ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่ยังคงทรงตัวอยู่ในระดับสูง รวมถึงความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจโลก

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles