เซลส์ฟอร์ซ (Salesforce) ผู้นำระดับโลกด้านระบบบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ที่ขับเคลื่อนด้วย AI วันนี้ได้เผยผลการวิจัยด้าน ‘State of IT’ ล่าสุด ที่ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นจากผู้นำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์มากกว่า 2,000 คนทั่วโลก รวมถึงนักพัฒนาในประเทศไทย พร้อมการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมจากนักพัฒนาระดับปฏิบัติการ (Frontline Developer) ในสหรัฐอเมริกาอีก 250 คน โดยผลการศึกษาพบว่าผู้เชี่ยวชาญล้วนมีความเห็นในทิศทางเดียวกันเกือบเป็นเอกฉันท์และแสดงความตื่นตัวต่อเทคโนโลยี AI เอเจนต์อัจฉริยะซึ่งทำงานได้ด้วยตัวเอง (Agentic AI) โดย 69% ของผู้นำด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ในไทยเชื่อว่า AI Agent จะกลายเป็นเครื่องมือที่จำเป็นต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันเทียบเท่ากับเครื่องมือแบบเดิมที่เคยใช้ อย่างไรก็ตาม นักพัฒนาบางส่วนมองว่าตนเองและองค์กรยังจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมและทรัพยากรเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถสร้างและใช้งานพนักงานดิจิทัลในแบบ AI Agent ให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แม้ที่ผ่านมานักพัฒนามักถูกมองว่ายังไม่ไว้วางใจในเทคโนโลยี AI แต่ผลวิจัยล่าสุดกลับชี้ให้เห็นว่านักพัฒนารู้สึกตื่นตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมทีกำลังก้าวสู่ยุค AI Agent การมาถึงของ Agentic AI เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถลดเวลาทำงานด้านการเขียนโค้ดและแก้ไขจุดบกพร่อง และเพิ่มการทำงานเชิงกลยุทธ์รวมถึงงานที่สร้างผลกระทบได้มากขึ้น นอกจากนี้ การใช้งาน AI Agent ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือแบบโค้ดต่ำหรือไม่ใช้การเขียนโค้ด (low-code และ no-code) ก็ยิ่งทำให้กระบวนการพัฒนาแอปพลิเคชันเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ง่ายขึ้น และมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เคย โดยไม่จำเป็นต้องขึ้นอยู่กับทักษะการเขียนโค้ดของนักพัฒนาอีกต่อไป
เดวิด โมลด์ (David Mould) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี และผู้อำนวยการด้านโซลูชัน Salesforce ประเทศไทย กล่าวว่า “AI Agent กำลังเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของนักพัฒนาทั้งในระดับโลกและในประเทศไทย โดยโซลูชันอย่าง Agentforce ได้เปิดโอกาสให้นักพัฒนาสามารถสร้างแอปพลิเคชันและ Agent ด้วยเครื่องมือแบบ no-code และ low-code ที่ใช้งานง่ายและศึกษาเรียนรู้ได้ฟรี ช่วยเสริมศักยภาพให้นักพัฒนาสร้างแอปพลิเคชัน คำสั่งพรอมต์ และ Agent รวมทั้งการทำงานแบบอัตโนมัติที่มีความน่าเชื่อถือ และระบบแบบอื่นได้อีกมากมาย” และเสริมว่า “เมื่อ AI Agent ได้เข้ามาช่วยจัดการงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ จำเจ เช่น การจัดระเบียบข้อมูล การเชื่อมโยงระบบ และการทดสอบในระดับเบื้องต้น นักพัฒนาจะมีอิสระในการปรับเปลี่ยนจุดมุ่งเน้นในการทำงาน จากการทำงานเขียนโค้ดแบบแมนวล ไปสู่การตอบโจทย์ที่มีมูลค่าและความสำคัญสูงให้กับองค์กร รวมถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมระบบ และการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์”
เครื่องมือแบบ Low-code และ No-code ช่วยให้นักพัฒนาไทยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่ว่าจะมีทักษะการเขียนโค้ดในระดับใดก็ตามช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้นักพัฒนาไทย โดยไม่จำกัดว่าจะมีทักษะการเขียนโค้ดระดับใด
AI Agent ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือแบบ Low-code และ No-code ทำให้นักพัฒนาทุกระดับสามารถสร้างและใช้งาน Agent ได้ โดยผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นนักพัฒนาในประเทศไทยเชื่อว่าเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้การพัฒนา AI เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่าย และขยายการพัฒนา AI ให้เติบโตมากยิ่งขึ้นเพื่อการพัฒนาที่ส่งผลเชิงบวกในอนาคต
โดย 85% ของนักพัฒนาทั่วโลกที่ใช้ Agentic AI ในปัจจุบัน ใช้เครื่องมือแบบ Low-code และ No-code ส่วน 74% ของนักพัฒนาในไทยระบุว่าเครื่องมือแบบ Low-code และ No-code สามารถช่วยให้การพัฒนา AI เป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น และ 79% ของนักพัฒนาในไทยเห็นว่าการใช้เครื่องมือ Low-code และ No-code ในการพัฒนาแอปพลิเคชันจะช่วยขยายการเติบโตของการพัฒนา AI ได้มากยิ่งขึ้น
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในการสำรวจครั้งนี้ระบุว่า โครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย ระบบการทดสอบที่มีความสามารถครอบคลุมมากขึ้น และโอกาสในการพัฒนาทักษะ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่ระบบที่มีการสร้างและใช้งาน AI Agent ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐาน: 82% ของนักพัฒนาในประเทศไทยเชื่อว่าองค์กรของตนจำเป็นต้องปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานให้ทันสมัย เพื่อรองรับการสร้างและใช้งาน AI Agent
นักพัฒนา 39% ระบุว่าคุณภาพและความถูกต้องแม่นยำของข้อมูลในองค์กร ยังไม่เพียงพอต่อการพัฒนาและใช้งาน Agentic AI ให้ประสบความสำเร็จ
ความสามารถในการทดสอบ: นักพัฒนา 45% ระบุว่ากระบวนการทดสอบของพวกเขายังไม่มีความพร้อมอย่างเต็มที่สำหรับการสร้างและใช้งาน AI Agent
ทักษะและความรู้: 87% ของนักพัฒนาไทยเชื่อว่าในอนาคต ความรู้ด้าน AI จะกลายเป็นทักษะพื้นฐานในสายอาชีพของตนเอง อย่างไรก็ตาม เกือบครึ่งหนึ่ง (48%) รู้สึกว่าทักษะที่มีอยู่ยังไม่พร้อมอย่างเต็มที่สำหรับยุคของ Agentic AI
สำหรับ การสำรวจได้จัดทำขึ้นระหว่างวันที่ 24 ธันวาคม 2567 ถึง 3 กุมภาพันธ์ 2568 จากกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในด้าน IT ขององค์กร จากประเทศออสเตรเลีย เบลเยียม บราซิล แคนาดา เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี อินเดีย อินโดนีเซีย ไอร์แลนด์ อิสราเอล อิตาลี ญี่ปุ่น เม็กซิโก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอร์เวย์ โปรตุเกส สิงคโปร์ เกาหลีใต้ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ไทย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
นอกจากนี้ยังมีการสำรวจข้อมูลเพิ่มเติมจากกลุ่มนักพัฒนาที่ทำงานใกล้ชิดกับผู้ใช้หรือลูกค้า (Frontline Developer) เกือบ 250 คนในสหรัฐอเมริกา โดยร่วมกับ YouGov ในระหว่างวันที่ 14 ถึง 21 กุมภาพันธ์ 2568