ดราม่าขายทิ้งแบรนด์รถหรูในเครือยักษ์สเตลแลนทิส หนึ่งในแบรนด์หรู มาเซราติ ไทย แจงไม่เป็นความจริง

ดราม่าขายทิ้งแบรนด์รถหรูในเครือยักษ์สเตลแลนทิส หนึ่งในแบรนด์หรู มาเซราติ ไทย แจงไม่เป็นความจริง

นายปิยะเทพ ศิวากาศ ผู้จัดการทั่วไป มาเซราติประเทศไทย ซึ่งเป็นจำหน่ายแบรนด์รถยนต์หรูหราอิตาลี มาเซราติ และอยู่ในเครือบริษัทเอ็มจีซี เอเชีย ชี้แจงกระแสข่าวเกี่ยวกับคำกล่าวของนายคาร์ลอส ทาวาเรซ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มสเตลแลนทิส ว่ากลุ่มสเตลแลนทิสอาจมีการยกเลิกบางแบรนด์ในเครือฯ ที่ไม่สร้างผลกำไรให้กับองค์กร มีดังนี้

สืบเนื่องจากการที่มีกระแสข่าวทั้งจากต่างประเทศและเมืองไทยที่มีการอ้างถึงคำกล่าว ของมร.คาร์ลอสทาวาเรซประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มสเตลแลนทิสว่าทางกลุ่มอาจมีการยกเลิกบางแบรนด์ในเครือฯ ที่ไม่สร้างผลกำไรให้กับองค์กรส่งผลให้เกิดการคาดเดาไปในหลายทิศทาง และมีการเผยแพร่ว่าหนึ่งในแบรนด์ดังกล่าวคือมาเซราติ ซึ่งไม่เป็นความจริง

ล่าสุดสเตลแลนทิสได้มีการชี้แจงว่า “ทางบริษัทฯไม่มีความตั้งใจที่จะขายแบรนด์มาเซราติ หรือนำไปควบรวมกับแบรนด์ยนตรกรรมหรูอื่นๆ พร้อมเน้นยำว่ามาเซราติเป็นแบรนด์ที่มีอนาคตสดใสและจะยังเป็นหนึ่งใน 14 แบรนด์ที่อยู่ภายใต้กลุ่มสเตลแลนทิสต่อไป

มาเซราติอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสู่ยุคแห่งยนตรกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล้วนอย่างเต็มรูปแบบกับยนตรกรรมสายพันธุ์ Folgore (โฟลกอเร) ปัจจุบัน มาเซราติทำตลาดด้วยรุ่น GranTurismo (กรันทูริสโม) และ GranCabrio (กรันคาบริโอ) ที่มีให้เลือกทั้งเครื่องยนต์สันดาป และไฟฟ้าล้วน ขณะที่ Gracale (เกรคาเล่) ก็มีทั้งขุมพลังสันดาปพร้อมระบบ mildhybrid (ไมลด์ไฮบริด) และเวอร์ชั่นที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าล้วนขนานไปกับการพัฒนาเทคโนโลยีอันล้ำสมัยส่วนรุ่นโฉมใหม่ของ Levante (เลวานเต้) และ Quattroporte (ควอตโตรปอร์เต้) ก็กำลังอยู่ในช่วงของการพัฒนาเช่นกัน

ดังนั้น จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้นและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางจึงไม่สอดคล้องกับแผนการดำเนิน ธุรกิจระยะยาวของมาเซราติภายใต้กลยุทธ์ ‘DareForward2030’ จากทางสเตลแลนทิส มาเซราติมีเป้าหมายในการเป็นผู้สร้างมาตรฐานใหม่ให้กับธุรกิจโมบิลิตี้ในอนาคต เพื่อขยายตลาดให้กว้างขึ้นทั่วโลกควบคู่ไปกับการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีและตอกย้ำการมีผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์ ซึ่งนับเป็นอีกความท้าทายของมาเซราติที่ต้องทุ่มเทในระยะเวลาที่เหลือของปีนี้เพื่อไปให้ถึงเป้าหมายที่กำหนด

สเตลแลนทิส ยืนยันว่าจะยังคงรักษายนตรกรรมทั้ง 14 แบรนด์ไว้ทั้งหมดโดยแต่ละแบรนด์มีเวลา 10 ปี ในการสร้างธุรกิจให้เกิดผลกำไร และดำเนินกิจการได้อย่างยั่งยืนพร้อมตระหนักดีถึงความผันผวนของตลาดรวมไปถึงสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวม

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles