ตลาดหุ้นสหรัฐปิดบวกคนละทิศทาง ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ร่วงกว่า 140 จุด ดัชนีหุ้นนาสแดคปิดขึ้นกว่า 30 จุด

ตลาดหลักทรัพย์ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา รายงานว่า เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2024 (ตามเวลาในสหรัฐ) ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ ปิดที่ระดับ 38,357  จุด -140 จุด หรือ -0.36% ดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดที่ระดับ 5,344 จุด +0.23 จุด หรือ +0.00% และดัชนีหุ้นนาสแดค ปิดที่ 16,780 จุด +35 จุด หรือ +0.21% ในสัปดาห์ผ่านไป ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดลดลง -0.6%, -0.04% และ -0.18% ตามลำดับ

ก่อนหน้านึ้เมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคมผ่านมา ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ และเอสแอนด์พี 500 ทำสถิติดัชนีหุ้นตกต่ำเลวร้ายที่สุดในรอบ 1 ปี 10 เดือน หรือตั้งแต่กันยายน 2022 นอกจากนี้  ดัชนีหุ้นนาสแดคปิดดำดิ่งกว่า 15% จากสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์เมื่อเดือนกรกฎาคมผ่านมา ที่สำคัญ ดัชนีหุ้นนาสแดคเข้าสู่ภาวะปรับฐานเป็นทางการ หรือ Correction

ขณะที่ในเดือนสิงหาคม ซึ่งผ่านมาครบ 3 วันทำการแรก ยังพบว่าดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดร่วงแรง -6.2%, -7.0% และ -8.53% ตามลำดับ ส่งผลในแง่เปอร์เซ็นต์ทำสถิติดัชนีหุ้นดำดิ่ง 3 วันทำการติดต่อกันที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 2 ปี 1 เดือน หรือตั้งแต่มิถุนายนปี 2022 และในแง่จำนวนจุดเลวร้ายที่สุดในรอบกว่า 3 ปี หรือตั้งแต่ปี 2020

สถานการณ์ตลาดหุ้นนิวยอร์ก สหรัฐ เข้าสู่ภาวะขาลงอย่างรุนแรง จากในวันที่ 5 สิงหาคมมานั้น ดัชนีหุ้นนาสแดคกลายเป็นดัชนีหุ้นแรกที่เข้าสู่ภาวะปรับฐานเป็นทางการ หรือ Correction ในขณะที่ดัชนีหุ้นดาวโจนส์ และดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ร่วงลง -6.5% และ -8.7% เทียบจากสถิติดัชนีหุ้นหุ้นดาวโจนส์ และดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ที่สำคัญ ตลาดหุ้นทั่วโลกใน 3 สัปดาห์ผ่านมา เสียหายรวมกันกว่า 6.4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 230.4 ล้านล้านบาท

สาเหตุจากนักลงทุนกลับมาคลายความกังวลและความไม่มั่นใจอีกครั้งกับสภาพเศรษฐกิจสหรัฐ หลังจากตัวเลขชาวอเมริกันขอใช้สิทธิสวัสดิการช่วงว่างงานรายสัปดาห์ลดค่ำลงมากกว่าที่คาดไว้ สะท้อนถึงภาวะการจ้างงานในสหรัฐยังคงสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจสหรัฐ 

(หน้า 2/2) ด้านบรรยกาศการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกกลับฟื้นขึ้นมาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ติดต่อกัน นำโดยเมื่อวันพุธตลาดหุ้นโตเกียว ญี่ปุ่น ปิดขึ้นดีที่สุดในรอบกว่า 10 ปี หลังจากเมื่อวันจันทร์ที่ 5 สิงหาคมผ่านมาทำสถิติเลวร้ายที่สุดในรอบ 37 ปี หรือตั้งแต่วันจันทร์ทมิฬ หรือ Black Friday ในปี 1987

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนเริ่มตั้งคำถามว่า การลดดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐที่หลายคนมั่นใจว่าจะลดครั้งแรกในเดือนกันยายนนี้ เป็นการลดดอกเบี้ยที่ช้าเกินไปหรือไม่ ท่ามกลางสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังไม่แน่นอน นักลงทุนรอการประกาศตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนกรกฏาคมของสหรัฐในคืนวันนี้

ด้านตัวชี้วัดโอกาสปรับอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของเฟดที่เรียกว่า เฟดวอช์ท พบว่า โอกาสปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงในเดือนกันยายนถึง 0.5% อยู่ที่ 86% จากเดิมที่ 88% และลดดอกเบี้ยดังกล่าวลง 0.25% มีโอกาสอยู่ที่ 14% ขณะที่ โอกาสปรับลดดอกเบี้ยระยะสั้นลงในธันวาคมอยู่ที่ 72% เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ระดับ 50%

สิ้นสุดเดือนมิถุนายน ปรากฎว่าดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดเพิ่มขึ้น +1.1%, +3.5% และ +6% ตามลำดับ ส่งผลให้ทั้ง 3 ดัชนีหุ้นปิดรายเดือนเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันจากทั้งหมดใน 8 เดือนผ่านมา อย่างไรก็ตามในไตรมาส 2 พบว่า ทั้ง 3 ดัชนีหุ้นปิดสวนทางกัน -1.7%, +3.9% และ +8.3% ตามลำดับ นอกจากนี้ สิ้นสุดครึ่งปีแรก หรือนับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงปัจจุบัน พบว่า ดัชนีสำคัญดังกล่าวปิดเพิ่มขึ้น +3.8%, +14.5% และ +18.1% ตามลำดับ 

ทั้งนี้ ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ทำสถิติทั้งในรายไตรมาส และรายเดือนที่ดีที่สุดในรอบเกือบ 5 ปี หรือตั้งแต่ปี 2019 โดยในรายไตรมาสนั้น ดัชนีหุ้นสำคัญทั้ง 3 แห่ง ปิดเพิ่มขึ้น +7.4%, +10.2% และ +9.1% ตามลำดับ ส่งผลดัชนีหุ้นเอสแอนด์พี 500 ปิดไตรมาสที่ 1 ปีนี้ดีที่สุดในรอบ 5 ปี หรือตั้งแต่ปี 2019 และดัชนีหุ้นดาวโจนส์ปิดไตรมาสที่ 1 ปีนี้ดีที่สุดในรอบ 3 ปี หรือตั้งแต่ปี 2021 สอดรับกับรายเดือน ปิดเพิ่มขึ้น +2.1%, +3.1% และ +1.8% ตามลำดับ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles