ทองคำไทยจบ 4 เดือนแรกยังแกร่งจัดผลตอบแทนพุ่งเกิน 20% พุ่งกว่า 12% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

ทองคำ ไทยจบ 4 เดือนแรกยังแกร่งจัดผลตอบแทนพุ่งเกิน 20% พุ่งกว่า 12% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน

ตลาดทองคำในประเทศไทยสิ้นสุดเดือนเมษายน 2567 ซึ่งเป็นเดือนที่มีความผันผวนมากที่สุดเดือนหนึ่งนับตั้งแต่ต้นปีนี้ พบว่า ในเดือนเมษายน ราคาทองคำปิดวันสุดท้ายของเดือนในวันที่ 30 เมษายน พบว่ามีราคาร่วงลง -1,100 บาท หรือ -2.6% เทียบจากวันที่ 20 เมษายน ซึ่งเป็นวันที่สถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 42,200 และ 41,700 สำหรับทองรูปพรรณและทองแท่งตามลำดับ

ในขณะที่ 4 เดือนแรกของปีนี้ พบว่าราคาทองคำปรับทะยานขึ้น +6,950 บาท หรือพุ่งขึ้น +20.35% ประกอบด้วยเดือนเมษายนสุทธิเพิ่มขึ้น +2,050 บาท หรือ +5.25% เดือนมีนาคมสุทธิเพิ่มขึ้น +3,950 บาท หรือ +11.25% เดือนกุมภาพันธ์ สุทธิเพิ่มขึ้น +400 บาท หรือ +1.15% และเดือนมกราคม สุทธิเพิ่มขึ้น +550 บาท หรือ +1.65%

นอกจากนี้ ผลตอบแทนจากการลงทุนใน 4 เดือนแรกของปีนี้ เทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2567 พบว่า ราคาทองคำในไทยพุ่งขึ้น +12.61% โดยราคาทองคำในเดือนมกราคมถึงเมษายนปี 2566 ปรับทะยานขึ้น +2,350 บาท หรือ +7.74%

ราคาทองคำสุทธิที่เพิ่มขึ้นในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งลดลงจากราคาทองคำสุทธิที่เพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคมปีนี้ถึง 1,900 บาท หรือลดลง 6% เป็นผลมาจากราคาทองคำในตลาดโลกปรับลดลงหลังตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2024 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่มีสถิติราคาทองคำตลาดโลกปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ที่ระดับ 2,431.29 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ สาเหตุจากสถานการณ์การตอบโต้ของอิหร่านไปยังอิสราเอลไม่มีเกิดขึ้น และอยู่ในวงจำกัด นอกจากนี้ นับจากช่วงนั้นเป็นต้นมา การเจรจาหยุดยิงของคู่ขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสอยู่ในการพูดคุยมาตลอดเวลา ทำให้ความตึงเครียดในตะวันออกกลางลงลงต่อเนื่อง ส่งผลให้นักลงทุนลดน้ำหนักปัจจัยความรุนแรงในตะวันออกกลางลงเป็นต้นมา และหันไปให้น้ำหนักปัจจัยการลดดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารกลางสหรัฐในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)

เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 9 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) วันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050) วันที่ 4 (แท่ง 39,850 รูปพรรณ 40,350) วันที่ 6 (แท่ง 40,250 รูปพรรณ 40,750) วันที่ 8 (แท่ง 40,650 รูปพรรณ 41,150) วันที่ 12 (แท่ง 41,350 รูปพรรณ 41,850) วันที่ 17 (แท่ง 41,650 รูปพรรณ 42,150) และวันที่ 20 (แท่ง 41,700 รูปพรรณ 42,200) หน่วย: บาท/บาททองคำ

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles