ทองคำไทยเปิดขึ้นสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ รูปพรรณทะลุ 40,850 ทองคำแท่งขึ้นถึง 40,350

ทองคำ ไทยเปิดขึ้นสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ รูปพรรณทะลุ 40,850 ทองคำแท่งขึ้นถึง 40,350

สมาคมค้าทองคำประกาศราคาขายทองคำในประเทศไทย วันนี้ 8 เมษายน 2567 ครั้งที่ 1 เมื่อเวลา 9.10 น. +100 บาท ทำให้ราคาทองคำแท่งรับซื้อ 40,250 บาท ราคาขายออก 40,350 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 39,522.12 บาท ราคาขายออก 40,850 บาท ส่งผลทำสถิติราคาทองคำสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ในรอบที่ 24 ตั้งแต่ต้นปีนี้ ทำสถิติราคาสูงสุดระหว่างเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ นับตั้งแต่ต้นปีนี้มาถึงวันที่ 8 เมษายน 2567 ราคทองคำในไทยทะยานขึ้น +6,700 บาท/บาททองคำ หรือทะยานขึ้น +19.32%

ด้านราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ที่สิงคโปร์ เปิดที่ 2,325 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ส่วนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐในตลาดต่างประเทศอยู่ที่ระดับ 36.67 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ขณะที่เมื่อวันศุกรที่ 5 เมษายน 2024 ตลาดซื้อขายทองคำโลก นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา รายงานว่า ราคาทองคำส่งมอบทันที หรือ Gold Spot ปิดที่ 2,323.23 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +31.35 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.5% ส่งผลทำสถิติปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ขณะที่ราคาสูงสุดระหว่างวันพุ่งขึ้นแตะระดับ 2,330.06 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ ทำสถิติสูงสุดระหว่างวันเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่

ขณะที่ราคาทองคำล่วงหน้า หรือ Gold Future นิวยอร์ก สหรัฐ ปิดที่ระดับ 2,342.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ +31.70 ดอลลาร์สหรัฐ/ออนซ์ หรือ +1.5% ส่งผลทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งใหม่ ตั้งแต่ต้นปีนี้ราคาทองคำตลาดโลกพุ่งขึ้นกว่า 12% ในสัปดาห์นี้ ราคาทองคำต่างประเทศปิดเพิ่มสูงขึ้นถึง+4% และยังเป็นราคาทองคำรายสัปดาห์ที่ปิดขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 3 ต่อเนื่อง

ขณะที่เมื่อเย็นวานนี้ 5 เมษายน 2567 ราคาทองคำในไทยสุทธิปิดลดลง -50 บาท หยุดทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในช่วง 5 วันผ่านมา ส่งผลราคาทองคำแท่งรับซื้อ 39,700 บาท ราคาขายออก 39,800 บาท ด้านทองรูปพรรณรับซื้อ 38,991.52 บาท ราคาขายออก 40,300 บาท

สำหรับสถิติราคาทองคำในไทยสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ในเดือนมีนาคม 2567 พบว่า ในสัปดาห์ที่ 1 ของมีนาคม ซึ่งนับตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม ปรากฏว่า ราคาทองคำในไทยทำสถิติราคาปิดเป็นประวัติศาสตร์ถึง 4 ครั้ง ได้แก่ วันที่ 4 (แท่ง 35,200 รูปพรรณ 35,800), 5 (แท่ง 35,900 รูปพรรณ 36,500), 7 (แท่ง 36,250 รูปพรรณ 36,850) และ 9 มีนาคม (แท่ง 36,400 รูปพรรณ 37,000) มาถึงสัปดาห์ที่ 2 ของมีนาคม ทำสถิติ 4 ครั้ง เริ่มจากวันที่ 11 (แท่ง 36,550 รูปพรรณ 37,050) วันที่ 12 (แท่ง 36,650 รูปพรรณ 37,150) วันที่ 14 (แท่ง 36,700 รูปพรรณ 37,200) วันที่ 15 (แท่ง 36,750 รูปพรรณ 37,250) และมาถึงสัปดาห์ที่ 3 ทำสถิติ 2 ครั้ง วันที่ 20 (แท่ง 36,850 รูปพรรณ 37,350) วันที่ 21 (แท่ง 37,650 รูปพรรณ 38,150) และในสัปดาห์สุดท้ายของมีนาคม วันที่ 27 (แท่ง 37,700 รูปพรรณ 38,200) วันที่ 28 (แท่ง 37,950 รูปพรรณ 38,450) วันที่ 29 (แท่ง 38,550 รูปพรรณ 39,050)

เดือนเมษายน 2567 ทำสถิติราคาปิดสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ 6 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 1 (แท่ง 38,900 รูปพรรณ 39,400) วันที่ 2 (แท่ง 39,250 รูปพรรณ 39,750) วันที่ 3 (แท่ง 39,550 รูปพรรณ 40,050) วันที่ 4 (แท่ง 39,850 รูปพรรณ 40,350) และวันที่ 6 (แท่ง 40,250 รูปพรรณ 40,750)

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles