ทูตจีนในไทยยันจีนร่วมมือรัฐบาลไทยสอบสวนสาเหตุตึกสตง.พังถล่ม เสียใจและแสดงความไว้อาลัยกับผู้เสียชีวิต

ทูตจีนในไทยยันจีนร่วมมือรัฐบาลไทยสอบสวนสาเหตุ ตึก สตง. พัง ถล่ม เสียใจและแสดงความไว้อาลัยกับผู้เสียชีวิต

วันนี้ 30 มีนาคม 2025 นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “ในนามของรัฐบาลจีน ขอแสดงความเสียใจและแสดงความไว้อาลัยกับผู้เสียชีวิต โดยสาเหตุอาคารถล่ม ทางการจีนจะร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการสืบสวนหาสาเหตุอย่างเต็มที่ เพราะมีบริษัทของจีนร่วมในการก่อสร้างด้วย”

ฐานข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจ กระทรวงพาณิชย์ พบว่า สำหรับบริษัทดังกล่าว คือ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด จัดตั้งบริษัทขึ้นในประเทศไทยเมื่อ 10 สิงหาคม2561 ด้วยทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท ระบุวัตถุประสงค์การทำธุรกิจการก่อสร้างอาคารที่ไม่ใช่ที่พักอาศัย บริษัทแห่งนี้บริษัทร่วมทุนไทย-จีน ในโครงสร้างการถือหุ้น 49 ต่อ 51 ส่วนของผู้ถือหุ้น มีดังนี้ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป คัมปะนี (รัฐวิสาหกิจจีน) ถือหุ้น 49% นายโสภณ มีชัย 40.80% นายประจวบ ศิริเขต 10.2% และนายมานัส ศรีอนันท์ 1 หุ้น

สำหรับกรรมการในบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด มีกรรมการ 2 คน คือ นายชวนหลิง จางและ นายโสภณ มีชัย ด้านงบการเงินของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ย้อนหลังกลับไป 5 ปี (2562-2566) มีดังนี้ ปี 66: รายได้รวม 206.2 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 199.6 ล้านบาท ปี 65: รายได้รวม 438.7 ล้านบาท กำไรสุทธิ 23.5 ล้านบาท ปี 64: รายได้รวม 163.7 ล้านบาท กำไรสุทธิ 17.5 ล้านบาท ปี 63: รายได้รวม 43.9 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 23.7 ล้านบาท และปี 62: รายได้รวม 1.2 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 25.8 ล้านบาท

ข้อมูลในสื่อโซเชียลมีเดียหลายสื่อในไทย รวมทั้งในประเทศจีน ได้เปิดเผยชื่อรัฐวิสาหกิจธุรกิจการก่อสร้างสัญชาติจีน ชื่อว่า ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เท็น เอ็นจิเนียริง กรุ๊ป (China Railway No.10 Engineering Group) เป็นผู้ร่วมการก่อสร้างโครงการตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน หรือสตง. ในกรุงเทพ โดยมีการวิจารณ์อย่างมากมายในประเด็นสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานงานก่อสร้าง และความโปร่งใสของโครงการตึกดังกล่าวที่ใช้งบประมาณมากมายกว่า 2,100 ล้านบาท

สื่อในฮ่องกง รายงานนำเสนอรายละเอียดว่า ตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินที่กำลังก่อสร้าง และพังถล่มลงมากลายเป็นซากตึกทั้งหมด ถูกออกแบบเป็นอาคารสูง 30 ชั้น ด้วยมูลค่างานก่อสร้าง 2,136 ล้านบาท ตึกสตง.เริ่มก่อสร้างเมื่อปี 2020 หรือเมื่อ 5 ปีผ่านมาในบริเวณย่านจตุจักร กรุงเทพมหานคร สำหรับบริษัทผู้รับผิดชอบการก่อสร้าง ได้แก่ บริษัทร่วมทุน บริษัทอิตาเลียน-ไทย ดีเวปลอปเมนท์ หรือ ITD กับรัฐวิสาหกิจจีน ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป (China Railway No.10 Engineering Group) หรือซีอาร์อีซี

ก่อนหน้าที่จะเกิดเหตุการณ์ตึกสตง.พังถล่มเป็นซากปูนทั้งหมดนั้น บริษัทซีอาร์อีซีดังกล่าวโพสต์รูปภาพการก่อสร้างตึกสตง.ในเว็บไซต์ของซีอาร์อีซี เพื่อแสดงการประชาสัมพันธ์โครงการก่อสร้างตึกสตง.ในกรุงเทพมหานคร ว่า อาคารนี้เป็นนามบัตรใบแรกของบริษัทฯ ซีอาร์อีซีในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังเป็นสื่อสารให้เห็นถึงการแสดงศักยภาพวิศวกรรมการก่อสร้างของจีนในตลาดต่างประเทศ ในรูปภาพที่ก่อนหน้านี้ปรากฏในเว็บไซต์ของบริษัทซีอีอารซี พบว่ามีอยู่ 1 รูปที่ถ่ายภาพพร้อมแผ่นผ้าสีแดงยาวพร้อมตัวอักษรจีนกลางหมายถึงการแสดงความยินดีที่ตึกสตง. ได้ก่อสร้างถึงชั้นสูงสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน 2567

ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร วันนี้ 30 มีนาคม 2025 ลงพื้นที่การกู้ภัยเหตุอาคารถล่มในพื้นที่เขตจตุจักร และกล่าวว่าเข้าสู่วันที่ 2 ของการค้นหาผู้รอดชีวิต ในเวลา 13.30 วันนี้จะครบ 48 ชั่วโมง แต่เฝ้าระวังไว้ 72 ชั่วโมง ดังนั้นต้องลุยต่อ ต้องทําให้เต็มที่ก่อน เมื่อคืนก็พบร่างผู้เสียชีวิตเพิ่ม แต่ตอนนี้ต้องหยุดใช้เครื่องมือหนักก่อน แล้วใช้วิธีมุดเข้าไปด้านในเพื่อเข้าไปช่วยเหลือ กระบวนการกู้ชีพยังดําเนินการต่อ ด้วยความหวังว่าจะมีผู้รอดชีวิต ก็ส่งกําลังใจให้ทีมงาน ให้คนที่รอดชีวิต ขอให้อดทนอีกนิด

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles