ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจไทยโตต่ำ 2% ติดกันถึง 2 ปี ปี 68 จ่อโตแค่ 1.8% วูบหายถึง 0.7% จากปี 67 แถมโตต่ำสุดใน 4 ปีผ่านมา หนี้ครัวเรือนไทยสูงสุดในอาเซียน เอกชนเบรกลงทุน 4 ไตรมาสติด ท่องเที่ยวฟื้นตัวช้าอีกยันช้าสุดในภูมิภาค ทัวร์จีนหดหายหนัก

ธนาคารโลก คาด เศรษฐกิจไทย โตต่ำ 2% ติดกันถึง 2 ปี ปี 68 จ่อโตแค่ 1.8% วูบหายถึง 0.7% จากปี 67 แถมโตต่ำสุดใน 4 ปีผ่านมา หนี้ครัวเรือนไทยสูงสุดในอาเซียน เอกชนเบรกลงทุน 4 ไตรมาสติด ท่องเที่ยวฟื้นตัวช้าอีกยันช้าสุดในภูมิภาค ทัวร์จีนหดหายหนัก

ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจไทยฉบับเดือนกรกฎาคม 2025 หรือ Thailand Economic Monitor ธนาคารโลกคาดว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะมีตัวเลขจีดีพีเติบโตที่ 1.8% และ 1.7% ในปี 2026 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะขยายตัวลดลงอย่างมากถึง 0.7% เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจไทยในปี 2024 ที่เติบโตถึง 2.5% ที่สำคัญการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2025 จะเติบโตแต่น้อยที่สุดใน 4 ปีที่ผ่านมาหรือนับตั้งแต่ปี 2022 ซึ่งมีการขยายตัวที่ 2.6%

สาเหตุจากความผันผวนของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ การบริโภคที่ชะลอลง และการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่ยังไม่เต็มที่ อย่างไรก็ดี หากความเชื่อมั่นของนักลงทุนฟื้นตัว และความไม่แน่นอนด้านนโยบายการค้าลดลง เศรษฐกิจไทยปี 2025 มีศักยภาพที่จะเติบโตที่ 2.2%

ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจประเทศไทยจะขยายตัวที่ระดับ 3.1% ในไตรมาสที่ 1 ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งรีบนำเข้าสินค้าท่ามกลางความไม่แน่นอนของอัตราภาษีสหรัฐอเมริกา และการใช้จ่ายงบประมาณ 2568 ของรัฐบาลในปัจจุบัน แต่ภาคการท่องเที่ยวลดต่ำลงรวมถึงปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจภายในประเทศชะลอตัวลง ท่ามกลางการกระตุ้นเศรษฐกิจของนโยบายแจกเงินสดให้ครัวเรือนไทยผ่านโครงการเงินดิจิตอลของรัฐบาล แต่การบริโภคภาคเอกชนชะลอตัวลงที่ 2.6%

สาเหตุจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคตกต่ำ ภาระหนี้ครัวเรือนถึงแม้ว่าจะลดลงมาอยู่ที่ 87.9% ของจีดีพีไทย แต่ยังคงเป็นประเทศเดียวที่มีภาวะหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน ทำให้ยังคงเป็นกับดักทั้งในการบริโภค และการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย นอกจากนี้สัดส่วนของหนี้ โดยเฉพาะสัดส่วนหนี้นอกระบบในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับสูง ซึ่งยังเป็นความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สภาวะการปล่อยสินเชื่อตึงตัว การลงทุนภาคเอกชนทรุดตัวลงโดย -0.9% ที่สำคัญการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัวถึง 4 ไตรมาสติดต่อกัน

การฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวของไทยปรากฏว่า ยังคงหดตัวยังมากโดย -24% ซึ่งเป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนที่เดินทางเข้าประเทศไทยลดลงอย่างมาก ทำสถิติต่ำกว่าช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในไทย ดังนั้น การฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยยังคงล่าช้าต่อไป เมื่อเทียบกับการฟื้นตัวภาคการท่องเที่ยวของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเดียวกัน ขณะที่ภาคการผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวปานกลาง ที่ 0.6% อย่างไรก็ตามการลงทุนจากภาครัฐบาลขยายตัวสูงถึง 26.3% ซึ่งเป็นผลมาจากความล่าช้าในการพิจารณาอนุมัติงบประมาณรัฐบาลไทยปี 2568

ทั้งนี้ ดร.เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ของธนาคารโลก กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยมีปัญหาเชิงโครงสร้างจำนวนมาก เช่น ปัญหาด้านเทคโนโลยี สังคมสูงวัย มาตรการการคลังลดน้อยลง ทำให้ศักยภาพการเติบโต หรือตัวเลขจีดีพีไทยหดตัวลงตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ระดับ 2.6-2.7% เมื่อเปรียบเทียบกับที่ไทยเคยขยายตัวได้ที่ 3% ในอดีต

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles