ธนาคารโลกชี้ชาติกำลังพัฒนาเผชิญปัญหาจ่ายหนี้คืนพุ่งสูง การค้าโลกหดตัวแรงเหลือ 1.5% จากเดิม 8% เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว เงินลงทุนพ่วงลงทุนทางตรงต่างชาติวูบหนัก 80% ในประเทศเกิดใหม่ ผลพวงสึนามิภาษีสหรัฐ แนะรีบเจรจาสหรัฐด่วนที่สุด

ธนาคารโลก ชี้ชาติกำลังพัฒนาเผชิญปัญหาจ่ายหนี้คืนพุ่งสูง การค้าโลกหดตัวแรงเหลือ 1.5% จากเดิม 8% เมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว เงินลงทุนพ่วงลงทุนทางตรงต่างชาติวูบหนัก 80% ในประเทศเกิดใหม่ ผลพวงสึนามิ ภาษี สหรัฐ แนะรีบเจรจาสหรัฐด่วนที่สุด

อินเดอร์มิท จิลล์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลก เปิดเผยว่า ผลสำรวจส่วนใหญ่จากบรรดานักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกชี้ให้เห็นว่าถึงการปรับลดตัวเลขคาดการณ์สำหรับการค้าและและเติบโตที่มากระดับหนึ่ง ดัชนีความไม่แน่นอน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าในช่วง 10 ปีผ่านมา ปรากฏว่าพุ่งทะยานขึ้นหลังจากประธานาธิบดีสหรัฐ นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศมาตรการภาษีต่างตอบแทน หรือ Reciprocal Tariffs ในวันที่ 2 เมษายนผ่านมา ได้ทำให้เกิดปรากฏการณ์สึนามิภาษีกระจายครอบคลุมกับ 185 ประเทศทั่วโลก

เมื่อปรากฏการณ์สึนามีภาษีไปเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ช็อคในช่วงหลายปีผ่านมา ซึ่งรวมถึงวิกฤตเศรษฐกิจสถาบันนการเงินโลกปี 2008 และวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 ในปี 2020 จะเห็นว่าภาวะช็อคในขณะนี้เป็นผลพวงจากการใช้นโยบายของรัฐบาล ซึ่งหมายถึงภาวะดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงกลับไปในทางตรงข้าม วิกฤตในปัจจุบันอาจกดดันเศรษฐกิจในประเทศเกิดใหม่ต้องตกต่ำไปกว่านี้ หลังจากที่ชะลอตัวต่อเนื่องจากระดับ 6% ในช่วง 20 ปีผ่านมา ด้วยภาวะการค้าโลกถูกปรับตัวเลขคาดการณ์ลงมาขยายตัวเพียง 1.5% ซึ่งตกต่ำลงมากจากระดับ 8% ที่เห็นในช่วงยุคทศวรรษ 2000

ดังนั้น นี่จึงเป็นภาวะชะลอตัวอย่างทันทีบนสถานการณ์เศรษฐกิจซึ่งไม่ดีอยู่แล้ว การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนเข้าสู่ประเทศในตลาดเกิดใหม่ และการลงทุนทางตรง หรือเอฟดีไอล้วนกำลังลดลงอย่างมากไม่ต่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วงวิกฤตเริ่มต้นแรกๆ เห็นได้จากในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจดี ตัวเลขการลงทุนทางตรง หรือเอฟดีไอ คิดเป็น 5% ในกลุ่มประเทศเกิดใหม่ แต่ปัจจุบันตัวเลขเอฟดีไอมีเพียง 1% หรือดำดิ่งหนักมากถึง -80% เช่นเดียวกันกับการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนเข้าสู่ประเทศในตลาดเกิดใหม่ และการลงทุนทางตรง หรือเอฟดีไอในภาพรวมล้วนตกต่ำลง

หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลกืเปิดเผยต่อไปว่า ภาระหนี้ที่สูงในปัจจุบันหมายถึงครึ่งหนึ่งของบางประเทศใน 150 ประเทศกำลังพัฒนา และในตลาดเกิดใหม่ตกอยู่ในภาวะไม่สามารถจ่ายหนี้คืนได้ หรือตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะสามารถไปถึงการจ่ายหนี้คืนได้ ส่งผลให้อัตราดังกล่าวเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าเมื่อเทียบจากในปี 2024 และอาจพุ่งขึ้นมากกว่านี้ หากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากขึ้น

เมื่อใดก็ตามที่เศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง การค้าโลกลดลง หลายประเทศและอัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น จะได้เห็นประเทศเหล่านี้ตกอยู่ในภาวะไม่สามารถจ่ายคืนหนี้ได้ รวมถึงบางประเทศที่เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์ด้วย ที่สำคัญ การจ่ายคืนหนี้สุทธิเมื่อเทียบกับจีดีพีประเทศ หรือการใช้จ่ายมากเท่าไหร่ของประเทศหนึ่งๆ เพื่อต้องจ่ายหนี้คืนให้เจ้าหนี้นั้น ปัจจุบันอัตราดังกล่าวอยู่สูงที่ระดับ 12%

สำหรับประเทศในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ ซึ่งเพิ่มสูงมากจากระดับ 7% ในปี 2014 หรือเมื่อ 11 ปีผ่านมา ดังนั้นตัวเลขที่ 12% ดังกล่าวเป็นตัวเลขที่ไม่เคยเห็นมาก่อนในยุคทศวรรษ 1990 สำหรับประเทศที่ยากจน ตัวเลขนี้จะเพิ่มไปอยู่ในระดับสูงถึงระดับ 20% ของจีดีพีในปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับใน 10 ปีผ่านมา สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ประเทศตัดลดรายจ่ายด้านงบประมาณ เช่น การศึกษา สาธารณสุข และโครงการอื่นๆ ที่จะเพิ่มการพัฒนา

ทั้งนี้ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารโลก แนะนำว่าประเทศกำลังพัฒนาจะต้องรีบเจรจากับสหรัฐอเมริกาอย่างรวดเร็ว และอย่างด่วนมาก โดยปรับลดอัตราภาษีศุลกากรของตัวเอง และต่อรองให้สหรัฐอเมริกาลดอัตราภาษีศุลกากรเช่นกัน และขยายอัตราการปรับลดภาษีศุลกากรให้กับประเทศอื่นๆ ด้วย

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles