นายกฯ ภูฏานยอมรับเป็นประเทศอนุรักษนิยมมากเกินไป ล้มเหลวในทางเศรษฐกิจแต่สำเร็จในทางสังคม

นายกฯ ภูฏาน ยอมรับเป็นประเทศอนุรักษนิยมมากเกินไป ล้มเหลวในทาง เศรษฐกิจ แต่สำเร็จในทางสังคม

นายเชอริง ต๊อบเกย์ นายกรัฐมนตรีภูฏาน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวซีเอ็นบีซี ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ด้านเศรษฐกิจชื่อดังระดับโลก กับคำถามที่ว่า คนวัยหนุ่มสาวในประเทศภูฏานตกงานพุ่งสูงถึง 30% และ 1 ใน 8 หรือ 12.5% ของประชาชนในประเทศภูฏานถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มยากจนข้นแค้น ใช่ หรือ ไม่ ที่ประเทศภูฏานมาถึงจุดของแนวคิดที่ว่ามุ่งแสวงหาความสุขแห่งชาติต้องเปลี่ยนแปลง?

นายกรัฐมนตรีภูฏานตอบว่า ใช่ และ ไม่ ที่ตอบว่า ใช่ เพราะต้องทำให้เศรษฐกิจประเทศเติบโต แต่หลักการของความสุขมวลรวมภายในประเทศ หรือ Gross National Happiness: GNH ของประเทศภูฏานจะไม่ถูกทอดทิ้ง ประเทศภูฏานไม่ต้องไปสนใจอะไรทั้งสิ้นหรือไม่? คำคอบ คือ ไม่ ภูฏานสามารถเติบโตได้ และเติบโตได้อย่างยั่งยืน

นายเชอริง ต๊อบเกย์ นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวต่อไปว่า ภูฏานเตรียมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจด้วยการเน้นยั่งยืน ยุติธรรม และมีความสมดุลคู่กับความก้าวหน้าทางสังคม การปกป้องสิ่งแวดล้อม ปกป้องวัฒนธรรม และธรรมาภิบาลที่ดี ภูฏานประสบความสำเร็จมาแล้ว เกินกว่าที่ใครๆจะจินตนาการได้ แต่นายกรัฐมนตรีภูฏานกลับส่งสัญญาณว่า นโยบายดังกล่าวที่ใช้ในอดีตอาจให้ผลดีเพียงด้านเดียวมากเกินไป

ภูฐานมีความระมัดระวังมากสุดๆ เป็นประเทศหัวอนุรักษ์นิยมมากเกินไป เลยทำให้ประเทศล้าหลัง หากมองในด้านเดียว ภูฏานไม่ได้ล้มเหลวจริงๆ โดยเฉพาะเมื่อถูกมองจากด้านความสำเร็จของความก้าวหน้าในสังคม แต่ประเทศภูฏานล้มเหลวในทางเศรษฐกิจ

ภูฏานยกการ์ดที่จะป้องกันการเปิดรับภาคการท่องเที่ยว ซึ่งไม่แตกต่างจากการระมัดระวังในด้านอื่นๆ ภูฏานจะเปิดประเทศรับผู้คนจากทั่วโลกยังไงตราบเท่าที่ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ ภูฏานอยู่กับความเป็นหัวอนุรักษ์นิยมมามาก มีความระมัดระวังมากๆ หากภูฏานเกิดผิดพลาดไป นั่นก็เป็นเพราะประเทศอยู่ในแนวคิดของความยั่งยืน และความอนุรักษนิยม ประเทศภูฏานกำลังจ่ายต้นทุนกับความระมัดระวังในรูปแบบนี้

เมื่อมองเข้าไปในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประเทศภูฏาน จะพบว่าฟื้นตัวอย่างเชื่องช้ามากกว่าประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ในปี 2023 ชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศภูฏานแค่ 1 ใน 3 หรือ 33% ของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2019 หรือช่วงก่อนเกิดวิกฤตการณ์โรคโควิด-19

รัฐบาลประเทศภูฏานประกาศปรับเปลี่ยนค่าธรรมเนียมพัฒนาความยั่งยืนมา 3 ครั้ง เริ่มจากการเริ่มเปิดประเทศในเดือน ก.ย. 2022 ด้วยการเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมสูงถึง 200 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 7,400 บาทต่อผู้ใหญ่ 1 คนต่อวัน ถัดมาก็ปรับลดราคาลงอีก 2 ครั้ง ทำให้ค่าธรรมเนียมดังกล่าวลดเหลือ 100 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 3,700 บาทต่อคนต่อวัน

นายเชอริง ต๊อบเกย์ นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวว่า แม้การท่องเที่ยวแบบมีจำนวนนักท่องเที่ยวมาเป็นจำนวนมาก จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองมาให้เศรษฐกิจ แต่ประเทศภูฏานยังคงไม่เลิกนโยบายการท่องเที่ยวแบบสร้างมูลค่าสูงแต่ปริมาณต่ำ หรือ High value, Low volume อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภูฏานกำลังเติบโต เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างงานให้คนหนุ่มสาวภูฏานที่มีความสามารถ

สำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผยว่า แรงงานวัยหนุ่มสาวภูฏานจำนวนมากกว่าหลายพันคน ได้ออกจากประเทศภูฏาน เพื่อไปแสวงหาโอกาสหางานทำในต่างประเทศ ในช่วง 11 เดือนมาก่อนถึงเดือน พ.ค. 2023 นั้น พบว่าประชากรชาวภูฏาน 1.5% ย้ายประเทศออกไปอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เพื่อหางานและเพิ่มทักษะต่างๆ ให้กับตัวเอง

นายกรัฐมนตรีภูฏาน กล่าวทิ้งท้ายว่า ลูกหลานของเรา จะยังคงอยู่ที่นี่ ส่วนชาวภูฏานที่ออกไปอยู่ต่างประเทศ ชาวภูฏานที่มีประสบการณ์อันล้ำค่า อาจจะกลับมาที่บ้านแห่งนี้

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles