นิสสันเลิกเจรจาควบรวมกิจการกับฮอนด้า ถอนบันทึกข้อตกลงความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ต้องการเป็นบริษัทในเครือของฮอนด้า ติดปัญหาตีมูลค่าบริษัทใหม่ เตรียมชี้แจงรายละเอียดเร็วๆนี้ ปิดฉากดีลในฝันขึ้นยักษ์ผลิตรถอันดับ 3 ของโลก รวมยอดขาย 2 แบรนด์กว่า 6 ล้านล้านบาท

นิสสัน เลิกเจรจาควบรวมกิจการกับฮอนด้า ถอนบันทึกข้อตกลงความเข้าใจทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ต้องการเป็นบริษัทในเครือของ ฮอนด้า ติดปัญหาตีมูลค่าบริษัทใหม่ เตรียมชี้แจงรายละเอียดเร็วๆนี้ ปิดฉากดีลในฝันขึ้นยักษ์ผลิตรถอันดับ 3 ของโลก รวมยอดขาย 2 แบรนด์กว่า 6 ล้านล้านบาท

นิสสัน มอเตอร์ ค่ายผลิตรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 3 ในประเทศญี่ปุ่น เปิดเผยว่าได้ยกเลิกการเจรจาการควบรวมกับบริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ซึ่งเป็นแบรนด์ผลิตรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 ในประเทศญี่ปุ่น ขณะที่สาเหตุของการยุตติการเจรจาควบรวมของทั้งสองแบรนด์ยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมรถยนต์ของญี่ปุ่นในครั้งนี้แหล่งข่าวระดับสูง 2 ราย ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเจรจาดังกล่าวเปิดเผยว่าทั้งสองฝ่ายมีปัญหาในความซับซ้อนในการเจรจาเนื่องจากความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดและสิ้นเชิง

นิสสัน มอเตอร์ ตัดสินใจถอนบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ หรือเอ็มโอยู ซึ่งมีการลงนามระบุรายละเอียดเกี่ยวกับขั้นตอนและกรอบเวลาของการเจรจาควบรวมที่ได้ลงนามกันระหว่างฮอนด้า มอเตอร์และนิสสัน มอเตอร์ ในงานแถลงข่าวขิงทั้ง 2 ค่ายเมื่อสัปดาห์สุดท้ายในเดือนธันวาคมปีที่ผ่านมา

สาเหตุสำคัญในการถอนบันทึกเอ็มโอยูดังกล่าวมีสาเหตุมาจากทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้ และไม่มีข้อยุติในการตีค่าประเมินมูลค่าของแต่ละฝ่ายภายใต้โครงสร้างของบริษัทโฮลดิ้งส์ที่จะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยมีทั้ง 2 ฝ่ายเข้าถือหุ้น และฝ่ายฮอนด้าเป็นฝ่ายถือหุ้นในสัดส่วนมากกว่า นอกจากนี้นิสสัน มอเตอร์ ปฏิเสธการเปลี่ยนสถานะไปเป็นบริษัทในเครือของโครงสร้างบริษัทโฮลดิ้งส์ใหม่ด้วย

ในขณะเดียวกัน คณะกรรมการของนิสสัน มอเตอร์ จะมีการจัดประชุมเร็วๆนี้ เกี่ยวกับการยกเลิกการเจรจาควบรวมกับฮอนด้า มอเตอร์ หลังจากเมื่อวานนี้สำนักข่าวเกียวโดของประเทศญี่ปุ่นได้รายงานว่าฮอนด้า มอเตอร์ส่งสัญญาณว่านิสสัน มอเตอร์ จะกลายเป็นบริษัทในเครือของฮอนด้า มอเตอร์ หนึ่งในแหล่งข่าวระดับสูงของทีมเจรจา เปิดเผยว่าข่าวดังกล่าวเปรียบเสมือนกับการกระตุกความตั้งใจโดยการใช้วิธีการเจรจา ซึ่งตั้งอยู่บนหลักการของการควบรวมที่นำไปสู่ความเสมอภาคกัน

นายคริสโตเฟอร์ ริชเทอร์ นักวิเคราะห์อาวุโส กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์จากสถาบันการเงินซีแอลเอสเอ (CLSA) เปิดเผยว่ารายงานข่าวดังกล่าวชี้ให้เห็นค่ารถยนต์นิสสันไม่ต้องการที่จะเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทในเครือของฮอนด้า มอเตอร์ ซึ่งทำให้กลายเป็นประเด็นเกี่ยวกับเรื่องของการควบคุมที่ถกเถียงอย่างมาก เมื่อไม่มีอำนาจในการควบคุมบริหารจัดการ สิ่งนี้ทำให้ฮอนด้ากำลังเดินจากไปจากดิวการเจรจาดังกล่าว

เมื่อวานนี้ 4 กุมภาพันธ์ 2025 สำนักข่าวเกียวโด นิวส์ ซึ่งเป็นสำนักข่าวชื่อดังระดับประเทศแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น รายงานว่าแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับการเจรจาการควบรวมระหว่างฮอนด้า และนิสสัน เปิดเผยว่า ฮอนด้ากำลังส่งสัญญาณเกี่ยวกับนิสสันอาจเปลี่ยนแปลงสถานะเป็นบริษัทในเครือของฮอนด้า ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญภายใต้แผนการเจรจาการควบรวมของทั้ง 2 ค่ายแบรนด์รถยนต์ดังกล่าว ขณะที่เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2025 ผ่านมา ฮอนด้าเปิดเผยว่าอาจจะตัดสินใจหรือไม่ในการเจรจาขั้นตอนต่อไปของแผนควบรวมกับนิสสันภายในวันที่ 31 มกราคมตามกำหนดเดิม สาเหตุจากความล่าช้าหรือความคืบหน้านั้นล้วนขึ้นอยู่กับนิสสันเท่านั้น อย่างไรก็ตามได้เลื่อนกำหนดเส้นตายของการส่งแผนฟื้นฟูธุรกิจของนิสสันมาให้ฮอนด้าจากเดิมภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ไปเป็นภายในกลางเดือนกุมภาพันธ์

ด้านมิตซูบิชิ มอเตอร์ เปิดเผยว่าจะร้องขอไปยังทั้งสองค่ายรถยนต์ดังกล่าวให้มีการเปิดเผยและส่งต่อข้อมูลเกี่ยวกับขั้นตอนในการเจรจาควบรวม รวมถึงให้รีบการพิจารณาตัดสินใจอย่างรวดเร็วว่ามิตซูบิชิ มอเตอร์ จะเข้าร่วมการควบคุมกิจการของทั้งสองค่ายหรือไม่

เมื่อวันที่ 24 มกราคมผ่านมาการเจรจาควบรวมกิจการรถยนต์ระหว่างฮอนด้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์ ซึ่งได้แถลงอย่างเป็นทางการไปเมื่อเดือนธันวาคมปี 2024 ที่ผ่านมานั้นมีความคืบหน้าน้อยมาก สาเหตุจากการเจรจาที่มีความคืบหน้าน้อยมากนั้นเป็นผลมาจากฝั่งนิสสัน มอเตอร์ ใช้เวลาเนิ่นนานในการสรุปแผนฟื้นฟูธุรกิจ ซึ่งการนำเสนอแผนดังกล่าวของนิสสันถือเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญของการเจรจาควบรวมกิจการของทั้ง 2 ค่ายรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่อันดับ 2 และอันดับ 5 ตามลำดับในประเทศญี่ปุ่น ผลจากความล่าช้าดังกล่าวของนิสสัน มอเตอร์ ยังส่งผลกระทบไปถึงมิตซูบิชิ มอเตอร์ ตกอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าขายไม่ออก เนื่องจากไม่สามารถจะตัดสินใจใดๆ ได้ ในการเข้าร่วมการเจรจาควบรวมกับทั้งสองค่ายรถยนต์ดังกล่าว

ฮอนด้า มอเตอร์ เปิดเผยว่าหลังจากมีการแถลงอย่างเป็นทางการในการเจรจาควบรวมกับนิสสัน มอเตอร์ เมื่อเดือนปลายธันวาคมในปี 2024 ผ่านไป ฮอนด้า มอเตอร์ ได้แจ้งให้นิสสัน มอเตอร์ ว่าภายในสิ้นเดือนมกราคม 2025 นี้ นิสสัน มอเตอร์ จะต้องนำเสนอแผนปฏิบัติการฟื้นฟูกิจการรถยนต์ของนิสสันที่ตกต่ำ ซึ่งถือเป็นข้อบังคับสำคัญในการเจรจาครั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูงของฮอนด้า มอเตอร์ เปิดเผยว่าความรู้สึกหงุดหงิดมากกับความเคลื่อนไหวทั้งหมดซึ่งเป็นไปอย่างล่าช้าอย่างมากๆ เนื่องจากความคืบหน้าที่ล่าช้าจากฝั่งนิสสันในการสรุปแผนการฟื้นฟูกิจการตามที่กำหนดไว้

มิตซูบิชิ มอเตอร์ส เปิดเผยว่าคณะกรรมการของบริษัทอาจจะมีการพิจารณา และตัดสินใจลงมติไม่ว่าจะเข้าร่วมการเจรจาควบรวมกิจการกับทั้ง 2 ค่ายรถยนต์ดังกล่าวหรือไม่ภายในสิ้นเดือนมกราคมนี้ ทั้งหมดขึ้นอยู่กับความคืบหน้าระหว่างการเจรจาพูดคุยของทั้ง ฮอนด้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์

สำนักข่าวชื่อดังในประเทศญี่ปุ่นหลายแห่งล้วนรายงานไปในทิศทางเดียวกันว่านิสสัน มอเตอร์ เผชิญความยากลำบากในการที่จะสรุปแผนการปรับโครงสร้างและการฟื้นฟูธุรกิจรถยนต์นิสสัน ตามที่เคยประกาศไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนในปี 2024 ที่ผ่านมา นิสสันประกาศว่าจะมีการปลดพนักงานจำนวน 9,000 คน หรือคิดเป็น 7% ของพนักงานที่มีอยู่ในปัจจุบันทั่วโลก พร้อมกับรถกำลังการผลิตรถยนต์ลงถึง 20% ในภาพรวมของโรงงานนิสสันที่มีอยู่ทั่วโลก

แหล่งข่าวระดับสูงในนิสสัน มอเตอร์ เปิดเผยกับสำนักข่าวนิกเคอิว่าแผนปฏิบัติการฟื้นฟูกิจการรถยนต์ของนิสสันต้องเผชิญกับความยากลำบาก เนื่องจากมีการต่อต้านและไม่เห็นด้วยจากพนักงานนิสสันในแต่ละภูมิภาคที่บริษัทนิสสัน มอเตอร์ ได้กำหนดแผนการตัดลดค่าใช้จ่ายไว้

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2024 ฮอนด้า มอเตอร์ และนิสสัน มอเตอร์ เปิดแถลงข่าวด้วยแถลงการณ์ร่วมของทั้ง 2 บริษัท พร้อมกับลงนามในบันทึกความเข้าใจ หรือ MOU ร่วมกัน ว่าให้มีการกำหนดเป้าหมายในการควบรวมภายในเดือนสิงหาคม ปี 2026 โดยใช้รูปแบบการจัดตั้งบริษัทประเภทโฮลดิ้งส์ คอมพานี นอกจากนี้ด้านโครงสร้าง และสายการบริหารของบริษัทโฮลดิ้ง คอมพานี แห่งนี้ ฮอนด้า มอเตอร์ จะส่งผู้บริหารระดับสูงนั่งในตำแหน่งประธานบริษัทโฮลดิ้ง คอมพานี และกรรมการโดยส่วนใหญ่จะถูกแต่งตั้งโดยฮอนด้าเข้านั่งบริหารร่วมกับกรรมการที่แต่งตั้งมาจากนิสสัน นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันที่จะดำเนินการเจรจาในรายละเอียดของการควบรวมให้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2025 นี้

แถลงการณ์ร่วมของทั้ง 2 บริษัท เปิดเผยต่อไปว่าศักยภาพของพลังประสานร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายจะส่งผลให้การควบรวมของฮอนด้าและนิสสันกลายเป็นบริษัทในอุตสาหกรรมการเคลื่อนที่ระดับโลกที่จะมียอดขายรวมกันกว่า 30 ล้านล้านเยน หรือ 190,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 6.7 ล้านล้านบาท และจะมีกำไรรวมกันกว่า 3 ล้านล้านเยน หรือกว่า 670,000 ล้านบาท พลังประสานร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย ที่ได้จากการเจรจาควบรวมมีทั้งหมด 7 ด้าน เช่น การรวมกันของการทำงานด้านวิจัยและพัฒนา การผลิตที่ได้ขนาดดีที่สุด ซึ่งจะได้จากแพลทฟอร์มการผลิตยานยนต์ที่เป็นมาตรฐาน การเสริมความแข็งแกร่งด้านขีดความสามารถในการแข่งขันที่ได้จากเครือข่ายการผลิต และการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles