นโยบายภาษี “ทรัมป์”ก่อชนวนสงครามการค้า กดดัน หุ้นไทย เดือน ก.พ. ผันผวน มองดัชนีแตะสุด 1,280 จุด

นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด เปิดเผยถึงทิศทางตลาด หุ้นไทย เดือนกุมภาพันธ์ว่า ภาพตลาดหุ้นไทยในเดือนกุมภาพันธ์ คาดว่า SET Index มีโอกาสปรับตัวลงในช่วงแรก หลังในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ปธน.ทรัมป์ของสหรัฐฯลงนามเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากทั้ง แคนาดา เม็กซิโก ในอัตรา 25% และจีน ในอัตรา 10% ตามที่เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ ปัจจัยดังกล่าวทำให้ไม่กี่ชั่วโมงให้หลัง ได้พัฒนากลายมาเป็นสงครามการค้าย่อมๆ จากการตอบโต้ของประเทศเหล่านี้ ทั้งการเตรียมเก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯของทั้งแคนาดา (25%) และเม็กซิโก รวมถึงจีนที่เตรียมจะยื่นคำร้องต่อ WTO ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ ปัจจัยดังกล่าวได้ส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังราคาน้ำมันดิบให้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากทั้งแคนาดาและเม็กซิโก ต่างก็เป็นแหล่งนำเข้าทางด้านเชื้อเพลิงที่สำคัญของสหรัฐฯ

อย่างไรก็ดี มองการปรับตัวลงของดัชนี SET ในช่วงแรกของเดือนน่าจะได้รับการประคับประคองบ้างจากกลุ่ม Oil & Gas ที่ได้ Sentiment เชิงบวกจากราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้น รวมถึงกลุ่ม Domestic play ที่คาดว่าจะเห็นการรีบาวด์ขึ้นบ้าง หลังราคาลงไปแรงจากผู้นำกลุ่มเช่น CPALL ในช่วงปลายเดือนก่อน ไม่นับรวมกับ Valuation ของดัชนีที่อยู่ต่ำเป็นทุนเดิม ด้วยเหตุนี้ จึงเชื่อว่ามีโอกาสที่หุ้นไทยจะปรับตัวแข็งแกร่งกว่าหุ้นต่างประเทศ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงครามการค้าที่เกิดขึ้น

ประเมินแนวรับสำคัญของ SET Index เดือนนี้จะอยู่ที่จุดต่ำสุดที่เคยทำไว้แถวบริเวณ 1270-1280 จุด ซึ่งในเชิง Valuation ถือว่าน่าสนใจมาก เนื่องจากเป็นระดับเทียบเท่า PBV 1.22x เท่านั้น ถูกที่สุดเป็นอันดับ 3 นับตั้งแต่วิกฤติซับไพรม์ ในเชิงกลยุทธ์ แนะนำซื้อหุ้นที่บริเวณแนวรับดังกล่าวนี้ โดยเน้นไปที่กลุ่ม Domestic play ที่ค่อนข้างปลอดภัยจากประเด็นสงครามการค้าที่เกิดขึ้นนี้

สำหรับปัจจัยเสี่ยงอื่นที่อาจต้องติดตามต่อในเดือนนี้ ได้แก่ 1.ความเสี่ยงที่สงครามการค้าจะลากยาวจนก่อให้เกิดความกลัวเกี่ยวกับการกลับมาของเงินเฟ้ออีกครั้ง ซึ่งหากเกิดขึ้นจริง อาจทำให้โอกาสในการปรับลดดอกเบี้ยของธปท.ในเดือนนี้ลดลง 2.การประกาศผลประกอบการบจ.ไตรมาส 4 ซึ่งหากออกมาแย่กว่าคาด อาจนำมาสู่การปรับลดประมาณการในตลาดอีกครั้ง 3.แรงขายสุทธิของนักลงทุนสถาบันในประเทศที่อาจเกิดขึ้น หากเริ่มมีความชัดเจนว่าตลท.จะมีการปรับปรุงการคำนวณดัชนีหุ้นไทยรูปแบบใหม่ไปเป็นวิธี Free-float adjusted market cap weighted และ 4.ความเสี่ยงที่ MSCI อาจปรับลดน้ำหนักหุ้นไทย จนนำมาสู่แรงขายของนักลงทุนต่างชาติในระยะสั้น

ส่วนกลุ่มหุ้นที่น่าสนใจในเดือนนี้ มองไปยัง 3 ธีมการลงทุนสำคัญได้แก่ 1.หุ้นกลุ่มค้าปลีกที่ราคาปรับลงมาแรง และได้ประโยชน์จากมาตรการ Easy E-Receipt รวมถึงการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติ เช่น CPALL 2.หุ้นขนาดใหญ่ที่ Valuation ลงมาอยู่ในโซน Trough เมื่อเทียบเคียงกับในอดีต เช่น BDMS, LH, MINT, OR และ 3.กลุ่มธนาคารที่จะได้ประโยชน์ หากดัชนี Free float adjusted market cap weighted index ได้รับความนิยมในตลาดสูงขึ้น ได้แก่ SCB, KBANK, BBL

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles