ปธน.ทรัมป์โพสต์ดีลอินโดนีเซียครั้งที่สอง อินโดฯ ตกลงไม่เก็บภาษีสินค้า (0%) กับสหรัฐถึง 99% ของสินค้าทั้งหมด ยกเลิกกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีกับสินค้าเกษตร เป็นดีลแห่งชัยชนะของรถยนต์ เทคโนโลยี เกษตกร ชาวไร่ และผู้ผลิตอุตสาหกรรมในสหรัฐ

ปธน. ทรัมป์โพสต์ดีลอินโดนีเซีย ครั้งที่สอง อินโดฯ ตกลงไม่เก็บภาษีสินค้า(0%)กับสหรัฐถึง 99% ของสินค้าทั้งหมด ยกเลิกกีดกันที่ไม่ใช่ภาษีกับสินค้าเกษตร เป็นดีลแห่งชัยชนะของรถยนต์ เทคโนโลยี เกษตกร ชาวไร่ และผู้ผลิตอุตสาหกรรมในสหรัฐ

ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโดนัลด์ ทรัมป์ โพสต์ข้อความบนสื่อโซเชียล ดังนี้ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ประกาศข้อตกลงการค้าของสหรักับฐอเมริกากับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย ในฐานะที่เป็นตัวแทนของประธานาธิบดีปราโบโว ซูเบียนโต Prabowo Subianto ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูง เป็นที่ตกลงกันว่าอินโดนีเซียจะเปิดตลาดสําหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของอเมริกา และสินค้าเกษตร โดยยกเลิกอุปสรรคด้านภาษี 99% กับสินค้าสหรัฐอเมริกา

ประเทศสหรัฐอเมริกาจะขายสินค้าที่ผลิตในสหรัฐอเมริกา American Made ให้กับอินโดนีเซียในอัตราภาษีเป็นศูนย์ ในขณะที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ว่า อินโดนีเซียจะจ่ายภาษีที่ 19% สําหรับผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เข้ามาในสหรัฐอเมริกา ตลาดที่ดีที่สุดในโลก!

นอกจากนี้ อินโดนีเซียจะส่งออกแร่ธาตุที่สําคัญอันล้ําค่าให้กับสหรัฐอเมริกา ตลอดจนลงนามในข้อตกลงครั้งใหญ่ มูลค่าหลายหมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อเครื่องบินโบอิ้ง สินค้าเกษตร และพลังงานอเมริกัน ดีลนี้เป็นชัยชนะครั้งใหญ่สําหรับผู้ผลิตรถยนต์ บริษัทเทคโนโลยี คนงาน เกษตรกร เจ้าของฟาร์ม และผู้ผลิตของเรา ขอบคุณที่ให้ความสนใจในเรื่องนี้ ทําให้อเมริกายิ่งใหญ่อีกครั้ง!

การโพสต์ข้อความดังกล่าวของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาในคืนที่ผ่านมา ซึ่งเกี่ยวกับข้อตกลงภาษีการค้ากับอินโดนีเซียนั้น เป็นข้อมูลเพิ่มเติมจากการโพสต์ครั้งแรกของนายโดนัลด์ ทรัมป์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา

ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมผ่านมา นายโดนัลด์ ทรัมป์ โพสต์ข้อความเกี่ยวกับข้อตกลงภาษีและการค้ากับประเทศอินโดนีเซีย มีดังนี้ สหรัฐอเมริกาสรุปข้อตกลงสําคัญกับสาธารณรัฐอินโดนีเซียหลังจากพูดคุยกับประธานาธิบดีนายปราโบโว ซูเบียนโต ที่เคารพนับถืออย่างสูง ข้อตกลงครั้งสําคัญนี้เปิดตลาดทั้งหมดของอินโดนีเซียให้สหรัฐอเมริกาเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์

ส่วนหนึ่งของข้อตกลง อินโดนีเซียตกลงให้คํามั่นจะซื้อพลังงานของสหรัฐอเมริกาเป็นเงิน 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(495,000 ล้านบาท) ซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของอเมริกามูลค่า 4,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ(148,500 ล้านบาท) และเครื่องบินโบอิ้ง 50 ลํา โดยหบายลำเป็นรุ่น 777 เป็นครั้งแรกที่เกษตรกร เกษตรกร และชาวประมงของสหรัฐอเมริกาจะสามารถเข้าถึงตลาดอินโดนีเซียที่มีประชากรมากกว่า 280 ล้านคนได้อย่างสมบูรณ์และทั้งหมด 

นอกจากนี้ อินโดนีเซียจะจ่ายภาษีศุลกากร(ต่างตอบแทน)ที่ 19% ให้กับสหรัฐอเมริกาสําหรับสินค้าทั้งหมดที่ส่งออกไใมาสหรัฐอเมริกา ในขณะที่การส่งออกของสหรัฐอเมริกาไปอินโดนีเซียเป็นการปลอดภาษี หรือ 0% และภาษีที่ไม่อยู่ในอัตราภาษี หรือ Non Tariffs Barrier ไม่เกิดขึ้นกับสหรัฐอเมริกา หากมีการขนส่งใด ๆ จากประเทศที่มีอัตราภาษีสูงกว่า ภาษีศุลกากรนั้นจะถูกเพิ่มเข้าไปในภาษีศุลกากรที่อินโดนีเซียถูกเก็บด้วย

ขอบคุณประชาชนชาวอินโดนีเซียสําหรับมิตรภาพและความมุ่งมั่นในการปรับสมดุลการขาดดุลการค้าของเรา เราจะส่งมอบต่อไปเพื่อประชาชนชาวอเมริกันและประชาชนชาวอินโดนีเซีย!

ย้อนกลับไปในสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2025 ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา นายโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งจดหมาย ถึงประธานาธิบดีอินโดนีเซียเพื่อแจ้งอัตราภาษีต่างตอบแทน หรือ Reciprocal Tariffs ที่ 32% กับประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอัตราภาษีเท่าเดิมกับที่ประกาศเมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2025

ก่อนหน้าที่สหรัฐอเมริกาจะตกลงภาษีและการค้ากับอินโดนีเซียสำเร็จ ประธานาธิบดีนายโดนัลด์ ทรัมป์ ปฏิเสธข้อเสนอในการเจรจาของประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ รัฐบาลอินโดนีเซียจะเก็บภาษีเกือบ 0% กลับสินค้าราว 70% ของสหรัฐอเมริกาที่นำเข้าประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนี้อินโดนีเซียเสนอที่จะเจรจาการส่งออกแร่ธรรมชาติสำคัญ สินค้าพลังงาน สินค้าการเกษตร และอาวุธยุทโธปกรณ์

ที่น่าสนใจ คือ อินโดนีเซียไม่ติดใน 15 ประเทศคู่ค้าแรกกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีมูลค่าการค้ากับสหรัฐอเมริกาในปี 2024 เกือบ 40,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 1.32 ล้านล้านบาท ในขณะที่สหรัฐอเมริกาขาดดุลการค้ากับอินโดนีเซียในปีผ่านมาที่ 18,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 594,000 ล้านบาท สหรัฐอเมริกาส่งออกเพิ่ม 3.7% แต่กลับนำเข้าจากอินโดนีเซียเพิ่ม 4.8% ขณะที่ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาประเมินว่ามูลค่าการค้าดังกล่าวของอินโดนีเซียมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่วิกฤตการณ์โรคโควิด-19 สหรัฐอเมริกานำเข้าสินค้าจากอินโดนีเซีย เช่น น้ำมันปาล์ม อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ ได้แก่ เร้าท์เตอร์และสวิทช์ไฟฟ้า รองเท้า ยางรถยนต์ ยางพารา และกุ้งแช่แข็ง

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles