นายวิชานัน นิวาตจินดา รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยผลการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจฐานรากปีงบประมาณ 2567 โดย ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (สวค.) ดำเนินโครงการสำรวจข้อมูลเศรษฐกิจชุมชนฐานราก จากผู้นำชุมชนและสมาชิกในชุมชน จำนวน 28,413 ตัวอย่าง จากกว่า 7,000 ตำบลทั่วประเทศ พบว่า รายได้ครัวเรือนต่อเดือนนั้น พบว่า 85.1 % มีมุมมองว่ารายได้ในปัจจุบันยังไม่เพียงพอ ถัดมามี 41.1% ต้องการรายได้เพิ่มมากกว่า 5,000 บาทต่อเดือนจึงจะเพียงพอ
ด้านการออมเงิน พบว่า 59.3% ของครัวเรือนมีการออมเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาซึ่งอยู่ที่ 54.7% ส่วนที่เหลือไม่มีการออม โดยมีสาเหตุจากรายได้ไม่เพียงพอและมีภาระหนี้สิน ขณะที่พนักงานของรัฐเป็นกลุ่มอาชีพที่มีการออมมากที่สุด ด้านหนี้สิน พบว่า 65.3% มีหนี้สิน โดยเป็นหนี้ในระบบ 69.5% และ 7.0% เป็นหนี้นอกระบบ และ 23.5% เป็นหนี้ทั้งในและนอกระบบ
ทั้งนี้ ประชาชนต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐมากที่สุด คือ 30.5% เรื่องการเงิน มี 29.0% ด้านโอกาสในอาชีพ สำหรับความเห็นต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ในด้านรายได้ ครัวเรือนส่วนใหญ่ 51.3% เห็นว่าในปี 2568 จะมีรายได้คงเดิม ด้านการใช้จ่าย ครัวเรือนส่วนใหญ่ 62.2% เห็นว่ารายจ่ายจะเพิ่มขึ้น และด้านหนี้สิน ครัวเรือนส่วนใหญ่ 29.5% เห็นว่าหนี้สินจะเพิ่มขึ้น และด้านความมั่นคงในรายได้/อาชีพ ครัวเรือนส่วนใหญ่ 48.8 %เห็นว่ารายได้อาชีพในปีหน้าจะไม่แน่นอน