ประธานสภาพัฒน์ชี้แบงก์ชาติต้องทบทวนดอกเบี้ย ทำแบบเดิมที่ผ่านมาไม่ช่วยเศรษฐกิจไทย

ประธานสภาพัฒน์ชี้แบงก์ชาติต้องทบทวน ดอกเบี้ย ทำแบบเดิมที่ผ่านมาไม่ช่วย เศรษฐกิจไทย

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ประธานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์ กล่าวในหัวข้อปัญหาการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยใน 20 ปีที่ผ่านมา และนโยบายการเงินที่ควรพิจารณาใหม่ โดยมีใจความสำคัญ คือ เศรษฐกิจไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตกอยู่ในสภาพดุลบริการเริ่มเกินดุลในปี 2012 (ปี 2555) ประเทศไทยเผชิญการไหลออกของเงินทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ในปี 2016 (ปี 2559) หรือเมื่อ 8 ปีผ่านมา จากนั้นประเทศไทยเริ่มเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงมากมาตั้งแต่ปี 2015 (ปี 2558) ที่สำคัญ หลังจากปี 2015 (ปี 2558) เป็นต้นมา ภาวะเงินเฟ้อในประเทศไทยต่ำกว่าภาวะเงินเฟ้อสหรัฐอเมริกา

สถิติเงินเฟ้อของประเทศไทยในช่วงปี 2005-2011 (พ.ศ.2548-2554) อยู่ที่เฉลี่ย 3.5% ต่อมาในช่วงปี 2012-2016 (พ.ศ.2555-2559) ลดลงเหลือแค่ 1.3% และในช่วงปี 2017-2019 ( พ.ศ.2560-2562) ลดลงต่อเนื่องมาเหลือแค่ 0.8% ดังนั้น ประเด็นสำคัญ คือ ตัวเลขต่างๆเหล่านี้สะท้อนว่านโยบายการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของธนาคารแห่งประเทศไทยตึงตัวเกินไป

ประธานสภาพัฒน์ ระบุรายละเอียดว่า ในช่วงปี 2548-2554 การส่งออกโตมากกว่าเศรษฐกิจ 3 เท่าตัว และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลประมาณกว่า 2% ต่อปี ไทยเกินดุลชำระเงินตลอดเวลา โดยเกินดุลชำระเงิน 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี การเกินดุลอย่างต่อเนื่องส่งผลให้แบงก์ชาติเข้าแทรกแซง ด้วยการซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐ และขายเงินบาทออกมา ส่งผลทุนสำรองของแบงก์ชาติเพิ่มขึ้นจาก 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2005 (ปี 2548) เป็น 175,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2011 (ปี 2554) เนื่องจากแบงก์ชาติพยายามทำให้เงินบาทไม่แข็งค่า

ในปี 2012 (พ.ศ.2555) เป็นปีแรกที่ไทยเกินดุลบัญชีบริการ โดยส่วนที่เกินดุลฯมาจากการท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างมาก จนกระทั่งในปี 2016 (ปี 2559) ประเทศไทยมีการเกินดุลบริการสูงถึง 20,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นเกือบ 10% ของการส่งออกทั้งหมด และปีนั้น ประเทศไทยเริ่มเห็นเงินทุนไหลออกเฉลี่ยปีละ 8,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

แบงก์ชาติยังคงเข้าแทรกแซงค่าเงิน สาเหตุจากการเกินดุลเฉลี่ยปีละ 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จนกระทั่งเกินดุลบัญชีเดินสะพัดสูงถึง 6.9% ของจีดีพีในปี 2555 และเพิ่มเป็น 10.5% ในปี 2559 กระทบต่อค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นมาก และมีประเด็นที่น่าสนใจ คือ ประเทศไทยกำลังพัฒนา แต่ทำไมยอมให้เสียโอกาส ปล่อยให้เงินทุนไหลออกไปลงทุนในต่างประเทศ แทนที่จะลงทุนในประเทศไทย เพื่อกระตุ้นให้เศรษฐกิจข้างในให้โต โดยสรุปง่ายๆ คือ เมื่อเกินดุลบัญชีเดินสะพัด นั่นหมายถึง กำลังซื้อในประเทศมีไม่พอกับการผลิตของประเทศ ทำไมจึงไม่ขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัวด้วยการขยายการลงทุน การผลิต และการบริโภคในประเทศให้มากกว่านี้

ในช่วงปี 2017-2019 (ปี 2560-2562) การส่งออกไทยขยายตัวเฉลี่ย 3.5% เท่ากับจีดีพี ส่วนภาคการท่องเที่ยวเกินดุลเฉลี่ย 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้ง 2 ปัจจัยทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าต่อไปอีก แต่ที่น่ากลัวเกิดขึ้นกับเงินทุนไหลออกรุนแรงขึ้น โดยไหลออก 12,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี

ส่วนการไหลออกของเงินทุนนั้น แม้ว่าเงินทุนจะไหลออก แต่แบงก์ชาติก็ยังต้องเข้าไปแทรกแซง เพราะเงินทุนไหลออกไม่พอ เนื่องจากไทยเกินดุลชำระเงินและเกินดุลบัญชีเดินสะพัดมากมาย ถ้าประเทศไทยยังทำเหมือนเดิม คือ หวังให้การส่งออกสินค้าขยายตัวมากขึ้น หวังให้นักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมามาก ทุกอย่างก็เหมือนเดิม ตอนที่ไทยทำเหมือนเดิม ทำให้ทุนสำรองของแบงก์ชาติเพิ่มขึ้นเท่านั้น จาก 50,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นไปสูงสุดที่ 2.58 ล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วงปี 2562 ก่อนเกิดโรคระบาดโควิด-19 แต่ส่วนอื่นของเศรษฐกิจไม่ได้ขยายตัวดีเท่าไรเลย

โดยเฉพาะในช่วงที่เงินทุนที่ไหลออกไปเยอะๆ คือ ในปี 2556 ถึง 2564 มีเงินทุนไหลออกไป 1.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ถเมื่อเทียบอัตราแลกเปลี่ยนในวันนี้ ก็จะเท่ากับ 20% ต่อจีดีพีปัจจุบัน นั่นคือ การสูญเสียโอกาส เงินทุนของคนไทย เราควรหาทางทำให้มาลงทุนในประเทศไทย

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles