ประธานสภาอุตสหกรรมฯ เผยเศรษฐกิจไทยอาจเสียหายสูงสุดพุ่งถึง 800,000 ล้านบาท หรือกระทบถึง 4% ของจีดีพีไทย เซ่นพิษสงครามภาษี สะเทือนแรงงาน 7 แสนคน ซัพพลายเออร์รายใหญ่และกลางมี 3 ทางเลือก เอสเอ็มอีในห่วงโซ่ผลิตรถยนต์เสี่ยงสูงถึงปิดกิจการ

ประธานสภาอุตสหกรรมฯ เผย เศรษฐกิจ ไทย อาจเสียหายสูงสุดพุ่งถึง 800,000 ล้านบาท หรือกระทบถึง 4% ของจีดีพีไทย เซ่นพิษสงครามภาษี สะเทือนแรงงาน 7 แสนคน ซัพพลายเออร์รายใหญ่และกลางมี 3 ทางเลือก เอสเอ็มอีในห่วงโซ่ผลิตรถยนต์เสี่ยงสูงถึงปิดกิจการ

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. นายเกรียงไกร เธียรนุกูล เปิดเผยว่า จากการประเมินสถานการณ์และความเป็นไปได้เกี่ยวกับอัตราภาษีต่างตอบแทน หรือ Reciprocal Tariifs ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกานั้น ประเทศไทยอาจจะถูกเก็บภาษีในช่วงระหว่าง 10 ถึง 15% จากที่ได้ประกาศในอัตราเพดานสูงสุดถึง 36% ดังนั้นหากเป็นไปตามที่ส.อ.ท.ประเมินไว้จะส่งผลกระทบต่อมูลค่าเศรษฐกิจประเทศไทยระหว่าง 200,000 ถึง 300,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กรอบภาษีที่แท้จริงตามที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศนั้นจะรวมทั้งความแตกต่างของอัตราภาษี และมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่อยู่ในรูปแบบภาษี หรือ Non-tariffs Barriers

ดังนั้น จากการประเมินโดยอยู่บนพื้นฐานตัวทวีคูณที่ไม่ซับซ้อนมากนัก จะพบว่าเศรษฐกิจไทยอาจจะได้รับผลกระทบเลวร้ายที่สุดระหว่าง 700,000 ถึง 800,000 ล้านบาท หรือ 24,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าประเมินความเสียหายดังกล่าวคิดเป็น 4% ของมูลค่าเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งในปี 2024 ที่ผ่านมามีขนาดเศรษฐกิจอยู่ที่ 19.8 ล้านล้านบาท ดังนั้นในการประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากมูลค่าความเสียหายดังกล่าวอาจจำเป็นจะต้องมีการวิเคราะห์ในเชิงลึกและ แจกแจงรายละเอียดมากกว่านี้

ประธาน ส.อ.ท. กล่าวต่อไปว่า มาตรการภาษีของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาจะมีน้ำหนักในการส่งผลกระทบไปยังอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมหลักสำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีการจ้างแรงงานเป็นจำนวนถึง 700,000 คน นอกจากนี้ ตลาดการส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นตลาดสำคัญของไทย ดังนั้นส่งผลกระทบมาถึงธุรกิจขนาดใหญ่และขนาดเล็ก จะต้องเผชิญกับการควบรวมกิจการ การลดขนาดของธุรกิจ หรือการปิดกิจการ

ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวนมาก ซึ่งอยู่ในห่วงโซ่การผลิตอุตสาหกรรมรถยนต์ของไทย ต้องตกอยู่ในภาวะลดขนาดกิจการลง ในขณะที่สงครามภาษีซึ่งได้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นเมษายนที่ผ่านมานั้น จะสร้างแรงกดดันให้สถานการณ์เลวร้ายมากขึ้น หากไม่มีสถานะทางการเงินที่ยืดหยุ่นอย่างเพียงพอ ซัพพลายเออร์บางรายจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงในการปิดกิจการลง

ในปี 2024 ที่ผ่านมาตลาดรถยนต์ของประเทศไทยทำยอดขายได้ต่ำที่สุดในรอบ 15 ปีโดยมียอดขายทั้งปีที่ผ่านไปนั้นจำนวน 573,000 คัน คิดเป็นยอดขายที่ดำดิ่งลงเหวถึง -26% เมื่อเทียบกับปี 2023 สอดคล้องกับตลาดส่งออกรถยนต์ของประเทศไทยในปีที่ผ่านไปนั้นตกต่ำรุนแรงมากถึง -8.8% โดยมียอดส่งออกอยู่ที่ 1.01 ล้านคัน

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles