ประเทศฐานการผลิตชั้นนำในอาเซียน แห่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำรับครึ่งปีหลัง

113
0
Share:

ประเทศไทยซึ่งเป็นอีกหนึ่งในหลายประเทศในกลุ่มอาเซียนที่รัฐบาลประกาศปรับขึ้นอัตราค่าจ้าง ค่าแรงขั้นต่ำ รายวันเป็น 400 บาท หรือ 10.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 14% เมื่อเทียบกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำรายวันในปัจจุบัน ระหว่าง 300 ถึง 350 บาทต่อวัน นั่นหมายถึงผู้ใช้แรงงานในประเทศไทยจะได้รับรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 237 ดอลลาร์สหรัฐหรือ 8,800 บาท

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการ สภหอการค้าไทย กล่าวว่า นโยบายที่จะผลักดันและปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำขึ้นเป็นวันละ 400 บาท ทั่วประเทศไทยเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะกับความเป็นจริง นโยบายนี้ไม่เข้ากับปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย อัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำรายวันใหม่นี้ เป็นสาเหตุทำให้ประเทศไทยสูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน

ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสำคัญด้านเศรษฐกิจที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำอยู่ในระดับสุดท้ายของกลุ่มประเทศชั้นนำในอาเซียน โดยเฉลี่ย รายได้ที่เพดานสูงสุดในกลุ่มประเทศอาเซียนจะอยู่ที่ 200 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 7,400 บาท รายได้ดังกล่าวในประเทศเวียดนามยังต่ำกว่าในกรุงปักกิ่งจีนแผ่นดินใหญ่ ที่เฉลี่ย 2420 หยวน หรือ 332 ดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 12,284 บาท

ในเดือนกรกฎาคมนี้ รัฐบาลเวียดนามได้ปรับขึ้นอัตรารายได้ขั้นต่ำอีก 6% กรุงฮานอยและเมืองโฮจิมินห์ซิตี้ พบว่าแรงงานจะได้รับรายได้เดือนละ 4.96 ล้านด่อง หรือเดือนละ 193 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 7,140 บาท อย่างไรก็ตาม นโยบายของรัฐบาลเวียดนามที่มีการปรับขึ้นรายได้ขั้นต่ำต่อเนื่องนั้น นักวิเคราะห์มองว่า กำลังกลายเป็นข้อกังวลในการทำธุรกิจในประเทศเวียดนาม ในขณะนี้เจ้าของธุรกิจหลายแห่งได้พิจารณาตัดสินใจตั้งโรงงานผลิตสินค้าอยู่บริเวณรอบนอกเมืองขนาดใหญ่ใหญ่แทนที่เป็นเมืองสำคัญทางเศรษฐกิจขนาดใหญ่เหมือนในช่วงที่ผ่านมา

รัฐบาลเวียดนามมีการกำกับอัตรารายได้ขั้นต่ำในแต่ละ 4 ภูมิภาคแตกต่างกัน โดยอัตรารายได้ในกรุงฮานอยและบริเวณปริมณฑล จะสูงถึง 40% เมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่น ๆ ที่พัฒนาได้ไม่เท่ากัน

ด้านประเทศฟิลิปปินส์ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศปรับขึ้นอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในเขตเมืองหลวงมะนิลา เป็นวันละ 645 เหรียญเปโซฟิลิปปินส์ หรือวันละ 11 ดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 407 บาทต่อวัน ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 6% จากอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำในปัจจุบันที่วันละ 610 เหรียญเปโซฟิลิปปินส์ หรือราววันละ 380 บาท สำหรับอัตราค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำใหม่นี้จะมีผลตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคมนี้เป็นต้นไป นั่นหมายถึงผู้ใช้แรงงานในประเทศ ฟิลิปปินส์จะได้รับรายได้ต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 241 ดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า 8,920 บาท

ทั้งนี้ 5 ประเทศแรกในอาเซียนที่มีรายได้ต่อเดือนของแรงงานสูงที่สุด ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ อันดับ 1 มาเลเซีย กว่า 318 อันดับ 2 อินโดนีเซีย 310 อันดับ 3 ฟิลิปปินส์ 241 อันดับ 4 ไทย 237 อันดับ 5 กัมพูชา 210 และอันดับ 6 เวียดนาม 193