ประเทศมากขึ้นในอาเซียนไว้วางใจสหรัฐมากกว่าปีผ่านมา เปิด 3 เรื่องที่ไทยรู้สึกแย่กับจีน ญี่ปุ่นยืนหนึ่งประเทศที่เชื่อถือมากสุดของอาเซียน เกือบครึ่งไม่เชื่อใจจีน หวั่นใช้อำนาจความเป็นมหาอำนาจมาคุกคามอาณาธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติในอาเซียน

ประเทศมากขึ้นใน อาเซียน ไว้วางใจสหรัฐมากกว่าปีผ่านมา เปิด 3 เรื่องที่ไทยรู้สึกแย่กับจีน ญี่ปุ่นยืนหนึ่งประเทศที่เชื่อถือมากสุดของอาเซียน เกือบครึ่งไม่เชื่อใจจีน หวั่นใช้อำนาจความเป็นมหาอำนาจมาคุกคามอาณาธิปไตยและผลประโยชน์ของชาติในอาเซียน

สถาบัน ไอซีส-ยูซอฟ อิแชค (ISEAS-Yusof Ishak Institute) ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยที่มีชื่อเสียงดังด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองระดับภูมิภาคอาเซียน ในประเทศสิงคโปร์ เปิดเผยรายงานผลสำรวจชื่อว่า State of Southeast Asia Survey 2025 พบว่าใน 10 ประเทศสมาชิกของกลุ่มประเทศอาเซียน พบว่าปี 2025 มี 7 จาก 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา ลาว เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ตอบว่ามีความไว้วางใจมากกว่าความไม่ไว้วางใจกับสหรัฐ ที่น่าสนใจ คือ ในปี 2025 นี้ มีจำนวนประเทศที่มีมุมมองดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีก 2 ประเทศเมื่อเทียบจากผลสำรวจในปี 2024 ซึ่งได้แก่ บรูไน และสปป.ลาว โดยในปีผ่านไปมีเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา เมียนมา ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม ที่มองว่ามีความไว้วางใจมากกว่าความไม่ไว้วางใจกับสหรัฐ

ขณะที่ ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนในภาพรวมมีระดับความไว้วางใจกับสหรัฐเพิ่มขึ้นจาก 42.4% เมื่อปี 2024 ขึ้นมาเป็น 47.2% ในปี 2025 ในขณะเดียวกันคำถามที่เกี่ยวกับระดับความไม่ไว้วางใจกับสหรัฐ พบว่ากลับลดลงจาก 37.6% ในปี 2024 มาเป็น 33.0% ในปีนี้

เมื่อพิจารณาเฉพาะประเทศไทยในคำถามที่ว่าสถานการณ์อะไรที่อาจจะทำให้ความรู้สึกประทับใจในทางบวกที่มีต่อประเทศจีนตกต่ำย่ำแย่ลง? พบว่า ใน 3 อันดับแรกมากสุด คือ อันดับ 1. การเพิ่มขึ้นของการครอบงำทางเศรษฐกิจและอิทธิพลการเมืองภายในประเทศ (56.3%) อันดับ 2. การใช้นโยบายเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในการให้โทษด้านนโยบายการต่างประเทศ (37.4%) ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 31.9% ในปี 2024 และอันดับ 3. การสนับสนุนของจีนที่มีต่อรัสเซียในการบุกรุกดินแดนของประเทศยูเครน (19.3%)

ผลสำรวจในหมวดการแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีน และผลกระทบที่มีต่ออาเซียน โดยเฉพาะคำถามที่ว่าสถานการณ์อะไรที่อาจจะทำให้ความรู้สึกประทับใจในทางบวกที่มีต่อประเทศจีนตกต่ำย่ำแย่ลง? ปรากฏว่า 3 สถานการ์แรก ได้แก่ 1. การใช้กำลังและปฏิบัติการทางทหารในทะเลจีนใต้ และแม่น้ำโขง พบว่า มี 3 ประเทศในอาเซียนที่ให้น้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ เวียดนาม 64.4% ฟิลิปปินส์ 46.2% และบรูไน 29.5% 2. การแทรกแซงของจีนต่อกิจการการเมืองภายในประเทศมีถึง 28.2% พบว่ามี 3 ประเทศในอาเซียนที่ให้น้ำหนักมากที่สุด ได้แก่ สิงคโปร์ 42.3% อินโดนีเซีย 36.3% และกัมพูชา 31.4% ให้น้ำหนักข้อนี้มากที่สุดถึง และ 3. จีนใช้นโยบายเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวในการให้โทษด้านนโยบายการต่างประเทศในอาเซียนมีถึง 21.7% ปรากฏว่ามี 2 ประเทศในอาเซียนที่ให้น้ำหนักข้อนี้มากที่สุด ได้แก่ ไทย 37.4% และเมียนมา 28.4%

ในแง่ถ้าทั้งภูมิภาคอาเซียนได้รับแรงบังคับให้ต้องปรับตัวในเชิงกลยุทธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา หรือจีน ปรากฏว่า 52.3% ชาติอาเซียนเลือกสหรัฐอเมริกา ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงมากกว่ามองจีนเป็นตัวเลือกที่ 47.7% ที่สำคัญ ตัวเลขของจีนในปีนี้ลดลงจากในปีผ่านมาที่จีนเป็นตัวเลือกของชาติอาเซียนสูงถึงระดับ 50.5% นอกจากนี้ มากกว่า หรือ 53.2% เชื่อว่าอาเซียนควรจะเพิ่มความยืดหยุ่นและความเป็นเอกภาพในการรับมือแรงกดดันจากทั้ง 2 ประเทศมหาอำนาจที่มีต่ออาเซียน

ในปี 2025 ปรากฏว่า 66.8% ให้ญี่ปุ่นยังคงเป็นประเทศเศรษฐกิจที่ทรงพลังที่น่าเชื่อถือมากที่สุดสำหรับประเทศในกลุ่มอาเซียน ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นจากในปี 2024 ที่ญี่ปุ่นได้รับคะแนน 58.9% อันดับ 2 เป็นกลุ่มสหภาพยุโรป หรืออียูได้ 51.9% ซึ่งสามารถแซงสหรัฐอเมริกาที่ได้ 47.2% ที่น่าสนใจ คือ 41.2% มีความไม่เชื่อใจและไม่วางใจประเทศจีน และมีมากถึงเกือบครึ่งหนึ่ง หรือ 47.6% กังวลว่าจีนจะใช้ความเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและการทหารมาคุกคามอณาธิปไตย และผลประโยชน์ของประเทศในกลุ่มอาเซียน

ทั้งนี้ ผลสำรวจในครั้งนี้มีขึ้นมีขึ้นระหว่างวันที่ 3 มกราคมถึง 15 กุมภาพันธ์ 2025 ซึ่งในช่วงพิธีเข้ารับตำแหน่งของทรัมป์เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา และเป็นผลสำรวจก่อนที่ประธานาธิบดีสหรัฐประกาศมาตรการภาษีนำเข้าสินค้าหลายมาตรการ โดยเฉพาะมาตรการภาษีต่างตอบแทน ผู้ตอบแบบสำรวจในอาเซียนจำนวน 2,023 คนมาจาก 11 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนและติมอร์-เลสเต

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles