นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวให้สัมภาษณ์กับบลูมเบิร์ก ซึ่งเป็นสำนักข่าวเศรษฐกิจชื่อดังในสหรัฐอเมริกา ว่าถ้าคุณต้องการจะผลักดันมาตรการกระตุ้น จะดีกว่ามากถ้าจะใช้มาตรการให้ตรงกลุ่มเป้าหมาย และใช้ในทิศทางหรือมีขนาดเล็กกว่า ธนาคารแห่งประเทศไทยมองไม่เห็นความจำเป็นใดๆ ที่จะพยายามจะกระตุ้นการบริโภคในรูปแบบกระจายไปทุกลุ่มเป็นวงกว้าง
ขณะที่การบริโภคภาคเอกชนไทยในปีนี้ ได้รับการคาดการณ์ว่าจะขยายตัวที่ระดับ 4% หลังจากในปีที่ผ่านไปนั้น การบริโภคภาคเอกชนไทยขยายตัวสูง 7% เป็นสถิติสูงสุดเท่าที่เคยผ่านมาก็ตาม ดังนั้น จึงไม่มีความจำเป็นใดๆ ที่รัฐบาลจะต้องกระตุ้นเศรษฐกิจไปในทุกกลุ่มเป็นวงกว้าง
ถึงแม้ว่าการบริโภคภาคเอกชนไทยเติบโตอย่างคึกคักกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว รายได้ครัวเรือนที่เปราะบาง และลดต่ำลงมาก ยังคงได้รับผลกระทบจากช่วงวิกฤตการณ์โรคระบาดโควิด-19 และยังคงต้องการได้รับความช่วยเหลือ การจำกัดโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาทไปยังกลุ่มผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะเป็นสิ่งที่ทำให้ภาระงบประมาณดูมีความแข็งแรงมากขึ้น
ในฐานะธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรกำกับดูแลธุรกิจภาคธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แนะนำรัฐบาลเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าการระดมเงินจำนวน 172,000 ล้านบาทจากธนาคารธ.ก.ส. มาใช้หนุนโครงการเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท จะต้องไม่กระทบต่อความปลอดภัย และสภาพคล่องของธนาคารธ.ก.ส.
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวต่อไปว่า การคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจไทยที่จะขยายตัวที่ระดับ 2.6% ในปีนี้ และเติบโตเป็น 3.0% ในปี 2025 นั้น ซึ่งยังไม่รวมผลของโครงเงินดิจิทัล วอลเล็ต 10,000 บาท ซึ่งได้พิจารณาผลของความไม่แน่นอนที่อยู่ในระดับปานกลางของโครงการกระตุ้นนี้ด้วยแล้ว
ทั้งนี้ นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ยังได้กล่าวสัมภาษณ์กับสำนักข่าวบลูมเบิร์กในประเด็นเป้าหมายเงินเฟ้อในปัจจุบันว่า มีความเหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทย และก็เป็นเป้าหมายที่ใช้กำกับดูแลได้ดี ความเสี่ยงของการปรับเพิ่มเป้าหมายเงินเฟ้อที่กำหนดไว้ระหว่าง 1% ถึง 3% คือ จะทำให้เงินเฟ้อแท้จริงเริ่มจะขยับเพิ่มขึ้น ถ้าหากปรับเปลี่ยนเป้าหมายเงินเฟ้อดังกล่าว จะทำให้เป็นการเพิ่มต้นทุนการกู้ยืมการเงินสำหรับรัฐบาล และประเทศในภาพรวมทั้งหมด