ยังน่าห่วง! สรท.จับตาการส่งออกปี 67 หลายปัจจัยคาดเดายาก ห่วงวิกฤตทะเลแดงฉุดวูบ

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยสรท. ) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่าสถานการณ์ความรุนแรงในทะเลแดงเป็นปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อการ ส่งออก ของไทยในปีนี้ แต่มั่นใจยอดส่งออกในเดือน ม..67 ยังรักษาระดับไว้ที่ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เท่ากับเดือน ม..66 ส่วนเดือน ก..67 จะอยู่ที่ 2.1-2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับเดือน ก..66 เช่นกัน แต่ในเดือน มี..67 ยังประเมินยาก เนื่องจากปีก่อนฐานสูงถึง 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ จากมีการส่งออกผลไม้ โดยเฉพาะการส่งทุเรียนไปจีนในปริมาณมาก แต่ปีนี้เกิดปัญหาภัยแล้งอาจทำให้ผลไม้ออกล่าช้าไป ขณะที่ สรท.วางเป้าหมายผลักดันการส่งออกของไทยในปี 67 ให้เติบโต 1-2%

โดยจากเหตุรุนแรงในทะเลแดงส่งผลกระทบชัดเจน ปริมาณเรือสินค้าลดลงจากวันละ 100-120 ลำ เหลือราว 50 ลำ หากยืดเยื้อและขยายวงออกไปจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนผู้ส่งออก เพราะขณะนี้ค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้นไป 4-5 เท่า แต่คงไม่สูงเท่าช่วงเกิดวิกฤตโควิด

ทั้งนี้สถานการณ์ค่าระวางเรือขณะนี้ยังทรงตัวในระดับสูง เพราะนอกจากผลกระทบจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ยังมีปัจจัยจากการเร่งส่งออกก่อนเทศกาลตรุษจีน และความต้องการสินค้าในช่วงเทศกาลรอมฎอน ทำให้ค่าระวางเรือไปบางภูมิภาคปรับสูงขึ้นตามความต้องการ ซึ่งต้องรอดูว่าหลังผ่านเทศกาลสำคัญไปก่อนสถานการณ์จะคลี่คลายลงหรือไม่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ทำให้เห็นว่าควรเร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทน โดยหันกลับมามองภูมิภาคที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ อินเดีย และ CHINA+ เพื่อทดแทนประเทศคู่ค้าเดิมที่มีปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความร่วมมือที่เหนียวแน่นระหว่างภาครัฐและเอกชนจะพลิกสถานการณ์ให้ดีขึ้นเหมือนปีที่ผ่านมาได้

สำหรับปัจจัยเฝ้าระวังที่อาจส่งผลกระทบในปีนี้ ได้แก่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายประเทศยังคงทรงตัวระดับสูงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์  ดัชนีภาคการผลิต (PMI) สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึง ความกังวลเรื่องต้นทุนภาคการผลิตที่ยังมีความไม่แน่นอน ฃ

ซึ่ง สรท.มีข้อเสนอแนะสำคัญต่อภาครัฐ อาทิการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน รวมถึงกำกับดูแลเพื่อลดช่องว่าง (Spread) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินกู้และเงินฝาก  เร่งสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในตลาดเป้าหมายที่สำคัญ  สถานการณ์ปัญหาการโจมตีเรือพาณิชย์ในพื้นที่ทะเลแดง ผู้ประกอบการส่งออกร้องขอให้มีการเรียกเก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริง ทยอยปรับขึ้นแบบขั้นบันได

ยังน่าห่วง! สรท.จับตาการส่งออกปี 67 หลายปัจจัยคาดเดายาก ห่วงวิกฤตทะเลแดงฉุดวูบ ตั้งเป้าทั้งปี โต 1-2%

สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก กล่าวว่าสถานการณ์ความรุนแรงในทะเลแดงเป็นปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อการส่งออกของไทยในปีนี้ แต่มั่นใจยอดส่งออกในเดือน ม..67 ยังรักษาระดับไว้ที่ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ เท่ากับเดือน ม..66 ส่วนเดือน ก..67 จะอยู่ที่ 2.1-2.2 หมื่นล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับเดือน ก..66 เช่นกัน แต่ในเดือน มี..67 ยังประเมินยาก เนื่องจากปีก่อนฐานสูงถึง 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์ จากมีการส่งออกผลไม้ โดยเฉพาะการส่งทุเรียนไปจีนในปริมาณมาก แต่ปีนี้เกิดปัญหาภัยแล้งอาจทำให้ผลไม้ออกล่าช้าไป ขณะที่ สรท.วางเป้าหมายผลักดันการส่งออกของไทยในปี 67 ให้เติบโต 1-2%

โดยจากเหตุรุนแรงในทะเลแดงส่งผลกระทบชัดเจน ปริมาณเรือสินค้าลดลงจากวันละ 100-120 ลำ เหลือราว 50 ลำ หากยืดเยื้อและขยายวงออกไปจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนผู้ส่งออก เพราะขณะนี้ค่าระวางเรือปรับเพิ่มขึ้นไป 4-5 เท่า แต่คงไม่สูงเท่าช่วงเกิดวิกฤตโควิด

ทั้งนี้สถานการณ์ค่าระวางเรือขณะนี้ยังทรงตัวในระดับสูง เพราะนอกจากผลกระทบจากปัญหาภูมิรัฐศาสตร์แล้ว ยังมีปัจจัยจากการเร่งส่งออกก่อนเทศกาลตรุษจีน และความต้องการสินค้าในช่วงเทศกาลรอมฎอน ทำให้ค่าระวางเรือไปบางภูมิภาคปรับสูงขึ้นตามความต้องการ ซึ่งต้องรอดูว่าหลังผ่านเทศกาลสำคัญไปก่อนสถานการณ์จะคลี่คลายลงหรือไม่

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปัญหาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์ทำให้เห็นว่าควรเร่งหาตลาดใหม่เพื่อทดแทน โดยหันกลับมามองภูมิภาคที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกาใต้ อินเดีย และ CHINA+ เพื่อทดแทนประเทศคู่ค้าเดิมที่มีปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความร่วมมือที่เหนียวแน่นระหว่างภาครัฐและเอกชนจะพลิกสถานการณ์ให้ดีขึ้นเหมือนปีที่ผ่านมาได้

สำหรับปัจจัยเฝ้าระวังที่อาจส่งผลกระทบในปีนี้ ได้แก่การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท อัตราดอกเบี้ยนโยบายหลายประเทศยังคงทรงตัวระดับสูงความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์  ดัชนีภาคการผลิต (PMI) สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น รวมถึง ความกังวลเรื่องต้นทุนภาคการผลิตที่ยังมีความไม่แน่นอน ฃ

ซึ่ง สรท.มีข้อเสนอแนะสำคัญต่อภาครัฐ อาทิการพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบัน รวมถึงกำกับดูแลเพื่อลดช่องว่าง (Spread) อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อเงินกู้และเงินฝาก  เร่งสนับสนุนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการด้านสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกในตลาดเป้าหมายที่สำคัญ  สถานการณ์ปัญหาการโจมตีเรือพาณิชย์ในพื้นที่ทะเลแดง ผู้ประกอบการส่งออกร้องขอให้มีการเรียกเก็บค่าระวางและค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มตามต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจริง ทยอยปรับขึ้นแบบขั้นบันได

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles