ยูเนสโกเตือนส่อถอดเมืองหลวงพระบางหลุดเมืองมรดกโลก ชี้ปัจจัยสำคัญลาว-ไทยสร้างเขื่อนหลวงพระบาง

ยูเนสโก เตือนส่อถอดเมือง หลวงพระบาง หลุดเมือง มรดกโลก ชี้ปัจจัยสำคัญลาว-ไทยสร้างเขื่อนหลวงพระบาง

นายมินจา หยาง อดีตรองผู้อำนวยการ ศูนย์มรดกโลก ยูเนสโก เปิดเผยว่า ถัาหากเขื่อนหลวงพระบาง ซึ่งเป็นเขื่อนแห่งที่ 2 นี้สร้างเสร็จ เชื่อว่าเมืองหลวงพระบางจะถูกถอดออกจากสถานะเมืองมรดกโลก หลังจากเมื่อเร็วๆนี้ ยูเนสโกเปิดเผยรายงานว่าหลากหลายข้อกังวลใจเกี่ยวกับปัญหาที่มีผลกระทบจากการสร้างสิ่งปลูกสร้างใหม่ๆ ในบริเวณใกล้เคียง หรืออยู่ในรัศมีที่ที่ผลต่อการทำลายศักยภาพของแหล่งที่ตั้งมรดกโลก ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากรัฐบาลในประเทศสปป.ลาว โดยเมืองหลวงพระบางขึ่นทะเบียนเป็นเมืองมรดกโลกเมื่อ 29 ปีผ่านมา

หัวใจสำคัญ และเป็นความกังวลหลักของรายงานยูเนสโกเกี่ยวกับสถานะเมืองมรดกโลกหลวงพระบาง คือ โครงการก่อสร้างเขื่อนหลวงพระบาง ที่ตั้งอยู่ห่าง 25 กิโลเมตรไปทางต้นแม่น้ำคานจากเมืองหลวงพระบาง เขื่อนดังกล่าวเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างประเทศสปป.ลาวกับประเทศไทย และเป็นเขื่อนแห่งที่ 2 ที่อยู่ภายในบริเวณแห่งนี้ โดยเฉพาะความจำเป็นและความถูกต้องในการประเมินผลกระทบที่มีต่อมูลค่าและคุณค่าเมืองมรดกโลกระดับสากล ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเมืองประวัติศาสตร์ที่มีสายน้ำธรรมชาติไหลผ่านกลายสภาพเป็นเมืองทะเลสาบที่มนุษย์สร้างคืน

สิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาเมืองหลวงพระบางรองรับกับเขื่อนหลวงพระบาง เช่น การสูญเสียที่อยู่อาศัยและโครงสร้างที่มีเอกลักษณ์ความดั้งเดิมมานาน ความกังวลเกี่ยวกับภาวะการท่องเที่ยวล้นโครงสร้างพื้นฐานรองรับ และการเสื่อมถอยของวัฒนธรรมการใช้ชีวิตของคนในพื้นที่ ที่สำคัญ การสร้างสะพานคอนกรีตทอดผ่านแม่น้ำคานที่จะมาทดแทนสะพานไม้ไผ่ ซึ่งมีการสร้างสะพานไม้ไผ่ทดแทนในทุกฤดูร้อน ที่กลายเป็นเสน่ห์สำคัญ และสิ่งปลูกสร้างใหม่เหล่านี้กลายเป็นการสร้างทัศนียภาพด้านลบให้กับเมืองหลวงพระบาง

ภายใต้ข้อตกลงระหว่างยูเนสโกกับรัฐบาลสปป.ลาวนั้น ที่อยู่อาศัยลักษณะตึกมากกว่า 600 แห่ง และพื้นที่ชุ่มฉ่ำกว่า 183 แห่ง ต้องได้รับการปกป้อง ใยขณะที่ค่าครองชีพของคนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาวิกฤตเงินเฟ้อครั้งใหญ่ในประเทศสปป.ลาวเมื่อปีผ่านมา ท่ามกลางเมืองหลวงพระบางกลับกลายมามีชีวิตชีวาต่างจากในยุคดั้งเดิมเนื่องจากคนลาวรุ่นใหม่หวนกลับมาทำงานในภาคท่องเที่ยวที่กลับมาคึกคักขึ้น อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ต่างๆเหล่านี้ในมุมเศรษฐกิจต้องได้มาบนต้นทุนที่สูงขึ้น จำนวนนักท่องเที่ยวพุ่งทะยานขึ้น 10 เท่าใน 20 ปีผ่านมา โดยใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2023 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเกือบ 800,000 คน

เมื่อราคาอสังหาริมทรัพย์ในเมืองหลวงพระบางเพิ่มสูงมากขึ้น ทำให้ชาวสปป.ลาวในเมืองดังกล่าวขายที่อยู่อาศัย หรือที่ดินว่างเปล่า รวมถึงเปิดให้เช่าบ้านที่อยู่อาศัย ใยขณะที่เจ้าของบ้านย้ายออกไปอยู่รอบนอกแทน ทุกวันนี้ เจ้าของธุรกิจจึงกลายเป็นคนต่างชาติ ได้แก่ คนจีนแผ่นดินใหญ่ และคนเวียดนาม นักธุรกิจ หรือเจ้าของกิจการสัญชาติสปป.ลาวในเมืองหลวงพระบาง ยอมรับว่า ปัจจัยการเติบโตของการลงทุนจากต่างชาติโดนเฉพาะคนจีนแผ่นดินใหญ่ที่จะเข้ามาถึงเมืองหลวงพระบางจะกลายเป็นปัจจัยลบต่อสถานะเมืองมรดกโลกแห่งนี้ รู้สึกเป็นห่วงกังวลกับรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว ทำให้คนจีนจำนวนมากจะมาถึงเมืองหลวงพระบางเพื่อมาซื้อที่ดิน และซื้อทรัพย์สินอสังหาริมทรัพย์ เพราะคนจีนมีเงินจำนวนมากมาย ในนครหลวงเวียงจันทร์ คนจีนจำนวนมากสร้างตึกสูงมากมาย แต่คนเมืองหลวงพระบางไม่ต้องการสิ่งเหล่านี้แม้แต่น้อย

ทั้งนี้ เขื่อนหลวงพระบางเมื่อเปิดดำเนินการ จะมีกำลังผลิตกระแสไฟฟ้าจำนวน 1,460 เมกะวัตต์ และไฟฟ้าที่ผลิตได้เกือบทั้งหมดจะขายให้กับประเทศไทย ซึ่งมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าเป็นระยะเวลา 35 ปี นับเป็นสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่มีระยะเวลายาวนานที่สุด

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles