นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า รัฐบาลต้องเตรียมการออกมาตรการเข้ามาดูแลกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนที่จะลดลง ซึ่งจากการหารือหลายฝ่ายอย่าง สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ และ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หาทางรับมือและพร้อมออกมาตรการเข้ามาดูแลกระตุ้นเศรษฐกิจในส่วนที่จะลดลง เพื่อรักษาจีดีพีให้เติบโตได้ในระดับเดิม
มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจะเป็นไปในลักษณะโครงการขนาดใหญ่ในการกระตุ้นการบริโภคและการลงทุนในประเทศ รวมถึงสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งต้องมากกว่า 500,000 ล้านบาท ส่วนที่มาของแหล่งเงินจะมีการกู้หรือไม่ จะต้องพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้หากนำวงเงินดังกล่าวมาใช้ จะมีผลกระทบต่อหนี้สาธารณะหรือไม่ มองว่าการกู้เงินนำมาใช้ทำอะไร ถ้าสามารถทำให้ขนาดเศรษฐกิจเติบโตขยายตัวได้สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีปรับลดลงได้
หลักการนี้เมื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ต้องมีความมั่นใจว่าสิ่งเหล่านั้น นํามาซึ่งการเติบโตทางเศรษฐกิจ และมีผลทําให้หนี้ต่อขนาดของเศรษฐกิจลดลง แม้กระทั่งครั้งนี้ ยกตัวอย่าง ประเทศญี่ปุ่นยังคิดเลยว่าจะขยายเศรษฐกิจในปรัเทศใหญ่ขึ้น เมื่อเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นแล้วเก็จะทําให้หนี้ดูเล็กลงเอง สมมุติถ้าย้อนหลังไปหลาย10 ปีที่แล้ว มีหนี้10ล้านบาทแล้วพยายามทําให้หนี้น้อยลงไม่ใช่ แต่สิ่งที่ทำคือต้องทําให้รายได้มากขึ้นหนี้ 10 ล้านบาทจะเล็กลง
รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวต่อไปว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือไอเอ็มเอฟ ได้คาดการณ์เศรษฐกิจโลกปี 2568 เหลือ 2.8% จากเดิม 3.3% ขณะที่เศรษฐกิจไทยประเมินว่าจะขยายตัวจาก 2.9% เหลือ 1.8% ว่า ส่วนตัวเชื่อว่าเป็นการประเมินแค่เบื้องต้น ซึ่งของจริงอาจจะลดไม่ถึงก็ได้ โดยยังไม่มีใครประเมินได้เลยว่ามันจะลดขนาดไหนทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับผลของมหาอํานาจ 2 ประเทศ ระหว่างสหรัฐฯ และ จีน ขณะที่สถานการณ์นโยบายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ตอนนี้ยังไม่แน่นอน และมีการเปลี่ยนแปลงตลอด
สําหรับประเทศไทยหลายค่าย ก็มองกันว่าน่าจะอยู่จีดีพีจะอยู่ประมาณ 2.5 – 3% หรือค่ากลางที่ 2.8% ก็มองลดลงมาประมาณนึง ซึ่งก่อนที่มีเหตุการณ์นี้ เศรษฐกิจไทย ค่อยๆทยอย ฟื้นตัวตามลําดับ ส่วนตัวมีความเชื่อว่าที่ผ่านไปในไตรมาสที่ 1/68 ถ้าไม่มีอะไรผลจีดีพีน่าจะ 3% แต่ยอมรับว่าเหตุการณ์ปัจจุบันอาจจะต้องมีผลกระทบต่อจีดีพีบ้าง ก็ติดตามประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด