ร้านแซนด์วิช ซับเวย์ ชี้ 105 สาขาในไทยถูกยกเลิกแฟรนไชส์ เตือนให้ดูสาขาที่มีเลขร้านและสัญลักษณ์ Authorized Franchise ถึงจะได้มาตรฐานคุณภาพ

ร้านแซนด์วิช ซับเวย์ ชี้ 105 สาขาในไทยถูกยกเลิกแฟรนไชส์ เตือนให้ดูสาขาที่มีเลขร้านและสัญลักษณ์ Authorized Franchise ถึงจะได้มาตรฐานคุณภาพ

ซับเวย์ ไทยแลนด์ ผู้ให้บริการร้านซับเวย์ที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และเป็นเจ้าของแฟรนไชส์ที่ถูกต้อง โพสต์ข้อความเกี่ยวกับการใช้บริการร้านซับเวย์ที่ได้มาตรฐาน มีดังนี้ เนื่องจากตอนนี้เราได้รับข้อร้องเรียนเรื่องคุณภาพอาหาร, วัตถุดิบขาด, กระดาษห่อ ไม่มีพิมพ์ลาย Subway, กระดาษห่อลาย Subway สีเลอะติดอาหาร ขนมปังไม่ใช่ของ Subway และ อื่นๆ เข้ามาเป็นจำนวนมาก จากการตรวจสอบพบว่าลูกค้าไปใช้บริการจากร้าน Subway ที่ถูกยกเลิกสิทธิ์ Franchise ไปตั้งแต่วันที่ 26 กค. 2567 ไปแล้ว เช่น Food generation สาขา CP ทาวเวอร์ สีลม, ปตท บางแสน, ปตท. สุขสวัสดิ์, เชลล์ ลาดพร้าว, ทองหล่อ, เชลล์ ท่าพระ, คาลเท็กซ์ ประชานุกูล, ดิ อัพ พระราม 3, บางจาก ราชพฤกษ์ และอื่นๆ

ดังนั้น หากลูกค้าประสงค์ที่จะสั่งหรือซื้อ Subway สามารถสังเกตหน้าร้าน จะต้องมีเลขที่ร้านและ เครื่องหมายสัญลักษณ์ Authorized Franchise จะเป็นแฟรนไชส์ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้องพร้อมบริการตามปกติ มีอาหาร และวัตถุดิบครบทุกเมนู รวมทั้ง อโวคาโด , มะกอก และ อื่นๆ ถูกต้องตามมาตรฐานของ Subway

พร้อมกันนี้ บริษัทได้แนบรายชื่อสาขาที่เป็น ร้าน franchise ที่ได้รับสิทธิโดยถูกต้อง และ ร้านที่ถูกยกเลิกสิทธิ์ แฟรนไชส์ มาพร้อมกันนี้

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคมผ่านมา นางสาวเพชรัตน์ อุทัยสาง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด กล่าวว่า “ซับเวย์” ประเทศไทย ภายใต้ผู้ดำเนินการแฟรนไชส์อย่าง บริษัท อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป จำกัด ได้รับสิทธิ Master Franchise ตั้งเป้าขยายสาขาเพิ่ม 800 แห่งทั่วประเทศ ภายใน 10 ปี จากเดิมที่มีอยู่ 140 สาขาทั่วกรุงเทพฯ โดยในปี 2023 ผ่านมานั้น ไทยเป็นประเทศที่เปิดสาขามากที่สุดของซับเวย์ โดยที่ปรับกลยุทธ์จากขยายสาขาในห้างสรรพสินค้า อาคารสำนักงาน เปลี่ยนเป็นปั๊มน้ำมันแทน ท่ามกลางการแข่งขันในธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน (QSR) ซับเวย์จัดอยู่ใน Top5 แต่เมื่อดู Brand Positioning เป็นเพียงแบรนด์ DIY&Healthy Choice เพียงแบรนด์เดียวที่ไม่มีคู่แข่งโดยตรง ประกอบกับมีแผนขยายธุรกิจที่แข็งแกร่ง จึงมีโอกาสเติบโตสูง

แม้ในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดโควิด-19 ซับเวย์ยังเติบโตได้ดีทั้งด้านยอดขายและการขยายสาขา ในปี 2019-2021 ที่ผ่านมาหลายธุรกิจประสบปัญหาโควิด แต่ซับเวย์มีรายได้เติบโต 2.3% ซึ่งเป็นรายได้จากช่องทางเดลิเวอรี่เพิ่มมาอยู่ที่ 40% โดยที่ซับเวย์เป็นรายได้หลักของ อะเบาท์ แพสชั่น กรุ๊ป คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 80% ปี 2021 มีรายได้มากกว่า 500 ล้านบาท และคาดการณ์ว่าปีนี้จะโตประมาณ 3 เท่า

ทั้งนี้ ซับเวย์เข้ามาเปิดธุรกิจในประเทศไทยครั้งแรกตั้งแต่ปี 2003 ในลรูปแบบการเป็นแฟรนไชส์ซี

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles