นายศรพล ตุลยะเสถียร รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันประชากรไทยในวัยเกษียณมีสถานะอ่อนแอและเปราะบางกับเรื่องการเงิน สาเหตุจากการขาดความรู้ และทักษะด้านการบริหารจัดการทางการเงิน ที่สำคัญ สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Aged Society) จึงต้องเตรียมการรับมือความเปลี่ยนแปลงในหลายด้านรวมถึงด้านการเงินของคนวัยเกษียณ
ด้านอธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) แรมรุ้ง วรวัธ กล่าวคาดการณ์ว่า ภายในปี 2576 หรือในเกือบ 10 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีกปีละ 3.5 % ส่งผลให้สัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นถึง 28% ของประชากรทั้งประเทศ นั่นหมายถึง ไทยจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุในระดับสุดยอด (Super-Aged Society) อย่างเต็มตัว
ขณะนี้ ประเทศไทยมี 1 จังหวัดที่เข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอดแล้วได้แก่ จ.ลำปาง เนื่องจากสัดส่วนของผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยมีถึง 28 % ของประชากรทั้งจังหวัดลำปาง ขณะที่จ.ลำพูน และจ.แพร่ กำลังเข้าใกล้สภาวะเดียวกัน เนื่องจากมีสัดส่วนผู้สูงอายุที่ 27% ของประชากรทั้งหมดใน 2 จังหวัดดังกล่าว
ประเทศไทยเริ่มต้นเข้าสู่ปัญหาโครงสร้างประชากร โดยเฉพาะการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุครั้งแรกเมื่อ 19 ปีผ่านมา หรือนับตั้งแต่ปี 2548 ในขณะโดยนั้นสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปอยู่ที่ 10% ของประชากรทั้งประเทศ เมื่อเวลาผ่านไป ข้อมูลเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2566 จำนวนผู้สูงอายุคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 13 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วน 20% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าใน 10 ปี ทำให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุในระดับสมบูรณ์แล้ว
อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) คาดว่าภายในปี 2576 หรืออีก 9 ปีจากนี้ไป จำนวนผู้สูงอายุของไทยจะเพิ่มขึ้นปีละ 3.5 % ส่งผลต่อสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นเป็น 28% เข้าสู่สภาวะสังคมผู้สูงอายุในระดับสุดยอด (Super-Aged Society) อย่างเต็มตัวนั่นเอง
รองผู้จัดการ หัวหน้าสายงานวางแผนกลยุทธ์องค์กร และหัวหน้าสายงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเปิดโครงการ Happy Money, Happy Young Old ปูนนี้ (ก็) มีใช้ มาตั้งแต่ปี 2566 โดยร่วมกับองค์กรพันธมิตรส่งเสริมความรู้และความเข้าใจการวางแผนและการจัดสรรเงินออมเพื่อเกษียณได้อย่างเหมาะสม ในปี 2566 มีผู้เข้าร่วมเรียนรู้ผ่าน SET e-Learning พื้นฐานวางแผนการเงินวัยเกษียณจำนวน 6,684 คน มีความรู้เพิ่มขึ้น 31.05% นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมทางการเงินที่ดีขึ้น พร้อมตั้งเป้าจะมีกลุ่มผู้สูงอายุหรือกลุ่มคนวัยใกล้เกษียณเข้าร่วมโครงการ ไม่ต่ำกว่า 10,000 คน และเข้าถึงสื่อความรู้ออนไลน์ครอบคลุมทั่วประเทศเป็นจำนวน 500,000 คน