ลูกหนี้คนไทยส่วนใหญ่รู้หลักการเงินดี แต่ไม่ลงมือทำ ทีดีอาร์ไอชี้แก้หนี้ได้ผลต้องเน้นเจาะจง สร้างนิสัยติดตัว

ลูก หนี้ คนไทยส่วนใหญ่รู้หลัก การเงิน ดี แต่ไม่ลงมือทำ ทีดีอาร์ไอชี้แก้หนี้ได้ผลต้องเน้นเจาะจง สร้างนิสัยติดตัว

นายวราวิชญ์ โปตระนันทน์ นักวิจัยด้านนโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบัน TDRI เปิดเผยบทความเกี่ยวกับมาตรการการจัดการหนี้ที่ยั่งยืนย่อมต้องมาควบคู่กับการปรับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของผู้คนให้รู้จักบริโภคและก่อหนี้อย่างพอตัวและมีความรับผิดชอบ การที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ทำการสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้มีหนี้ที่เป็นแรงงานในระบบ มีรายได้สม่ำเสมอ จำนวน 307 รายในช่วงเดือนตุลาคม 2567 ถึงมกราคม 2568 และพบว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่รู้แต่ไม่ทำ ให้สุขภาพทางการเงินของตนเองดีขึ้น

ผลสำรวจดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าแม้บุคคลจะมีทัศนคติ และความรู้ทางการเงินในระดับสูง โดยคิดเป็นคะแนน 85% และ 70% ตามลำดับก็ตาม แต่กลับไม่ลงมือทำ กล่าวคือมีระดับการลงมือจัดการเรื่องการเงินของตนเองมีคะแนนรั้งท้าย โดยคิดเป็น 65% แม้กระทั่งเรื่องพื้นฐานอย่างการไม่ยอมจดบัญชีครัวเรือนและบันทึกรายรับ–รายจ่ายอย่างสม่ำเสมอรวมถึงขาดการวางแผนการใช้จ่าย บัตรเครดิต และการออมอย่างถี่ถ้วน

ดังนั้นการที่จะส่งเสริมให้บุคคลมีพฤติกรรมทางการเงินที่ดี วางแผน จัดการเงินและหนี้สินของตนเองได้ จึงต้องอาศัยมาตรการที่เจาะจงในแต่ละประเด็นเพื่อสร้างนิสัย (habit formation) พฤติกรรม และสุขภาพทางการเงินที่ดีในระยะยาว

ทั้งนี้การศึกษาในต่างประเทศสะท้อนว่าบุคคลที่มีความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมทางการเงินที่เหมาะสมจะมีการกู้ยืมเงินและการบริหารจัดการหนี้ที่พึงประสงค์ เช่น การเป็นหนี้บัตรเครดิตลดลง ความรู้สึกไม่สบายใจที่จะก่อหนี้ และบริโภคหรือก่อหนี้ลดลง ดังนั้น นอกเหนือจากการบริหารจัดการหนี้ที่สุ่มเสี่ยงหรือกลายเป็นหนี้เสียหรือค้างชำระไปแล้ว การกลับมาแก้ปัญหาที่ต้นเหตุที่พฤติกรรมทางการเงินส่วนบุคคล และการจัดการหนี้ที่ยังมีสถานะดีจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและนำไปสู่การแก้หนี้ที่ยั่งยืน

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles