วิจัยกรุงศรีชี้ระยะยาวแถมแย่สุด สินค้าจีนจ่อทะลักไทยกว่า 13% สูงมากมายเทียบกับการนำเข้ารวมกว่า 1% เผยสินค้าจีนทะลักไทยมานาน 8 ปี พุ่งขึ้นกว่า 6% จากสงครามการค้ารอบแรกตั้งแต่สมัยแรกปธน.ทรัมป์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจากโตพลิกติดลบเซ่นพิษสินค้าจีน

วิจัยกรุงศรีชี้ระยะยาวแถมแย่สุด สินค้า จีน จ่อทะลักไทยกว่า 13% สูงมากมายเทียบกับการนำเข้ารวมกว่า 1% เผยสินค้าจีนทะลักไทยมานาน 8 ปี พุ่งขึ้นกว่า 6% จากสงครามการค้ารอบแรกตั้งแต่สมัยแรกปธน.ทรัมป์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มจากโตพลิกติดลบเซ่นพิษสินค้าจีน

รีเสิร์ช อินเทลลิเจนซ์ (Research Intelligence) ซึ่งเป็นสำนักวิจัยเศรษฐกิจของธนาคารกรุงศรี เปิดเผยว่าประเทศไทยเผชิญกับปัญหาการไหลทะลักของสินค้าจีนนับตั้งแต่สงครามการค้ารอบ ที่ 1 (พ.ศ. 2561-2563) หรือยุคประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์สมัยที่ 1 หลังจีนส่งออกไปยังสหรัฐฯ ได้ลดลง และต้องขยายการส่งออกไปยังประเทศอื่นแทน โดยเฉพาะไทยและอาเซียน ขณะเดียวกัน ภาวะอุปทานส่วนเกินในภาคการผลิตของจีนที่ย่ำแย่ลงหลังโควิด ยังกดดันให้จีนต้องเร่งการส่งออกสินค้าไปยังตลาดโลก ซึ่งยิ่งซ้ำเติมปัญหาสินค้าจีน ล้นตลาดไทยในระยะที่ผ่านมา ในระยะข้างหน้า ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนรอบใหม่ อาจยิ่งทำให้ไทยเผชิญแรงกดดันที่เพิ่มมากขึ้นจากการไหลทะลักของสินค้าจีนอย่างต่อเนื่อง

จากการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองพบว่า ในกรณีที่แย่ที่สุด ซึ่งทั้งฝ่ายต่างขึ้นภาษีนำเข้าระหว่างกันเกิน 100% สินค้าจากจีนอาจไหลเข้าสู่ไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 13.6% ในระยะยาว ซึ่งนับว่าสูงมากเมื่อเทียบกับการนำเข้ารวมของไทยที่ขยายตัวเพียง 1.1% นอกจากนี้ ภาคการผลิตที่อ่อนแอเป็นทุนเดิม ยังมีแนวโน้มหดตัวต่อเนื่องในระยะยาว เช่น ยางและพลาสติก สิ่งทอ เครื่องหนัง และรองเท้า รวมถึงเครื่องจักรและ อุปกรณ์ หรือแม้แต่บางอุตสาหกรรมที่เคยเติบโตได้ อาจพลิกกลับมาหดตัว เช่น อาหารและเครื่องดื่ม

จากงานวิเคราะห์ พบว่า สัดส่วนการนำเข้าสินค้าจีนมาไทยในช่วงปี 2560-2567 รวมระยะเวลา 8 ปี พบว่าในปี 2560 ไทยมีสัดส่วนการนำเข้าสินค้าจีนที่ 20% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอื่นๆในอาเซียน(ไม่รวมเวียดนาม)ที่ 18% จากนั้นสัดส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องถึงปี 2564 โดยเฉพาะในปี 2563 พุ่งสูงมาอยู่ที่ 24.2% สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอื่นๆในอาเซียน(ไม่รวมเวียดนาม)ที่ 20.2% และมาถึงสิ้นปี 2567 ไทยนำเข้าสินค้าจีนในสัดส่วนพุ่งสูงเป็น 26.2% สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศอื่นๆในอาเซียน(ไม่รวมเวียดนาม)ที่ 22.9% นั่นหมายถึงสินค้าจีนหลั่งไหลเข้าประเทศไทยสุทธิพุ่งขึ้น 6.2% ใน 8 ปีผ่านมา

ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องวางมาตรการรับมืออย่างครอบคลุม โดยไม่ควรจำกัดเพียงการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯแต่ควรขยายไปสู่การหารือกับคู่ค้าอื่น รวมถึงจีน ควบคู่ไปกับการให้เงินช่วยเหลือแบบเฉพาะเจาะจงกับธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ การยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี การส่งเสริมสินค้าพรีเมียมภายใต้ “แบรนด์ไทย” รวมถึงการเร่งหาตลาดใหม่ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดการพึ่งพาจีน ยังเป็นการเปิดทางให้ไทยมีอิสระมากขึ้นในการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดภายใต้กรอบ WTO ในกรณีที่จำเป็น

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles