สภาผู้ส่งออก คาดส่งออกครึ่งแรกของปี 67 แย่สุด ยังโตได้ 1-2%  รับอานิสงส์ส่งออกผลไม้สด 

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือ สภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่าภาวะการส่งออกไทยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 67 (..-มิ..67) จะสามารถขยายตัวได้ในกรอบ 1-2% โดยได้รับอานิสงส์จากการส่งออกผลไม้สดในช่วงเดือน พ..ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตออกล่าช้าจากไตรมาส 1 มาเป็นช่วงไตรมาส 2 ของปีนี้ ส่งผลให้การส่งออกในช่วง 5 เดือนแรก (..-..67) ขยายตัวที่ระดับ 2.6% โดยมองว่าต่อให้การส่งออกเลวร้ายสุด 23,300-23,400 ดอลลาร์ฯ ครึ่งปีแรกมั่นใจน่าจะโตได้ไม่ต่ำกว่า 1-2% เป้าหมายครึ่งปีแรกถือว่าสอบผ่าน ส่วนครึ่งปีหลังก็ยังมีโมเมนตัมที่จะเติบโตได้แบบค่อยเป็นค่อยไป

ส่วนเป้าหมายคาดการณ์การส่งออกปี 67 ที่ขยายตัว 1-2% จะมีมูลค่า 287,407-290,253 ล้านดอลลาร์ฯ ดังนั้นในช่วงครึ่งปีหลัง (..-..67) จะต้องมีมูลค่าส่งออก 142,500-145,200 ล้านดอลลาร์ฯ หรือเฉลี่ยเดือนละ 23,800-24,200 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งเชื่อว่าผู้ส่งออกสามารถยังสามารถขับเคลื่อนไปได้ อย่างไรก็ตามปัจจัยบวกเรื่องเดียวคือเงินบาทอ่อนค่า ซึ่งต้องพยายามควบคุมปัจจัยเสี่ยงและบริหารจัดการให้ดี

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่

1.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ยืดเยื้อ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯจีน การตั้งกำแพงภาษีระหว่างกันและชาติพันธมิตร อาจส่งผลกระทบต่อระบบการค้าโลกรวมถึงการค้าระหว่างประเทศของไทย จับตาการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

2.ต้นทุนภาคการผลิต ทรงตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง อาทิ

2.1 ต้นทุนพลังงาน อาทิ น้ำมันและไฟฟ้า

2.2 ค่าแรงขั้นต่ำที่อยู่ระหว่างพิจารณาปรับขึ้น

3.ต้นทุนค่าระวางเรือ ค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม (Surcharge) และค่าใช้จ่ายภายในประเทศ (Local Charge) ปรับตัวสูงขึ้นทุกเส้นทาง ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์จากการเร่งผลิตและส่งออกของจีนส่งผลให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นกว่า 300% ใกล้ระดับช่วงเกิดวิกฤตโควิด-19

4.การเข้าถึงสินเชื่อของภาคการผลิตมีปัญหาต่อเนื่อง ทำให้ขาดสภาพคล่อง

5.ภาคการผลิตรายสินค้ามีแนวโน้มฟื้นตัวค่อนข้างจำกัด

นอกจากนี้  สภาผู้ส่งออก ยังได้เสนอให้รัฐบาลกำกับดูแลต้นทุนการผลิตเพื่อให้การส่งออกของไทยยังคงขีดความสามารถในการแข่งขันได้ อาทิ ต้นทุนพลังงาน ค่าไฟฟ้า ค่าแรงขั้นต่ำ และค่าขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเฉพาะค่าระวางเรือ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และผู้ส่งออกต้องวางแผนการขนส่งด้วยการจองระวางเรือล่วงหน้า รวมถึงการเจรจากับคู่ค้าเพื่อปรับอัตราค่าขนส่งให้สอดคล้องกับค่าระวางในตลาดที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกเส้นทาง รวมถึงต้องบริหารจัดการสต็อกสินค้าให้เหมาะสม อีกทั้งสนับสนุนและส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการส่งออก อาทิ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการลงทุนเพิ่มขึ้นในช่วงก่อนหน้า

รวมทั้งสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับภาคธุรกิจ ให้เพียงพอต่อการหมุนเวียนกระแสเงินสดและการผลิตเพื่อการส่งออก อาทิ การจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงให้คำปรึกษาทางการเงินแก่ผู้ประกอบการ SMEs ในการวางแผนบริหารจัดการ ตลอดจนเร่งส่งเสริมกิจกรรม Trade Promotion ในต่างประเทศมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างภาพลักษณ์และสร้างโอกาสให้สินค้าไทยในสายตาคู่ค้าและผู้บริโภคในต่างประเทศ โดยเฉพาะในช่วงที่การเมืองระหว่างประเทศมีความผันผวน อีกทั้งเร่งปรับโครงการสร้างการส่งออกของไทย เพื่อรองรับการแข่งขันในระยะยาว โดยมุ่งเน้นให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็น Trading Nation

ที่ผ่านมาภาวะการส่งออกของไทยเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่เรามีโอกาสที่จะเติบโตได้มากกว่านี้ โดยต้องปรับโครงสร้างเชิงระบบ ผลักดันให้ประเทศไทยก้าวเป็น Trading Nation เพื่อให้การส่งออกไม่ติดกับดักเดิม ๆ ต้องโตแบบก้าวกระโดด

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles