นายแสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย เปิดเผยว่า สถานการณ์โดยภาพรวมของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) ขณะนี้ยังน่าเป็นกังวลเพราะยังคงไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้ ดังนั้นช่วงครึ่งปีแรกของปี 2567 ยังเชื่อว่า SMEs ในภาพรวมยังไม่ฟื้นตัว ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจไทยโดยเฉพาะหนี้ครัวเรือนที่สูงทำให้กำลังซื้อต่ำ สถานการณ์โลก เช่นความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ เช่นความตึงเครียดในทะเลแดง การต่อสู้ระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาส รวมถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน นอกจากนี้ยังมีเรื่องสงครามการค้าที่ยังเป็นปัจจัยลบ รวมทั้งต้องจับตาดูการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาที่มีผลต่อนโยบายต่างๆ กับทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เปิดเผยถึงแนวทางการอนุญาตให้จัดตั้งธนาคารพาณิชย์ไร้สาขา (Virtual Bank) หรือธนาคารเสมืองจริงแห่งยุคดิจิทัล คาดว่าจะเข้ามาตอบโจทย์ให้ผู้กอบการ SMEs ได้เป็นอย่างดี จากปัจจุบันส่วนใหญ่มีปัญหาขาดสภาพคล่อง ขาดเงินทุนหมุนเวียน ไปขอสินเชื่อจากธนาคารก็ยากเพราะกู้ไม่ผ่าน ซึ่งส่งผลโดยรวมต่อเม็ดเงินหรือการสร้างเม็ดเงินใหม่ในระบบเศรษฐกิจ
ทั้งนี้คาดว่า Virtal bank น่าจะมีผลดีต่อกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มฟรีแลนซ์ รวมทั้งกลุ่มรากหญ้าในอนาคต เพราะกลุ่มนี้ค่อนข้างที่จะเข้าถึงแหล่งการเงินได้ยาก เช่นธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารรัฐได้ ซึ่งอาจจะช่วยแก้ไขปัญหาการขาดสภาพคล่องรวมทั้งแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบได้ในอนาคต
ปัจจุบัน Virtal bank ที่ในเบื้องต้นทางธปท.ได้ให้ใบอนุญาตแก่ 3 ธนาคารซึ่งจะต้องมีเงินทุนจดทะเบียนเบื้องต้น 5,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ก็จะส่งผลดีต่อตัวธนาคารผู้ให้บริการเอง เพราะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการต่างๆ ของธนาคาร ลดขั้นตอนการพิจารณา และไม่ต้องใช้คน เนื่องจากสามารถทำธุรกรรมบนมือถือ Smart phone ได้เลย
“อย่างน้อยที่เราเห็นชัดๆ คือต้นทุนการทำงานของธนาคารก็ลดลงไป เมื่อต้นทุนการดำเนินงานลดลง ค่าธรรมเนียมต่างๆ ก็ไม่น่าจะเรียกเก็บจากลูกค้า ดอกเบี้ยธนาคารก็น่าจะสามารถปรับให้มีความยืดหยุ่นได้ เพราะเชื่อว่าหลังจากนี้ธนาคารจะมีการแข่งขันกันสูง และน่าจะมีผู้เล่นรายใหม่ๆ เข้ามาทำธุรกิจ Virtal bank นี้มากขึ้นๆ” เขากล่าว
“SMEs เราต้องเผชิญหลายอย่างรวมถึงนโยบายสีเขียนหรือ Green politics ซึ่งเป็นต้นทุนที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นทิศทางของโลกมุ่งไปสู่เรื่องนี้ แต่พราะขาดแหล่งเงินทุนแม้ว่าทุกวันนี้จะมีสถาบันการเงิน แต่เงื่อนไขที่ค่อนข้างเข้มงวดทำให้เข้าถึงเงินทุนยาก แค่จะเอามาพัฒนาปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรต่างๆ ยังลำบา บวกกับหนี้ครัวเรือนที่สูงมาก กำลังซื้อต่ำ ก็ไม่สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้โตอย่างรวดเร็วได้ หวังว่าในเร็วๆ นี้จะเห็นรัฐบาลมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตัวใหม่ออกมา SMEs ช่วยคนทั่วไป รัฐบาลต้องเร่งมาตรการใหม่ๆ ออกมา ไม่เช่นนั้นอาจจะเห็นผู้ประกอบการทยอยปิดกิจการกันมากขึ้น”