สวีเดนประเทศแรกในยุโรป เจอะนักท่องเที่ยวติดโรคฝีดาษลิงหลังกลับจากแอฟริกา

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ภาคพื้นยุโรป เปิดเผยว่า พบผู้ติดโรคเคลด(Clade) หรือชื่อเดิมคือโรคฝีดาษลิง(Mpox) จำนวน 1 รายในประเทศสวีเดน ซึ่งตรวจสอบประวัติการเดินทางพบว่ากลับมาจากทวีปแอฟริกาที่ในขณะนี้กำลังเกิดการแพร่ระบาดของโรคโรคเคลด(Clade) หรือชื่อเดิมคือโรคฝีดาษลิง(Mpox)ในไม่ต่ำกว่า 5 ประเทศ โดยประเทศสาธารณรัฐแห่งคองโกเป็นศูนย์กลางการระบาดในปัจจุบัน ผู้ติดเชื้อคนดังกล่าวมีผลตรวจเป็นบวก และติดเชื้อสายพันธุ์เคลดวันบี (Clade Ib) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในแอฟริกา ขณะนี้ได้นำตัวผู้ป่วยคนดังกล่าวเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของสวีเดน

นายลอว์เรนซ์ กอสติน ผู้เชี่ยวชาญสาธารณสุข และศาศตราจารย์แห่งสถาบันจอร์จทาวน์ ลอว์ วอชิงตัน เปิดเผยว่า การตรวจพบผู้ป่วยโรคเคลด หรือฝีดาษลิงรายแรกในประเทศสวีเดน อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายของโรคนี้ในระดับนานาชาติอย่างรวดเร็ว ด้านนายแพทย์ไบรอัน เฟอร์กูสัน มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ (Cambridge) กล่าวว่า การพบผู้ป่วยโรคดังกล่าวซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวสวีเดนนั้น กลายเป็นเรื่องน่ากังวล แต่อาจจะไม่ประหลาดใจเนื่องจากขณะนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเคลดกำลังรุนแรงในทวีปแอฟริกา นั่นหมายถึงจะตรวจเจอผู้ป่วยจำนวนมากมายขึ้นในสวีเดน และในหลายพื้นที่ของโลก เนื่องจากยังไม่มีมาตรการในการยั้บยั้ง หรือสกัดกั้นการติดเชื้อดังกล่าวของโรคฝีดาษลิง หรือโรคเคลด

นายเดวิด ไดเกิล โฆษกศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา หรือซีดีซี (CDC) เปิดเผยว่า การตรวจพบผู้ป่วยโรคเคลดคนแรกในประเทศสวีเดน เป็นการยืนยันได้ว่า เป็นกรณีแรกของการพบเชื้อสายพันธุ์เคลดวันที่อยู่นอกทวีปแอฟริกา สำหรับสายพันธุ์เคลดวัน (Clade I) นั้น ซีดีซี เปิดเผยว่า มีแนวโน้มที่จะทำให้ผู้ติดเชื้อระดับรุนแรงมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก ที่สำคัญ มีอัตราการเสียชีวิตจากเชื้อดังกล่าวสูงเมื่อเปรียบเทียบกับสายพันธุ์เคลดทู (Clade II) ขณะที่ซีดีซี สหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่า ได้ติดตามสถานการณ์ของโรคเคลดอย่างใกล้ชิด จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีรายงานตรวจพบผู้ป่วยในสหรัฐและแคนาดาแต่อย่างใด

สำหรับการตรวจพบผู้ป่วยรายดังกล่าวในประเทศสวีเดนเกิดขึ้นเพียงวันเดียวหลังจากเมื่อวานนี้ 15 สิงหาคม 2024 นายเทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวว่า การประชุมของคณะกรรมาธิการฉุกเฉินมีมติให้ประกาศว่า โรคเคลด(Clade) หรือชื่อเดิมคือโรคฝีดาษลิง(Mpox) เข้าสู่ภาวะสาธารณสุขฉุกเฉินทั่วโลก หรือพีเอชอีไอซี (Public Health Emergency for International Concern) สาเหตุจากภาวะการระบาดของโรคเคลดแพร่เป็นวงกว้างในประเทศสาธารณรัฐแห่งคองโก และยังส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและระบาดไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันและใช้รักษาโรคเคลด

ข้อมูลสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคเคลดในประเทศคองโก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการระบาดในปัจจุบันนี้ พบว่า การระบาดเริ่มนับตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นมา พบผู้ป่วยมากกว่า 27,000 ราย และมีผู้ป่วยโรคดังกล่าวเสียชีวิตมากถึง 1,100 คน หรือคิดเป็น 4% ของผู้ป่วยทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเป็นเด็ก

ในขณะนี้องค์การอนามัยโลกยืนยันว่าโรคระบาดเครเป็นการติดต่อโดยการสัมผัสใกล้ชิด ตามปกติแล้วจะมีภาวะอาการปานกลางแต่การติดเชื้อรุนแรงอาจทำให้เสียชีวิต ลักษณะอาการเบื้องต้นของผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเป็นไข้และเกิดตุ่มมีหนองตามผิวหนังร่างกายรวมถึงบริเวณอวัยวะเพศสืบพันธุ์ ในปัจจุบันรูปเคลด ในทวีปแอฟริกาเป็นสายพันธุ์เคลดวัน (Clade I) แต่ในขณะเดียวกันตรวจพบมีการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์เคลดวันบี (Clade Ib) ส่งผลให้มีการติดเชื้อแพร่ระบาดง่ายยิ่งขึ้นผ่านการสัมผัสใกล้ชิดรวมถึงการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกัน

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO กล่าวว่า แหล่งที่พบการติดเชื้อและแพร่ระบาดในทวีปแอฟริกาเกิดขึ้นในภาคตะวันออกของประเทศสาธารณรัฐแห่งคองโก จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดข้ามไปยังประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง ได้แก่ บูรันดี เคนยา ราวันดา และอูกานคา ที่สำคัญคือทั้ง 4 ประเทศดังกล่าวนั้น ไม่มีข้อมูลหรือประวัติของการตรวจพบโรคเคลดก่อนหน้านี้เลย

ทั้งนี้ ในปี 2022 องค์การอนามัยโลก หรือ WHO เคยประกาศโรคเคลด(Clade) หรือชื่อเดิมคือโรคฝีดาษลิง(Mpox) เข้าสู่ภาวะสาธารณสุขฉุกเฉิน หรือพีเอชอีไอซี (Public Health Emergency for International Concern) ซึ่งในปีดังกล่าวเป็นการระบาดด้วยสายพันธุ์เคลดทู (Clade II) ซึ่งนำไปสู่การตรวจพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมากกว่า 95,000 คนกระจายใน 115 ประเทศที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดของเชื้อดังกล่าว

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles