ส.อ.ท. จี้พลังงานตรึงค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย ไม่จำเป็นต้องขึ้นตาม กกพ. กำหนด

ส.อ.ท. จี้พลังงานตรึง ค่าไฟ 4.18 บาทต่อหน่วย ไม่จำเป็นต้องขึ้นตาม กกพ. กำหนด

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณีสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานคำนวณค่าไฟงวดปลายปี (กันยายน – ธันวาคม 2567) พุ่งระดับ 4.65-6.01 บาทต่อหน่วยว่า ขอยืนยันว่าราคาค่าไฟงวดปลายที่เหมาะสมคือ 4.18 บาทต่อหน่วยเท่ากับงวดปัจจุบัน (พฤษภาคม – สิงหาคม 2567) รัฐบาลควรตรึงต่อไป เพราะเป็นทางรอดของประชาชน เป็นระดับราคาที่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในเวลานี้ที่ยังชะลอตัว กำลังหดหายจากหนี้ครัวเรือนระดับสูง และยังเหมาะสมกับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวลานี้ด้วย อีกทั้งมั่นใจว่าระดับราคา 4.18 บาทต่อสามารถบริหารจัดการได้ ไม่จำเป็นต้องขึ้นราคาตามภาระที่สำนักงาน กกพ. ระบุ โดยระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย เมื่อคำนวณต้นทุนอย่างละเอียดแล้วพบว่ายังสามารถชำระหนี้คืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้บางส่วน จากหนี้รวม 98,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลเองสามารถช่วยสภาพคล่อง กฟผ. ได้ โดยให้ กฟผ. ชะลอหรือลดเงินนำส่งรัฐ

ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรชะลอการชำระคืนค่าก๊าซที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซที่เรียกเก็บเดือนกันยายน – ธันวาคม 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อตรึงค่าไฟไว้ที่ 3.99 บาทต่อหน่วย หรือ AFGAS วงเงิน 15,083.79 ล้านบาท ออกไปก่อน โดยที่มาค่าของ AF Gas มาจากการที่รัฐบาลชุดนี้เมื่อเข้ามาบริหารได้สั่งลดค่าไฟฟ้างวดปลายปี 2566 (กันยายน – ธันวาคม) เหลือ 3.99 บาทต่อหน่วย จาก 4.69 บาทต่อหน่วย ในงวดกลางปี (พฤษภาคม – สิงหาคม 2566) มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) รองรับ โดยไม่ได้ปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าแต่อย่างใด เพียงแต่สั่งให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ กฟผ. คุมค่าก๊าซไว้ และให้นำส่วนต่างค่าก๊าซธรรมชาติ (AF-Gas) ไปทยอยเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟคืนให้ ปตท. และ กฟผ. ส่วนนี้จึงคิดเป็นเงิน 15,084 ล้านบาท หรือ 25.02 สตางค์ต่อหน่วย ที่จะนำมาเรียกเก็บจากประชาชนคืนในงวดปลายปีนี้

อย่างไรก็ตามในระยะยาว รัฐบาลควรปรับโครงสร้างพลังงานประเทศโดยด่วน เรื่องนี้ ส.อ.ท. เรียกร้องมานาน และปัจจุบันภาคเอกชนกลุ่มต่างๆก็เรียกร้องเช่นกัน โดยขอเสนอ 3 มาตรการผ่าตัดเพื่อทางรอดของประเทศ ก้าวข้ามกับดักแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย2024 หรือพีดีพี PDP2024 ประกอบด้วย
1. ประเทศไทยต้องพึ่งพลังงานสะอาดที่ต้นทุนไม่ผันผวน มากกว่า ที่จะไปเสี่ยงกับพลังงานฟอสซิล ที่ ควบคุมราคาไม่ได้
2. ควรบริหารดีมานด์และซัพพลายอย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือ ต้องไม่ลงทุนเกินตัว ในโรงไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานใหม่ๆ เพิ่มเติม ที่จะเป็นภาระของประเทศ มีเคพีไอที่เหมาะสม รวมทั้งต้องทบทวนสัญญาโรงไฟฟ้า เช่น ค่าความพร้อมจ่าย (เอพี) และอื่นๆ อีกทั้งต้องเดินหน้า Liberalization หรือเปิดเสรี รัฐบาลต้องผลักดันนโยบายเปิดเสรี ทั้งระบบผลิต จัดหา และจำหน่าย ทั้งไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ หรือ NG มากกว่า การแทรกแซง ชี้นำ บิดเบือน รวมทั้งการกำกับ แบบมืออาชีพ อย่างโปร่งใส และเร่ง TPA ( Third Party Access ) หรือเปิดบุคคลที่สามเข้ามาในระบบ ทั้งระบบสายส่งไฟฟ้า และระบบ NG และการนำเข้า LNG หรือก๊าซธรรมชาติเหลว

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles