ส.อ.ท. มองการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เป็นการผลักภาระนายจ้าง ควรเลี่ยงนโยบายประชานิยม แนะเพิ่มทักษะแรงงาน ปรับโครงสร้างการผลิต

นายอิศเรศ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงกรณี นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ระบุเตรียมขึ้นค่าแรง 400 บาท บางอาชีพวันแรงงาน 1 พฤษภาคม 2568 ว่า ปี 2568 ประเทศไทยควรที่จะมีการเร่งปรับโครงสร้างการผลิต ซึ่งจะมีส่วนช่วยให้สร้างจุดแข็งให้กับประเทศและนำไปสู่การขับเคลื่อนจีดีพี ให้สูงขึ้น นอกเหนือ จากการขับเคลื่อน BCG Economy หรือ เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว โดยมองว่าภาครัฐควรหลีกเลี่ยงนโยบายประชานิยมโดยเฉพาะนโยบายที่ผลักภาระให้นายจ้าง และควรที่จะมาเน้นการส่งเสริมการแข่งขันพัฒนาทักษะความสามารถในการแข่งขันของบุคลากรมากขึ้นไปพร้อมกับ นโยบายที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ

ที่ผ่านมา ส.อ.ท. ได้มีการขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรม ชิ้นส่วน เครื่องยนต์สันดาปภายใน สู่การเป็นอุตสาหกรรมใหม่ และ สร้างเป็นสุดยอดผลิตภัณฑ์จากในประเทศ รวมถึงการยกระดับชิ้นส่วนยานยนต์ไทยเพื่อมุ่งการเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Parts Transformation) ซึ่งการสร้างจุดแข็งในด้านภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ จะมีส่วนช่วยให้เติมเต็มในส่วนของการพัฒนา จีดีพี ในส่วนที่หดหายไปได้

และนอกเหนือจากการพัฒนาด้านภาคอุตสาหกรรมแล้วนั้น การเพิ่มทักษะและพัฒนาทักษะใหม่ให้แก่แรงงานที่เกี่ยวข้อง ก็มีส่วนสำคัญ และเป็นวิธีแก้ปัญหาค่าแรงในแนวทาง วิน-วิน ให้กับนายจ้าง ซึ่งทั้งสองฝ่ายต้องปรับตัวและเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้วย และในเศรษฐกิจเช่นนี้

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles