หุ้นไทยปิดลบ 2.85 จุด หลุด 1,300 จุด นักลงทุนชะลอซื้อ กังวลไทยถูกหั่นจีดีพี เพราะสุญญากาศการเมือง

ดัชนี SET Index หุ้นไทย SET ปิดวันนี้ที่ 1,289.84 จุด ลดลง 2.85 จุด หรือ -0.22% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 41,309.39 ล้านบาท ดัชนีแกว่งผันผวนในแดนลบ ช่วงเช้าลงแรงบ่ายรีบาวด์ลดช่วงลบ โดยทำจุดต่ำสุด 1,279.34 จุด และทำจุดสูงสุด 1,293.10 จุด โดยตลาดหุ้นไทย วันนี้ปรับตัวลงแรงสุดในภูมิภาค จากภาวะสุญญากาศทางการเมือง กังวลจีดีพีถูกหั่น ประกอบกับภาพกำไร บจ.แย่ลง จากคาดดารณ์ว่าจะได้รัฐบาลใหม่อาจต้องใช้เวลา 1 เดือน ขณะเดียวกันยังหวังกองทุนวายุภักษ์รอเข้ามาช่วยหนุน

สำหรับหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 3 หลักทรัพย์
1. CPALL มูลค่าการซื้อขาย 3,493.68 ล้านบาท ปิดที่ 56.00 บาท เพิ่มขึ้น 0.75 บาท
2. BDMS มูลค่าการซื้อขาย 2,306.99 ล้านบาท ปิดที่ 26.50 บาท ลดลง 0.50 บาท
3. KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,191.54 ล้านบาท ปิดที่ 130.50 บาท ลดลง 0.50 บาท

บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยวันนี้ช่วงเช้าปรับตัวลงแรงแย่สุดในกลุ่มตลาดหุ้นเอเชีย จากปัจจัยในประเทศที่อยู่ในช่วงสุญญากาศทางการเมือง กังวล GDP ของไทยถูก Downgrade และ Earning บริษัทจดทะเบียนแย่ลง

ทั้งนี้ สัญญาณการลือกนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่คาดว่าจะใช้เวลาราว 1 เดือน ฉะนั้นช่วงนี้นักลงทุนจึงเลือกที่จะชะลอการลงทุนเพื่อ wait and see จนกว่าจะมีความชัดเจน อย่างไรก็ตาม วันนี้ยังมีแรงซื้อหุ้นรายตัว อาทิ COM7, STGT, STA สลับแรงขายหุ้นที่งบไตรมาส 2/67 ออกมาแย่กว่าคาด และแนวโน้มกำไรอาจแย่ต่อเนื่อง เช่น HANA, MASTER

โดยตลาดคาดว่าพรรคร่วมรัฐบาลก็ยังคงเป็นขั้วเดิม โดยพรรคร่วมและพรรคเพื่อไทยหนุนนางสาวแพทองธาร ชินวัตรชึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี พรุ่งนี้ก็จะมีการโหวต แต่ยังต้องติดตามว่านโยบายจะมีการปรับเปลี่ยนหรือไม่ โดยเฉพาะโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจน ฉะนั้นภาพจากนี้จนกว่าจะมีนายกรัฐมนตรีและรัฐบาล ตลาดก็คงจะซึมลงสลับรีบาวด์ได้บ้าง และอาจมีแรงเก็งกำไรหุ้นปันผล หรือดักซื้อหุ้นที่อยู่ในเป้าหมายของกองทุนวายุภักษ์

สำหรับแนวโน้มพรุ่งนี้ให้แนวรับที่ 1,273 จุด เป็นจุดต่ำสุดเดิม ส่วนแนวต้าน 1,300 จุด ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่าควรจะกลับขึ้นไปให้ได้จึงจะเห็นสัญญาณบวก แต่หากไม่ผ่านแนวต้านระดับนี้ ก็อาจจะทำให้ดัชนีไหลลงได้อีก ประกอบกับสัปดาห์หน้าจะมีประกาศตัวเลข GDP ไตรมาส 2/67 ของไทย (19 ส.ค.) และการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) (21 ส.ค.)

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles