นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานในพิธีลงนามการร่วมทุนจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด (ARI-AMC) ระหว่างธนาคารออมสิน และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (BAM) หรือแบม พร้อมด้วย นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง และนายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกะทรวงการคลังเป็นสักขีพยาน
นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า สำหรับการลงนามจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด เป็นไปตามนโยบายช่วยเหลือประชาชนลดภาระหนี้ ของรัฐบาล ในส่วนของบริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จะเข้าไปช่วยกลุ่มลูกหนี้ที่ค้างชำระมานาน และไม่มีการเคลื่อนไหว ซึ่งถ้ายังอยู่ในสถานบันการเงินต่อไป ก็จะติดชะงักอยู่อย่างนี้ และไม่เป็นผลดีต่อสถาบันการเงินด้วย เพราะฉะนั้นก็ให้โอนออกมา เพื่อให้มีการบริหารจัดการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ทั้งนี้เมื่อโอนออกมาแล้ว เชื่อว่าลูกหนี้จะได้รับเงื่อนไขที่ผ่อนคลาย และหาข้อยุติ รวมทั้งปิดจบหรือได้ ซึ่งต้องยอมรับว่าลูกหนี้ที่เขามาก็มีสองประเภท คือกลุ่มที่จัดการได้จบแล้วจบเลย กับกบลุ่มที่จบไม่ได้ ก็จะต้องมีการเขาไปดูว่าจะช่วยให้ปิดจบหนี้อย่างไร ทั้งนี้ จะมีการโอนลูกหนี้กลุ่มแรกจากออมสิน จำนวน 5 บัญชี คิดเป็นมูลหนี้เงินต้น 4.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการรับซื้อลูกหนี้จากธนาคารออมสิยนได้ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2567 นี้ ขณะที่หนี้เสียของสถาบันการเงินของรัฐอื่นๆนั้น คาดว่าจะเริ่มเจรจารับซื้อได้ในช่วงต้นปี 2568
“ประโยชน์จากโครงการในครั้งนี้ อย่างน้อยๆในทางตรง ประชาชนที่อยู่ในกลุ่มลูกหนี้ 5 แสนคนดังกล่าว ก็จะรับการดูแล ช่วยบริหารจัดการหนี้ที่มีความเป็นไปได้ที่ปิดจบหนี้สูงขึ้น อย่างไรก็ดีรัฐบาลไม่ได้ทำมาตรการนี้เพียงมาตรการเดียว แต่ยังมีมาตรการด้านการเงินที่กำลังจะออกมาอีกหลายมาตรการ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ให้ประชาชนกลับมามีเงินใช้ และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเดินหน้าต่อไปได้ เป็นผลดีต่อประชาชนทั้งประเทศ”นายพิชัย กล่าว
สำหรับ ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวนั้น เป็นกลุ่มที่มีปัญหามานาน คาดว่าจะต้องใช้เวลา 2-3 ปี ถึงจะเห็นผล แต่ลูกหนี้กลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มที่มีมูลหนี้ไม่สูง มาจากกลุ่มรายย่อย กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และหนี้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสด ที่มีหนี้ไม่เกิน 20 ล้านบาท ก็เชื่อว่าจัดการได้กว่า 70-80% ของลูกหนี้ที่รับซื้อทั้งหมด
นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าวว่า หลังจากผ่านขั้นตอนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด แล้ว เดือนมิถุนายน2567 ก็จะมีการยื่นขอขึ้นใบอนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และคาดว่าในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม 2567 จะสามารถรับซื้อหนี้จากธนาคารได้ โดยจะเริ่มจากการโอนหนี้ธนาคารออมสินก่อน ซึ่งเตรียมไว้ 5 แสนบัญชี มูลหนี้ 4.5 หมื่นล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นสินเชื่อบุคคลรายย่อย บัตรเครดิต และสินเชื่อเอสเอ็มอี ซึ่งระยะแรกช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ คาดว่าจะโอนหนี้เข้ามา 1.4 แสนบัญชี วงเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท เป็นสัดส่วนทั้งลูกหนี้รายย่อย เอสเอ็มอี และบัตรเครดิต โดยจากการโอนหนี้ดังกล่าว ไม่ได้มีผลกับสัดส่วนหนี้เสียของออมสินเท่าไหร่นัก เพราะส่วนใหญ่เป็นลูกหนี้รายเล็ก และการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว ก็มีจุดประสงค์เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามนโยบายของรัฐเท่านั้น
ทังนี้ การจัดตั้งบริษัท บริหารสินทรัพย์อารีย์ จำกัด มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสังคม และช่วยเหลือลูกหนี้ได้เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ หรือไกล่เกลี่ยหนี้ ให้มีโอกาสหลุดพ้นจากเป็นผู้เสียประวัติทางเครดิต ให้กลับมามีสถานะผ่อนปกติ หรือหนี้ปิดบัญชี จะสามารถทำให้เข้าถึงสินเชื่อในระบบอนาคตได้ โดยออมสินมีระยะเวลาดำเนินการไม่เกิน 15 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มดำเนินการ