รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพาณิชย์ ประเทศอินเดีย นายพิยุธ โกยัล กล่าวให้สัมภาษณ์ว่า ประเทศอินเดียจะไม่เข้าร่วมเขตการค้าเสรีที่มีชื่อว่าข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ที่มีประเทศจีนเข้าร่วมในข้อตกลงหุ้นส่วนการค้าเสรีดังกล่าว โดยมีเหตุผลว่า เขตการค้าเสรีดังกล่าวนั้น ถึงแม้ว่าจะมีขนาดใหญ่อันดับ 1 ของโลกในแง่ประเมินจากมูลค่าจีดีพีก็ตาม แต่พัฒนาการของอาร์เซ็ปในปัจจุบัน พบว่า ไม่ได้สะท้อนให้เห็นถึงหลักการเริ่มต้นตั้งแต่แรกกับแนวคิดของเขตการค้าเสรีนี้จากกลุ่มอาเซียนอีกต่อไปเท่านั้น และเขตการค้าเสรีดังกล่าวไม่ได้อยู่ในความสนใจของประเทศอินเดียที่จะเข้าร่วมทำการค้าเขตเสรีกับประเทศจีน
เมื่อมองจากข้างนอกเข้าไปในเขตการค้าเสรีที่มีชื่อว่าข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค จะเห็นได้ชัดเจนว่าเป็นไปอย่างได้ยากมากที่จะสามารถทำข้อตกลงการค้าให้ประสบความสำเร็จกับประเทศคู่ค้าที่มีหลักปฏิบัติไม่โปร่งใส มีความคลุมเครือ มีความไม่ชัดเจนในทางการค้า ซึ่งหมายถึงประเทศจีน นอกจากนี้รัฐบาลอินเดียได้ลงนามเข้าร่วมเขตการค้าเสรีกระทั่ง 10 ประเทศสมาชิกกลุ่มอาเซียน ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ รวมถึงข้อตกลงการค้าระหว่างอินเดียกับนิวซีแลนด์ ซึ่งมีมูลค่ารวม 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 10,200 ล้านบาท
ประชาชนชาวอินเดียโดยเฉพาะที่อยู่ในภาคการเกษตร หรือชาวนาล้วนมีมุมมองว่าไม่มีความสนใจการค้ากับจีนแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้นข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาร์เซ็ป ไม่ได้ให้แรงทะเยอทะยานหรือแรงบันดาลใจให้กับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมขนาดกลางไปจนถึงขนาดเล็กของประเทศอินเดีย และในบางประเภทของธุรกิจและอุตสาหกรรมยังพบว่า ไม่มีประโยชน์อะไรเกิดขึ้นนอกเหนือไปจากข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างจีนกับอินเดีย
ทั้งนี้ ข้อตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรืออาร์เซ็ป หรือ Regional Comprehensive Economic Partnership (RCEP) ได้รับการลงนามโดย 15 ประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปี 2020 เมื่อปี 2020 ที่ผ่านมา ส่งผลให้มูลค่าของขนาดเศรษฐกิจเสร็จของอาร์เซ็ปคิดเป็น 30% ของมูลค่าขนาดเศรษฐกิจโลก ในปัจจุบันมีประเทศสมาชิกที่เข้าร่วมข้อตกลงดังกล่าว ได้แก่ กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์