อุตสาหกรรมไมโครชิปทั่วโลกโตอีกถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ใน 8-10 ปี จำเป็นต้องมีศูนย์กลางเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มอีกในโลก

อุตสาหกรรมไมโครชิป ทั่วโลกโตอีกถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ใน 8-10 ปี จำเป็นต้องมีศูนย์กลางเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มอีกในโลก

นายเอจิต มาโนชา ประธาน และประธานเจ้าหน้าที่บริหารเซมิ (SEMI) หรือสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์สากล และผู้บริหารระดับอาวุโส เอ็นเอ็กซ์พี(NXP) ซึ่งผู้คร่ำหวอดในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มานานถึง 40 ปี อดีตซีอีโอโกลบอล ฟาวด์ดรีย์ อดีตผู้บริหารระดับสูงของฟิลิปส์ สแพนชั่น กล่าวในงานแสดงอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ระดับโลกจัดขึ้นมีชื่อว่า เซมิคอน ไต้หวัน ว่า อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยังคงเติบโตต่อเนื่องมีมูลค่าแตะ 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 34 ล้านล้านบาทภายในอีก 8 ปีข้างหน้าหรือในปี 2032 ถึงแม้ว่าในช่วงหลังจากวิกฤตการณ์โรคระบาด โควิด-19 ผ่อนคลายลง อุตสาหกรรมดังกล่าวจะเผชิญกับภาวะขาดแคลน และชะลอตัวลงจากปัญหาการผลิตและความขัดแย้งทางการค้าและการลงทุนระหว่างโลกตะวันตกกับจีน

ในขณะนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า เขตเศรษฐกิจ หรือประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจยักษ์ใหญ่ระดับโลก ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ยุโรป หรือญี่ปุ่น ล้วนลงทุนในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ภายในประเทศ หรือเขตเศรษฐกิจของตัวเองอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศขนาดใหญ่กำลังมีแนวคิดในการตั้งศูนย์กลางอำนาจไมโครชิป หรือเซมิคอนดักเตอร์ โลกจึงยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีการลงทุนสร้างศูนย์กลางเซมิคอนดักเตอร์ นั่นจะเป็นสิ่งที่ดีต่อ เครือข่ายหรือห่วงโซ่การผลิตที่จะมีความยืดหยุ่นสูง และจำเป็นต้องพึ่งพาโครงข่ายการผลิตเซมิคอนดักเตอร์

ปัจจัยหรือสถานการณ์ด้านบวกที่มีผลต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ได้แก่ วิกฤตการณ์โรคระบาดทั่วโลก ภาวะโลกร้อนและความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ดังจะเห็นได้จากในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา พบว่าเศรษฐกิจเชิงอุตสาหกรรมทั่วโลกสะดุดหยุดลง และมีต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ในปัจจุบัน การออกแบบ และผลิครถยนต์จะต้องอาศัยระยะเวลานานขึ้นเฉลี่ยเป็น 2 ปี หรือแม้แต่การซ่อมแซมตู้เย็นที่มีระบบเซ็นเซอร์ ซึ่งใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเซมิคอนดักเตอร์ยังต้องกินเวลานานกว่า 3 เดือนขึ้นไป

อุตสาหกรรมผลิตเซมิคอนด็อกเตอร์ทุกวันนี้ ไม่สามารถที่จะมีประเทศใดประเทศหนึ่งผลิตได้ แต่จะต้องพึ่งพาเครือข่ายในการผลิตซึ่งกันและกัน อย่างน้อย 5-6 ประเทศ ดังนั้น ถึงแม้ว่าภายใน 8 ปีข้างหน้า มูลค่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 34 ล้านล้านบาทแต่ในที่สุด มูลค่าดังกล่าวจะขยายตัวเพิ่มขึ้นแตะ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 68 ล้านบาทภายในอีก 8-10 ปีข้างหน้า ต่อให้ในช่วงระยะเวลาในอนาคตจะเกิดภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือมีวิกฤติเศรษฐกิจเกิดขึ้นก็ตาม

ทั้งนี้ นับเป็นเวลาถึง 70 ปี ที่ทำให้มูลค่าอุตสาหกรรมเซมิคอนด็อคเตอร์ขึ้นมาเป็น 600,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 20.4 ล้านล้านบาท แต่ในระยะเวลาอีก 7-8 ปีข้างหน้า มูลค่าดังกล่าวจะทะยานขึ้นไปแตะหลัก 1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 34 ล้านล้านบาท เนื่องจากการเกิดขึ้นของตลาดเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการเชื่อมต่อทุกสิ่งทุกอย่างด้วยอินเตอร์เน็ต หรือไอโอที (IoT) สำหรับคลื่นอุตสาหกรรมเทคโนโลยีในยุคถัดไป คือเทคโนโลยีควอนตัม นั่นหมายถึงมูลค่าอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์จะทะยานขึ้นแตะหลัก 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐหรือกว่า 68 ล้านล้านบาท

ติดตาม BTimes ได้ตามช่องทางข้างล่างนี้
Latest Posts

Related Articles